บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โรงเรียนบ้านงิ้วสร้างแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 มีความมุ่งหมายของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหา ในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 2) ศึกษาแนวทางการดำเนินงานการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และ 3) ติดตามและประเมินผลการพัฒนาครูการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของโรงเรียนบ้านงิ้วสร้างแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 การดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนการวางแผน ขั้นตอนการปฏิบัติ ขั้นตอนการสังเกต และขั้นตอนการสะท้อนผล ผู้มีส่วนร่วมในการวิจัยในครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) กลุ่มเป้าหมาย ในการวิจัย เป็นครูผู้สอนโรงเรียนบ้านงิ้วสร้างแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 จำนวน 9 คน และ 2) กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหาร จำนวน 1 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 6 คน ตัวแทนนักเรียน จำนวน 18 คน และวิทยากร จำนวน 2 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ครั้งนี้ ได้แก่ แบบทดสอบ แบบสังเกตแบบสัมภาษณ์ แบบประเมิน และแบบบันทึกการประชุม วิเคราะห์ข้อมูลโดยแจกแจงข้อค้นพบที่สำคัญ ตรวจสอบข้อมูลโดยใช้การตรวจสอบแบบสามเส้า นำเสนอผลการวิจัยในรูปแบบพรรณนาวิเคราะห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพและปัญหาด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โรงเรียนบ้านงิ้วสร้างแก้ว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 พบว่า ครูส่วนใหญ่ขาดความรู้ความเข้าใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การเขียนแผนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ไม่หลากหลาย ขาดการอบรมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การนิเทศภายใน การใช้สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษา และการให้ขวัญกำลังใจครู การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูส่วนใหญ่ครูไม่นำแผนไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการใช้สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษาน้อย ครูยังยึดติดกับการสอนแบบเดิมๆ คือสอนโดยการอธิบายตามหนังสือแบบเรียน เขียนบนกระดาน แล้วให้นักเรียนทำแบบฝึกหัด นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้น้อย สร้างแก้ว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 ได้แก่
2.1 การอบรมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เมื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังการอบรมเชิงปฏิบัติการ พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.2 การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและการนำไปใช้ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก
2.3 การนิเทศภายในเพื่อติดตามและประเมินผลการพัฒนา เพื่อให้คำแนะนำ คำปรึกษา ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้านสื่อการเรียนรู้ และด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ พบว่า การประเมินการนิเทศทั้ง 4 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
3. การติดตามและประเมินผลในการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โรงเรียนบ้านงิ้วสร้างแก้ว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 พบว่า
3.1 ก่อนการพัฒนาครูด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของผู้ร่วมวิจัย 9 คน มีความรู้ความเข้าใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และการวัดและประเมินผล โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 68.53
3.2 หลังการพัฒนาครูด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของผู้ร่วมวิจัย 9 คน มีความรู้ความเข้าใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และการวัดและประเมินผล โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 83.7
4. แนวทางในการพัฒนาร่วมกันในวงรอบที่ 2 ใช้การนิเทศแบบการประชุมนิเทศในการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของโรงเรียนขึ้น โดยกำหนดแผนการปฏิทินการนิเทศ ติดดามการดำเนินงานการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โรงเรียนบ้านงิ้วสร้างแก้ว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 ที่มีค่าการประเมินการสอนโดยรวมอยู่ในระดับปานกลางและพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนในระดับชั้นที่มีค่าการประเมินการเรียนโดยรวมอยู่ในระดับปานกลางหรือในระดับมากแต่ยังไม่น่าพอใจ พบว่า
4.1 ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของผลการประเมินพฤติกรรมการสอนของครูผู้สอนคนที่ 3 และครูผู้สอนคนที่ 5 โรงเรียนบ้านงิ้วสร้างแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 ในวงรอบที่ 1 และวงรอบที่ 2 ภาพรวมทุกข้อของค่าร้อยละความก้าวหน้าในวงรอบที่ 2 สูงกว่า วงรอบที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 15.80 และ ร้อยละ 16.80 ตามลำดับ
4.2 ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของผลการประเมินพฤติกรรมการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านงิ้วสร้างแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 ในวงรอบที่ 1 และวงรอบที่ 2 ภาพรวมทุกข้อของค่าร้อยละความก้าวหน้าในวงรอบที่ 2 สูงกว่า วงรอบที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 15.80 ร้อยละ 16.00 และร้อยละ 15.40 ตามลำดับ
Abstract
ABSTRACT
The purposes of this action research were to : 1) examine current conditions and problems of teachers’ experiences and professional development on organization of learner- centered learning activities, 2) explore potential guidelines of teacher professional development on organization of learner-centered learning activities, and 3) monitor and evaluate teacher professional development in organizing learner-centered learning activities at Ban Ngio Sang Kaeo School under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area 2 in the first semester of the academic year 2012. The research employed a Participatory Action Research consisting of four stages : planning, action, observation, and reflection. The participants in the research were : 1) a target group of the 9 teachers at Ban Ngio Sang Kaeo School under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area 2, and 2) key informants including 1 school administrator, 7 members of the school board, 6 representatives of parents, 18 students and 2 educational supervisors. The research instruments used for collecting data consisted of a test, observation forms, interview forms, a supervision form, and minutes of the meetings. Data triangulation and descriptive statistical analysis were employed. The statistics used in analyzing data were percentage, mean, and standard deviation.
The findings of the research were as follows:
1) The current conditions and problems of teachers’ experiences regarding professional development on learner-centered approach revealed that the teachers lacked knowledge and understanding of process and organization of learner-centered learning activities. Rather, the teachers adopted a memorizing the content of lecture approach. The main focus of the memorization was to increase the number of enrolments in higher-level study. The teachers spent less time preparing lesson plans and preferred to follow the textbooks instead. The students undertook limited participation in learning activities, and mostly followed the teachers’ instructions. The teachers expected to develop individual professionalism at the highest level, especially in the aspects of learning measurement and evaluation, and written plans of organization of learning activities based on a learner-centered approach. Workshop training was required to develop professional practice.
2) The proposed guidelines in developing teacher profession on organization of learner-centered learning activities through the workshop training included: designing learning activities, writing learning activities plans, teaching techniques in organizing learning activities, follow-up and evaluation based on the authentic assessment, and internal supervision.
3) The monitoring and evaluation for teacher professional development on organization of learning activities using internal supervision included : the assessment of organization of learning activity plans, observation of teachers’ behaviors, observation of students’ learning behaviors, and assessment of internal supervision, reflection of internal supervision, and workshop training. The findings also showed that the teachers were able to write complete activity plans on organization of learning activities, and manage learning activities in the classroom at the highest level.
คำสำคัญ
สภาพและปัญหาด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญKeyword
The current conditions and problems of teachers’ experiences regarding professional development on learner-centered approachกำลังออนไลน์: 171
วันนี้: 1,275
เมื่อวานนี้: 1,743
จำนวนครั้งการเข้าชม: 14,861
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093