...
...
เผยแพร่: 15 ต.ค. 2557
หน้า: 63-75
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 544
Download: 260
Download PDF
การพัฒนาห้องสมุด 3 ดี โรงเรียนบ้านนาชุมใหม่นิรมิต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2
Developing a 3 D’s Library at Ban NachummaiNiramit School under the Office Of Nakhon Phanom Primary Educational Service Area 2
ผู้แต่ง
นภาลัย คำชนะ, วัฒนา สุวรรณไตรย์, สุรัตน์ ดวงชาทม

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาของห้องสมุดโรงเรียนบ้านนาชุมใหม่นิรมิต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2  2) หาแนวทางพัฒนาห้องสมุด 3 ดี โรงเรียนบ้าน นาชุมใหม่นิรมิต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2  3) ติดตามผลการพัฒนาห้องสมุด      3 ดี โรงเรียนบ้านนาชุมใหม่นิรมิต เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย ประกอบด้วย กลุ่มผู้ร่วมวิจัย 3 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 37 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินสภาพและปัญหาของห้องสมุดโรงเรียนบ้านนาชุมใหม่นิรมิต แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการดำเนินการพัฒนาห้องสมุด 3 ดี และแบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับผลการดำเนินการพัฒนาห้องสมุด 3 ดี สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

1.  สภาพและปัญหาของห้องสมุดโรงเรียนบ้านนาชุมใหม่นิรมิต มีดังนี้

1.1 ด้านสภาพ พบว่า 1) หนังสือมีน้อย ไม่ครอบคลุมทุกกลุ่มสาระ ขาดหนังสือใหม่ที่น่าสนใจ               2) ขาดสื่อและของเล่นที่น่าสนใจ ทำให้นักเรียนไม่อยากเข้าห้องสมุด 3) ห้องสมุดขาดการตกแต่งทำให้บรรยากาศไม่เอื้อต่อการเรียนรู้ 4) ห้องสมุดมีสภาพเก่าโทรมไม่น่าเข้าใช้งาน 

1.2 ด้านปัญหาพบว่า 1) ห้องสมุดขาดการเอาใจใส่ดูแล 2) ห้องสมุดขาดงบประมาณในการปรับปรุงซ่อมแซม 3) ครูที่ทำหน้าที่บรรณารักษ์ไม่มีความรู้เรื่องห้องสมุดเท่าที่ควร 4) ครูต้องทำการสอน ไม่มีเวลาดูแลห้องสมุด เนื่องจากครูมีน้อย

2.  แนวทางการพัฒนาห้องสมุด 3 ดี โรงเรียนบ้านนาชุมใหม่นิรมิต ในวงรอบที่ 1 ประกอบด้วย 3 แนวทาง คือ 1) ศึกษาดูงานโรงเรียนต้นแบบที่ประสบความสำเร็จ 2) การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ 3) การดำเนินการพัฒนาห้องสมุด 3 ดี โดยพัฒนาใน3 องค์ประกอบหลัก คือ ดี 1 หนังสือดี และสื่อการเรียนรู้ดี ดี 2 บรรยากาศ และสถานที่ดี ดี 3 บรรณารักษ์ และกิจกรรมดี 4) การนิเทศและติดตามผลการพัฒนาห้องสมุด 3 ดี

3. ผลการพัฒนาห้องสมุด 3 ดี โรงเรียนบ้านนาชุมใหม่นิรมิต มีดังนี้

ดี 1 หนังสือดี และสื่อการเรียนรู้ดี มีหนังสือที่มีสารประโยชน์ สร้างสรรค์ปัญญา มีสาระถูกต้องตามหลักวิชาการ สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรของทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ มีปริมาณเพียงพอเหมาะสมตรงกับความต้องการของผู้เรียน ตลอดจนหนังสือส่งเสริมการอ่านที่ช่วยให้นักเรียนมีนิสัยรักการอ่าน

