บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหาและความต้องการของครูในการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โรงเรียนหนองผือเทพนิมิต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 2) หาแนวทางการพัฒนาศักยภาพของครูในการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โรงเรียนหนองผือเทพนิมิต 3) ติดตามผลการพัฒนาศักยภาพของครูในการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โรงเรียนหนองผือเทพนิมิต โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ตามแนวคิดของ Kemmis and McTaggart โดยประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การปฏิบัติ การสังเกตการณ์ และการสะท้อนกลับ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยมี 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ร่วมวิจัย ประกอบด้วย ผู้วิจัย ผู้ร่วมวิจัย จำนวน 11 คน ที่สมัครเข้าร่วมการวิจัย และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลจำนวน 47 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียนหนองผือเทพนิมิต จำนวน 1 คน หัวหน้างานวิชาการโรงเรียนหนองผือเทพนิมิต จำนวน 1 คน วิทยากร จำนวน 1 คน ตัวแทนนักเรียนที่เรียนกับผู้ร่วมวิจัย จำนวน 44 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบทดสอบ แบบสังเกต และแบบประเมินความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละความก้าวหน้า
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพ ปัญหา และความต้องการของครูในการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โรงเรียนหนองผือเทพนิมิต
1.1 สภาพของครูในการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ครูมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้น มีความรู้ด้านการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์น้อย มีความตระหนักที่จะได้รับการพัฒนาด้านการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
1.2 ปัญหาของครูในการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ครูยังขาดทักษะการใช้โปรแกรมที่ใช้ผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ครูส่วนมากยังไม่เคยผ่านการฝึกปฏิบัติด้านการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์และได้รับการนิเทศภายในเกี่ยวกับการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
1.3 ความต้องการของครูในการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ครูต้องการให้มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการในการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อจะพัฒนาตนเองจนสามารถนำผลการประชุมเชิงปฏิบัติการไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
2. แนวทางในการพัฒนาศักยภาพของครูในการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โรงเรียนหนองผือเทพนิมิต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนครเขต 1 ผู้วิจัยได้สรุปแนวทางในการพัฒนา คือ การประชุมเชิงปฏิบัติการ การมอบหมายงาน และการนิเทศติดตาม
3. ผลการพัฒนาศักยภาพครูในการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์โรงเรียนหนองผือเทพนิมิต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนครเขต 1 ด้วยโปรแกรม Flip Album 6 Pro สรุปได้ว่า ครูมีความรู้ความเข้าใจ และสามารถผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ในส่วน หน้าปก องค์ประกอบของหนังสือ เนื้อหาและการดำเนินเรื่อง ภาพ เสียง และการใช้ภาษา และเทคนิคการจัดรูปแบบในบทเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำมาเป็นสื่อการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดีและส่งผลให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริงและยังจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาครูให้มีคุณภาพทำให้มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถที่จะผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ขึ้นมาใช้เองได้
Abstract
ABSTRACT
This research aimed to 1) investigate the conditions and problems about electronic book production of the teachers at Nongphuethepnimit School under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 1, 2) establish the guidelines for teachers’ potentiality development on electronic book production at Nongphuethepnimit School, 3) follow up the teachers’ potentiality development on electronic book production of Nongphuethepnimit School. This study employed the action research based on Kemmis’ and McTaggart’s concepts comprising four steps: planning, action, observation and reflection. The target group of this research consisted of two groups involving the researcher, 11 volunteer teachers as co-researchers, and 47 informants comprising a school director, a teacher in charge of academic affairs, a resource person, and a total of 44 student representatives, obtained through a purposive sampling technique. The instruments used were an interview form, a set of questionnaires, tests, an observation form, and a satisfaction assessment form. Content analysis was employed to analyze qualitative data. Statistics used to analyze quantitative data were percentage, mean, standard deviation, and percentage point progress.
The findings of this study were as follows:
1. The current conditions, problems and needs of teachers at Nongphuethepnimit School in producing electronic books revealed that
1.1 The teachers’ conditions in the production of electronic books indicated that the teachers had knowledge and understanding of using basic computer, and limited knowledge on the production of electronic books. They were also well aware that they required professional training in producing electronic books.
1.2 The problems of teachers in the production of electronic books showed that the teachers lacked skills in using a software program for electronic book production. Most teachers had not been training and received supervising in the production of electronic books.
1.3 The needs of teachers in the production of electronic books revealed that they wanted the school to organize a training workshop to produce an electronic book as for self development and best teaching and learning practice.
2. The guidelines for developing the teachers’ potentiality on electronic book production at Nongphuethepnimit School involved: 1) a training workshop, 2) designated tasks, and 3) peer supervision.
3. The effects of the teachers’ potentiality development on electronic book production through the use of the Flip Album 6.0 Pro at Nongphuethepnimit School were as follows: the participating teachers gained Knowledge, understanding, and were able to produce effective electronic books containing a front cover, book Components, contents, pictures and images, audio media, language employment, lesson formats. The teachers were also able to put the produced electronic books into teaching practice which was likely feasible effective Learning. It would conclude that the quality professional development of teachers was for the benefit of the Students and also for the teachers in producing individual electronic books.
คำสำคัญ
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์Keyword
Electronic Book Productionกำลังออนไลน์: 84
วันนี้: 1,968
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 57,167
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093