...
...
เผยแพร่: 15 ต.ค. 2557
หน้า: 124-131
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 397
Download: 178
Download PDF
การพัฒนาศักยภาพครู กศน.ตำบล ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม
A Development of the Teachers’ Potential in Applying the Project Method Learning at Tha Uthen Non-Formal Education and Informal Education Center, Nakhon Phanom Province
ผู้แต่ง
อารยา บุพจันโท, เพลินพิศ ธรรมรัตน์, พูนสิน ประคำมินทร์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานของครู กศน.ตำบล ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธาศัย อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม 2) หาแนวทางการพัฒนาศักยภาพครู กศน.ตำบล ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน 3) ติดตามผลการพัฒนาศักยภาพ ครู กศน.ตำบล ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการดำเนินการ 2 วงรอบ แต่ละวงรอบประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การปฏิบติการ การสังเกตการณ์ และการสะท้อนกลับ กลุ่มเป้าหมายของ การวิจัยในครั้งนี้ คือ กลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 11 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 70 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบทดสอบ แบบประเมิน แบบสังเกต แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบนิเทศภายใน แบบบันทึกการประชุม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละความก้าวหน้า

ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพและปัญหาของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานของครู กศน. ตำบล ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธาศัยอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม

1.1 สภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน พบว่า ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้วิธีสอนที่เน้นการบอกการท่องจำมากเกินไปไม่ได้ดูว่าเหมาะสมกับผู้เรียนอย่างแท้จริงไม่ฝึกให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และประยุกต์เอาความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน ขาดเทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานที่หลากหลาย

1.2 ปัญหาของการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบโครงงาน พบว่า ครูผู้สอนขาดความรู้ความเข้าใจในการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบโครงงาน ไม่สามารถให้คำปรึกษากับผู้เรียนได้

2. แนวทางการพัฒนาศักยภาพครู กศน. ตำบล ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานของครู กศน. ตำบล ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ซึ่งทั้งสองวงรอบใช้กิจกรรมเดียวกัน คือ 

2.1  การอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานมี 3 ด้าน ดังนี้

2.1.1 ความรู้ความเข้าใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน

2.1.2 การเขียนแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน

2.1.3 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน

2.2 การนิเทศภายใน

3. ผลการพัฒนาศักยภาพครู กศน. ตำบล ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอท่าอุเทน  จังหวัดนครพนม พบว่า

3.1 ด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานก่อนการพัฒนา พบว่าผู้วิจัย มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานอยู่ในระดับปานกลาง แต่หลังจากได้รับการพัฒนาแล้วกลุ่มผู้วิจัย  มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานในระดับมากที่สุด         

3.2 ด้านการเขียนแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน พบว่าผลการประเมินด้านการเขียนแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานภาพรวมอยู่ในระดับมาก และหลังได้รับการพัฒนาในวงรอบที่ 2 พบว่าผู้วิจัยมีความสามารถในการเขียนแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานอยู่ในระดับมากที่สุด

3.3 ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน พบว่า หลังจากได้รับการพัฒนากลุ่มผู้ร่วมวิจัยสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานได้อย่างมั่นใจ ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กระตือรือร้น

Abstract

ABSTRACT

The purposes of this research were 1) to investigate the current states and problems of the teachers in applying the project method learning  at Tha Uthen Non-Formal Education and Informal Education Center, Naknon Phanom, 2) to find out guidelines for developing the teachers’ competence in the project method learning, and  3) to follow up and evaluate the development the teachers’ competency  in applying the project method learning. The research employed two spirals of a four – stage participatory action research ( PAR) comprising planning, action, observation and reflection. The target group consisted of the researcher, 11  coresearchers and 70 respondents. The instruments used were a test, a form of assessment, a form of observation, a questionnaire, a form of interview, a form of internal supervision, and a form of meeting minutes. The statistics applied for analyzing quantitative data were mean, percentage, standard deviation and Percentage of Progress.

The findings of the research were as follows:

1. The states and problems of learning management on the project method learning at Tha U then Non-Formal Education and Informal Education Center, could be summarized that:

1.1 The current states revealed that most of the teachers’ teaching strategies were based only on the conventional method focusing on the lecture and rote method more than an emphasis on the actual approach. The learners were not taught through analysis, synthesis and application to be applied in their daily life. In addition, diverse techniques of the project method learning were neglected.

1.2 The problems of the implementation of the project method learning indicated that the teachers faced a lack of knowledge and understanding in managing the process of the project method learning.

2. The guidelines of developing the teachers’ competence at Tha Uthen Non-Formal and Informal Education Center in applying the project method learning used the same activities in both spirals as follows:

2.1 A workshop on the application of the project activity learning comprised the following 3 aspects:

2.1.1 Knowledge and understanding in operating the project method learning

2.1.2 Writing of the lesson plans on the project method learning

2.1.3 Application of the project method learning

2.2 Internal supervision

3. The effects of the teachers’ competency development at Tha Uthen Non-Formal Education and Informal Education Center indicated that:

3.1 Regarding knowledge and understanding on the application of the project method learning, it was found that the researcher gained knowledge, understanding concerning the operation of the project method learning at the moderate level. After the development, it was determined that the group of researchers gained knowledge and understanding at the highest level.

3.2 In case of the writing of the lesson plans, it was found that the assessment effects of the writing of the lesson plans in applying the project method  learning  was at the high level. After the development in the second spiral, the researcher gained abilities on writing the lesson plans on the project method learning at the highest level.

3.3 In terms of the application of the project method learning, it was determined that after the development, the co-researchers could operate the activities on the project method learning with confidence. In addition, the learners participated in conducting the learning activities with enthusiasm.

คำสำคัญ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการ, ศักยภาพครู กศน. ตำบล ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ

Keyword

Action Research, Potential teachers’ for learning activities and projects.

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093