ดี 2 บรรยากาศ และสถานที่ดี ได้มีการทาสีผนังห้องและชั้นวางหนังสือใหม่ ซ่อมแซมชั้นวางที่ชำรุด ทำให้มีชั้นวาง หนังสือเพิ่ม มีโต๊ะอ่านหนังสือ การจัดตกแต่งห้องสมุดที่เหมาะสมกับวัย โดยการตกแต่งให้มีสีสันที่สะดุดตา ทำให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้น บรรยากาศที่โปร่งสบาย อบอวลด้วยมิตรภาพ สะอาด ร่มรื่น ปลอดภัย  ทำให้นักเรียนอยากเข้าใช้มากขึ้น

ดี 3 บรรณารักษ์ และกิจกรรมดี มีครูทำหน้าที่บรรณารักษ์ 1 คน เป็นผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจในงานห้องสมุด มีอัธยาศัยน้ำใจดี มีจิตบริการ และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ช่วยงานห้องสมุดในรูปแบบบรรณารักษ์น้อย คอยแนะนำและช่วยเหลือผู้เข้าใช้บริการห้องสมุด ตลอดจนจัดเก็บหนังสือและทำความสะอาดห้องสมุดก่อนและหลังเปิดใช้บริการ มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและรักการเรียนรู้ อย่างต่อเนื่อง การจัดหมวดหมู่หนังสือตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มสาระ เพื่อง่ายต่อการค้นคว้าให้บริการอินเตอร์เน็ตเพื่อเข้าถึงแหล่งข้อมูลอย่างกว้างขวาง ให้บริการยืม-คืน หนังสือหลังเลิกเรียนสำหรับนักเรียนที่ต้องการนำหนังสือกลับไปอ่านที่บ้าน ทำให้นักเรียนมีนิสัยรักการอ่าน และรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์มากขึ้น

Abstract

ABSTRACT

The purposes of this research were to 1) investigate the conditions and problems 0f Ban NachummaiNiramit School’s library under the Office of Nakhon Phanom Primary Educational Service Area 2,           2) establish the guidelines for a 3 D’s Library, and 3) Follow-up the development of the 3 D’s Library. The target group consisted of three co-researchers and 37 informants. The research instruments were an assessment form of library conditions and problems, an interview form of a 3 D’s library development and an interview from of the effects after a 3 D’s library development.

The results were as follows:

1.  The conditions and problems of library Ban NachummaiNiramit School revealed that:

1.1 In terms of the conditions, 1) the library had limited copies of books and materials, and the contents did not cover a wide range of the learning substance groups, 2) the students did not use library resources because there was limited provision of resources, for example no new interesting books, media and educational toys, 3) the library’s atmosphere did not support learning environment, 4) the library was also old and was not physically attractive.

1.2 in terms of problems, 1) the library was not in good condition, 2) the library had limited budget to maintenance, 3) the librarian had no knowledge in library management, 4) the teacher in charge had teaching workload so they were not able to take a good care of the library

2. The guidelines for developing a 3 D’s Library at Ban NachummaiNiramit School involved three activities: 1) a study visit to a successful model school, 2) a training workshop, 3) a development of 3 D’s Library comprising three main components: D1  Good books and learning media, D2  good atmosphere and location, D3 : good librarians and activities, 4) supervision and monitoring

3. The effect of a 3 D’s Library development at Ban NachummaiNiramit School revealed that.

D 1 : good books and learning media. The library provided useful books containing intellectual creations, academic content and sources which were consistent with the school curriculum of all substance leaning groups.

D 2 : Good atmosphere and location. The activities for library facilities improvement involved repairing book shelves, painting the walls, providing reading tables, in addition, the clear, clean, colorful and eye-catching design of the library created appealing to the students and suited the students’ ages. The activities were likely to attract more students to access library resources

D 3 : Good Librarians and activities. The teachers in charge gained knowledge and understanding in library management, and had good and service minded characteristics. The students from Prathom 6 also volunteered working in the library as young librarians who were responsible to provide service assistance to the library users, for example, putting books back on shelves, and cleaning the library before and after the service hours. The reading activity also provided to enhance the service, for example, small books creation, classification of books in relation to the eight learning substance groups. There activities facilitated easily access for information searching, the internet, and borrowing and returning books service. Therefore the students were able to take the borrowed books home which encouraged them to maintain reading habits and spent better useful recreations.

คำสำคัญ

การพัฒนาห้องสมุด 3 ดี

Keyword

3 D’s Library Developing

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093