...
...
เผยแพร่: 15 ต.ค. 2557
หน้า: 144-155
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 455
Download: 183
Download PDF
การพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดนิรมิต) สังกัดเทศบาลเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร
Development of Community Participation in the Management of Learning Of Tessaban 2 School (wat Niramit) Under Mueang Mukdahan Municipality Mukdahan Province
ผู้แต่ง
ปรียาดา ทิพยวัฒน์, วัฒนา สุวรรณไตรย์, พิเชนทร์ จันปุ่ม

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดนิรมิต)  สังกัดเทศบาลเมืองมุกดาหาร  จังหวัดมุกดาหาร 2) หาแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อการจัดการเรียนรู้ และ 3) ติดตามผลการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อการจัดการเรียนรู้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ซึ่งกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย กลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน  26  คน ได้แก่ ผู้วิจัย ครูผู้สอนในโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดนิรมิต) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลจำนวน  7  คน  ได้แก่ ผู้อำนวยโรงเรียน วิทยากร ประธานคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน และกลุ่มนักเรียน ดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การปฏิบัติ การสังเกตและการสะท้อนกลับ โดยดำเนินการ 2 วงรอบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกตพฤติกรรม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลวิจัย พบว่า

1. ผลการศึกษาสภาพและปัญหาการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดนิรมิต) สังกัดเทศบาลเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร มีดังนี้

1.1 สภาพการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียน พบว่า ได้รับความร่วมมือจากชุมชนในการมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับน้อย คณะกรรมการสถานศึกษา คณะกรรมการชุมชน และผู้ปกครองนักเรียน ยังไม่เข้าใจบทบาทของตนเอง การมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนตามความคิดเห็นของชุมชนเป็นหน้าที่ของทางโรงเรียนที่ต้องดำเนินการเอง

1.2 ปัญหาการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียน พบว่า โรงเรียนตั้งอยู่ในชุมชนเมือง คนส่วนใหญ่ในชุมชนมุ่งประกอบอาชีพหารายได้ เพื่อใช้ในชีวิตประจำวันมากกว่าที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ โรงเรียนขาดการประชาสัมพันธ์ความต้องการของโรงเรียน

2. แนวทางในการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดนิรมิต) ประกอบด้วย การประชุมเชิงปฏิบัติการ การศึกษาดูงาน และการนิเทศภายใน

2.1 การประชุมเชิงปฏิบัติการ พบว่า ผู้ร่วมวิจัยทุกคนมีความรู้ ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ร่วมกับวิทยากรภายนอก นอกจากนั้นผู้เข้าร่วมประชุมมีความพึงพอใจในการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการโดยรวมอยู่ในระดับมาก ยกเว้น ความถูกต้อง เหมาะสมของเอกสารประกอบการอบรม นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการยังได้ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่า ควรให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ด้วยการเป็นวิทยากรร่วมกับครูผู้สอนเพื่อให้นักเรียนได้เรียนจากผู้ที่มีประสบการณ์ตรง  ในวิชาชีพนั้นๆ

2.2 การศึกษาดูงาน พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียน คณะครู มีความกระตือรือร้นในการสอบถาม สังเกต สัมภาษณ์และการบันทึกข้อมูลจากการไปศึกษาดูงานในครั้งนี้ เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนเทศบาล 2   (วัดนิรมิต) เพื่อให้ชุมชนได้เข้าใจบทบาท หน้าที่ของตนเอง เข้าใจแนวทางการปฏิบัติงานร่วมกับโรงเรียน เพื่อการพัฒนา และให้ความร่วมมือช่วยเหลือซึ่งกันและกันในโอกาสต่อไป

2.3 การนิเทศติดตามผล พบว่า การดำเนินการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนของโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดนิรมิต) ผลการดำเนินการ พบว่า ครูที่ดำเนินการจัดการเรียนรู้ร่วมกับวิทยากรภายนอกมีความรู้ ทักษะพื้นฐานเบื้องตนในรายวิชาการทำไม้กวาดดอกหญ้า และการสานตะกร้าจากเถาวัลย์ ตลอดจนมีความสัมพันธ์อันดีเกิดขึ้นระหว่างคณะครูกับวิทยากร มีการช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน มีการประสานความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ทั้งในโรงเรียนและชุมชน

Abstract

ABSTRACT

This study aimed at 1) investigating the states and problems of community participation in learning management at Thetsaban 2 School under Mukdahan Town Municipality, 2) finding out guidelines in community participation for learning management, and 3) monitoring effects of development on community participation in learning management using action research. The target groups consisted of 26 participants of the research group comprising the researcher as well as the teachers at the school. Informants included the school director, resource persons, chair of the school board and a group of the students- a total of 7 informants. The 2-spiral action research used included planning, action, observation and reflection. Tools used comprised percentage, mean and standard deviation.

The findings were as follows:

1. The effects of the identification of the states and problems on the community participation in learning management of Thetsaban 2 School ( Wat Niramit) under Mukdahan Town Municipality revealed that:

1.1 The states of  the community participation in learning management indicated that  the community participation was provided at the low level. The members  of the school board, members of the community council and parents/guardians did understand their roles. The communities understood that it was the duty of the school.

1.2 The problems on the community participation in learning management at  the school found that the school is situated in the downtown communities. The majority of the residents focused on earning their living for their daily life spending rather than participating in learning management at the school. In addition, the school lacked public relations in informing the school needs to public.

2. The guidelines in developing the community participation on learning  management  at Thetsaban 2 School comprised a workshop, a study tour and  internal supervision.

2.1 The workshop revealed that all of the co-researchers gained knowledge and abilities in learning management in association with the external resource persons. More than that, the participants were satisfied with the workshop application at the high level except correctness and appropriateness of the documents supplemented for the workshop. Moreover, some additional recommendations indicating that the communities should participate in learning management in forms of becoming resource persons in conjunction with the teachers to let the students learn from direct experiences in a certain field were given by the attendants.

2.2 The study tour showed that the members of the school board gained enthusiasm in inquiry, observation, interview and recording of data collected from the study tour in order to find out guidelines on developing the community participation in learning management at Thetsaban 2 School (Wat Niramit)  to make the communities understand their roles and duties as well as guidelines of collaborative working with the school in case of the development and mutual assistance in the future.

2.3 The coaching supervision revealed that the effects of the collaborative development of the community participation showing that the teachers who managed learning in association with the external resource persons gained knowledge as well as basic skills in the subjects on the making of weed-flower brooms, the making of baskets from vines as well as the good relationship between the teachers and the resource persons to achieve mutual assistance along with participative cooperation in operating various types of activities both in the school and communities as well

คำสำคัญ

พัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชน, การจัดการเรียนรู้

Keyword

Community Participation, Leaning Management

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093