บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการปฏิบัติงานของครูธุรการโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของ ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้างานบริหารทั่วไป ครูผู้สอน และครูธุรการโรงเรียนจำแนกตามเพศ ตำแหน่ง ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ขนาดของโรงเรียนที่ปฏิบัติงาน และอำเภอที่ตั้งโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้างานบริหารทั่วไป ครูผู้สอน และครูธุรการโรงเรียน รวม 332 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi – Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพและปัญหาการปฏิบัติงานของครูธุรการโรงเรียน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.74 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage), ค่าเฉลี่ย (Mean), ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation), การทดสอบค่าที (t-test Independent Samples), และการวิเคราะห์ความแปรปรวน (F-test แบบ One-Way ANOVA)
ผลการวิจัย พบว่า
1) สภาพการปฏิบัติงานของครูธุรการโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ตามความคิดเห็นของ ผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้างานบริหารทั่วไป ครูผู้สอน และครูธุรการโรงเรียน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ส่วนปัญหาการปฏิบัติงาน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับน้อย
2) ตามความคิดเห็นของ ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้างานบริหารทั่วไป ครูผู้สอน และครูธุรการโรงเรียน ที่มีเพศต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสภาพและปัญหาการปฏิบัติงานของครูธุรการโรงเรียน โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน
3) ตามความคิดเห็นของ ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้างานบริหารทั่วไป ครูผู้สอน และครูธุรการโรงเรียน ที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสภาพและปัญหาการปฏิบัติงานของครูธุรการโรงเรียน โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน
4) ตามความคิดเห็นของ ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้างานบริหารทั่วไป ครูผู้สอน และครูธุรการโรงเรียน ที่มีขนาดของโรงเรียนที่ปฏิบัติงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสภาพและปัญหาการปฏิบัติงานของครูธุรการโรงเรียน โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน
5) ตามความคิดเห็นของ ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้างานบริหารทั่วไป ครูผู้สอน และครูธุรการโรงเรียน ที่มีอำเภอที่ตั้งของโรงเรียนที่ปฏิบัติงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสภาพการปฏิบัติงานของครูธุรการโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการดำเนินงานสารบรรณ และงานธุรการโรงเรียน ด้านการดำเนินงานพัสดุ ด้านการดำเนินงานสารสนเทศของโรงเรียน ด้านการดำเนินงานงานอื่นๆที่ได้รับมอบหมาย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้านการประสานงานและการติดต่อสื่อสาร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
6) แนวทางการพัฒนาการปฏิบัติงานของครูธุรการโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ด้านที่ควรพัฒนามี 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการดำเนินงานสารบรรณและงานธุรการโรงเรียน ด้านการดำเนินงานพัสดุ ด้านการดำเนินงานสารสนเทศของโรงเรียน
Abstract
ABSTRACT
The purposes of this study were to 1) investigate the states and problems of the clerical teachers in schools under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 3, 2) compare the opinions of school administrators, heads of general administrative affairs, teachers and clerical teachers classified by gender, position attained, working experience, size of the school as well as the district of school location. The samples consisted of the school administrators, heads of general administrative affairs, teachers and clerical teachers - a total of 332 participants using multi-stage random sampling. An instrument used was a questionnaire concerning the states and problems on working performances of clerical teachers with reliability of 0.74. Statistics employed were percentage, mean, standard deviation, t-test (Independent Samples) and F-test (One-Way ANOVA).
The results showed that the:
1) The states of working performances of the clerical teachers in the schools under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 3 as perceived by the school administrators, heads of general administrative affairs, teachers and clerical teachers were at the high level in general and in particular. In case of the problems, it was found that they were at the low level as a whole and in each aspect.
2) According to the opinions of the school administrators, heads of general administrative affairs, teachers and clerical teachers with different working experiences, it was found that there were no significant differences toward the states and problems of working performances of the clerical teachers in general and in particular.
3) In the perception of the school administrators, heads of general administrative affairs, teachers and clerical teachers with different working experiences, it was determined that there was a difference on the states of working performances of the clerical teachers at the .01 level of significance.
4) Regarding the opinions of the school administrators, heads of general administrative affairs, teachers and clerical teachers with different school size toward the states and problems of working performances of the clerical teachers in the schools, it was found that there were no significant differences as a whole and in each aspect.
5) In the perception of the school administrators, heads of general administrative affairs, teachers and clerical teachers with different school location, it was determined that there was a difference at the .01 level of significance. When separately considered, it was found that the aspects on filing system, clerical affairs, procurement, information communication as well as other assigned jobs differed significantly at the .01 level. The aspects on coordination and public relations were significantly different at the .05 level.
6) The guidelines of developing working performances of the clerical teachers in the schools under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 3 that should be developed included: filing system and clerical affairs, procurement as well as school information communication.
คำสำคัญ
ครูธุรการโรงเรียนKeyword
Clerical Teachers in Schoolsกำลังออนไลน์: 265
วันนี้: 1,375
เมื่อวานนี้: 1,743
จำนวนครั้งการเข้าชม: 14,961
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093