บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจของผู้บริหารโรงเรียนกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ปีการศึกษา 2556 จำนวน 329 คน จำแนกเป็นผู้บริหารโรงเรียน 64 คน และครูผู้สอน 265 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยศึกษาแนวคิดจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การวิเคราะห์ค่า t (t-test ชนิด Independent Samples) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (F-test ชนิด One Way ANOVA) และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation)
ผลการวิจัย พบว่า
1. การใช้อำนาจของผู้บริหารโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. ครูผู้สอนมีความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก
3. การเปรียบเทียบการใช้อำนาจของผู้บริหารโรงเรียน ที่มีสถานภาพต่างกัน โดยรวมแตกต่างกัน
4. การเปรียบเทียบความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน ที่มีสถานภาพต่างกัน โดยรวมแตกต่างกัน
5. การเปรียบเทียบการใช้อำนาจของผู้บริหารโรงเรียนที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานต่างกัน โดยรวมไม่แตกต่างกัน
6. การเปรียบเทียบความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน ที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานต่างกัน โดยรวมไม่แตกต่างกัน
7. การเปรียบเทียบการใช้อำนาจของผู้บริหารโรงเรียน ที่มีขนาดโรงเรียนต่างกัน โดยรวมแตกต่างกัน
8. การเปรียบเทียบความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน ที่มีขนาดโรงเรียนต่างกัน โดยรวมแตกต่างกัน
9. ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจของผู้บริหารโรงเรียนกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กันในเชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
10. ในการวิจัยครั้งนี้ได้เสนอแนวทางที่เหมาะสมในการใช้อำนาจของผู้บริหารโรงเรียนและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริหารงานในโรงเรียนของผู้บริหารต่อไป
Abstract
ABSTRACT
The purpose of this research was to investigate The Relationship Between the Use of Power by School Administrators and Job Satisfaction of Teachers under the Office of Bueng Kan Primary Educational Service Area. The samples of this research were 329 administrations and teachers in Schools under the Office of Bueng Kan Primary Educational Service Area in academic year 2013. The sampling group was classified as follows : 64 administrations and 265 teachers. The instrument used in collecting data was a set of questionnaires made by the researcher. Statistics used were percentage, mean, standard deviation, t- test (Independent Samples), F-test One Way ANOVA and Pearson’s Product Moment Correlation.
The findings were as follows :
1. The levels of the Use of Power by School Administrators, as a Whole, was at the high level.
2. The Job Satisfaction of Teachers in the schools, as a Whole, was at the high level.
3. To compare the Use of Power by School Administrators classified by their working status, as a Whole, obtained significant difference.
4. To compare the Job Satisfaction of Teachers classified by their working status, as a Whole, obtained significant difference.
5. To compare the Use of Power by School Administrators classified by their working experiences, as a Whole, obtained no significant difference.
6. To compare the Job Satisfaction of Teachers classified by their working experiences, as a Whole, obtained no significant difference.
7. To compare the Use of Power by School Administrators classified by size of their schools, as a Whole, obtained significant difference.
8. To compare the Job Satisfaction of Teachers classified by size of their schools, as a Whole, obtained significant difference.
9. There was a positive relationship toward the results of the comparison between the Use of Power by School Administrators and Job Satisfaction of Teachers, at .01 level of significance.
10. In addition, the researcher proposed developmental guidelines on the aspect of the Use of Power by School Administrators and Job Satisfaction of Teachers, to develop the Use of Power by School Administrators and Job Satisfaction of Teachers in the schools.
คำสำคัญ
ความสัมพันธ์, การใช้อำนาจ, ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนKeyword
Relationship, Use of Power, Job Satisfaction of Teachersกำลังออนไลน์: 307
วันนี้: 1,508
เมื่อวานนี้: 1,743
จำนวนครั้งการเข้าชม: 15,094
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093