...
...
เผยแพร่: 15 ต.ค. 2557
หน้า: 55-62
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 289
Download: 179
Download PDF
การพัฒนาศักยภาพครูผู้ดูแลเด็กในการผลิตและการใช้สื่อ เพื่อการสร้างเสริมประสบการณ์เด็กเล็ก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลต้นผึ้ง อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร
The Development of Teachers’ Competence in Producing And Using Media for Promoting Young Children’s Experiences at Child Development Centers Under Tonpueng Subdistrict Administrative Organization, Phungkhon District, Sakon Nakhon Province
ผู้แต่ง
ดนตรี โกสิงห์, วัฒนา สุวรรณไตรย์, วีรเทพ เนียมหัตถี

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาในการผลิตและการใช้สื่อ เพื่อการสร้างเสริมประสบการณ์เด็กเล็ก ของครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลต้นผึ้ง อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร 2) เพื่อหาแนวทาง การพัฒนาศักยภาพครูผู้ดูแลเด็กในการผลิตและการใช้สื่อ เพื่อการสร้างเสริมประสบการณ์เด็กเล็ก 3) เพื่อติดตามผลการพัฒนาศักยภาพครูผู้ดูแลเด็กในการผลิต  และการใช้สื่อเพื่อการสร้างเสริมประสบการณ์เด็กเล็กโดยการวิจัยเชิงปฏิบัติการซึ่งมีขั้นตอนในการดำเนินงาน 4  ขั้นตอน คือ ขั้นการวางแผน ขั้นการปฏิบัติการ ขั้นการสังเกตการณ์และขั้นการสะท้อนกลับ โดยดำเนินการ 2 วงรอบ มีกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ร่วมวิจัยจำนวน 6 คน และผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยจำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ แบบสังเกตและแบบประเมินที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าดัชนีประสิทธิผล

ผลการวิจัย

1. สภาพและปัญหาในการผลิตและการใช้สื่อเพื่อการสร้างเสริมประสบการณ์เด็กเล็ก ของครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลต้นผึ้ง อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร  พบว่า ด้านสภาพ ครูผู้ดูแลเด็กมีการผลิตสื่อการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์เด็กเล็ก อยู่ในปริมาณน้อย ส่วนใหญ่นิยมซื้อสื่อสำเร็จรูปตามท้อง ตลาด และครูผู้ดูแลเด็กสามารถใช้สื่อการเรียนรู้ได้ แต่ขาดความมั่นใจในการใช้ ส่วนใหญ่ขาดทักษะใน การใช้สื่อเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์  ด้านปัญหา ครูขาดทักษะ ความรู้  ความเข้าใจ การแสวงหาความรู้ในการผลิตสื่อและใช้สื่อ นอกจากนี้ยังขาดบุคลากรที่มีความสามารถในการผลิตและใช้สื่อในการให้ความรู้ คำแนะนำ ในการผลิตและการใช้สื่อการเรียนรู้เพื่อการเสริมสร้างประสบการณ์เด็กเล็ก หน่วยการต้นสังกัดสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาบุคลากรในด้านการผลิตและการใช้สื่อเพื่อการสร้างเสริมประสบการณ์เด็กเล็กน้อย ไม่เพียงพอ และขาดการนิเทศ กำกับ ติดตามเกี่ยวกับการผลิตและการใช้สื่อที่ต่อเนื่องและเป็นระบบ

2. แนวทางการพัฒนาศักยภาพครูผู้ดูแลเด็กในการผลิตและการใช้สื่อเพื่อการสร้างเสริมประสบการณ์เด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลต้นผึ้ง อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร

3. ผลการพัฒนาศักยภาพครูผู้ดูแลเด็กในการผลิตและการใช้สื่อ เพื่อการสร้างเสริมประสบการณ์เด็กเล็ก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก พบว่า จากการอบรมเชิงปฏิบัติการ ทำให้ครูผู้ดูแลเด็กมีความรู้ ความเข้าใจในการผลิตและการใช้สื่อ เพื่อการสร้างเสริมประสบการณ์เด็กเล็ก เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 74 สามารถผลิตสื่อการเรียนรู้ในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กเล็ก สัมพันธ์กับกิจกรรมประจำวัน เหมาะสมกับวัยของเด็ก มีการกระตุ้นให้เด็กมีส่วนร่วมในการใช้สื่อการเรียนรู้อย่างหลากหลาย ครูมี การเตรียมความพร้อมก่อนใช้สื่อการเรียนรู้เสมอ สามารถใช้สื่อการเรียนรู้ได้อย่างมั่นใจ เหมาะสมถูกต้องตามลำดับขั้นตอนของกิจกรรม และมีการประเมินผลการใช้สื่อการเรียนรู้ หลังการจัดกิจกรรม การเรียนรู้เสมอ สามารถส่งเสริมพัฒนาการของเด็กได้ครบทุกด้านทั้งทางร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม สติปัญญา ส่งผลให้ผู้ปกครอง และคณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีความพึงพอใจกับสื่อการเรียนรู้ที่ครูผู้ดูแลเด็กผลิตและนำมาใช้ในการสร้างเสริมประสบการณ์เด็กเล็ก   

Abstract

ABSTRACT

The purposes of this research were to: 1) investigate the conditions and  problems in producing and using media for promoting young children’s experiences at Child Development Centers under Tonpueng Subdistrict Administrative Organization,  Phungkhon district, Sakon Nakhon province, 2) establish guidelines for developing  teachers’ competence in producing and using media for promoting young children’s experiences,          3) follow–up the development of teachers’ competence in producing and  using media for promoting young children’s experiences. The Two Cycle Spiral Action Research approach employed was consisted of the four steps as follows: 1) Planning, 2) Action, 3) Observation, and 4) Reflection. The target group consisted of six co-researchers involving the researcher and 21 informants. The research instruments were an interview form, tests, an observation form, and an evaluation form. The statistical methods used for analyzing the collected data were percentage, mean, standard deviation and Effectiveness Index.

The findings were as follows:

1. The condition and problems in producing and using media for promoting young children’s experiences at Child Development Centers under Tonpueng Subdistrict Administrative Organization, Phungkhon district, Sakon Nakhon province  revealed that: In terms of the conditions, the teachers produced limited instructional media. Most teachers bought ready-made commercial instructional media. Although teachers were able to use instructional media, they were not confident to employ into practice. In term of problems, teacher lacked skills, knowledge, and understanding in producing and using media. In addition, there was a lack of  skilled personnel for media production and application. The original affiliation did not provide sufficient budget for personnel professional development in relation to media production and application. The instructional media was limited and insufficient. The supervision was also not continuously and systematically. 

2. The guidelines for developing teachers’ competence in producing and using media for promoting young children’s experiences involved a training workshop and supervision and mentoring provision.

3. The results from the development of teachers’ competence in producing and  using media for promoting young children’s experiences in Child Development Centers revealed that: After the training workshop, the teachers increased their understanding in producing and using media for promoting young children’s experiences by 74 percent. In addition, the teachers were able to produce instructional media in relation to children’s daily routines and age-appropriate activities. Moreover, the teachers encouraged children to participate and apply a wide range of instructional media into their learning. Teachers also prepared the lessons before the class and were confident in using instructional media, followed the activity procedures, and evaluated the instructional media after finishing the activities. Effectively incorporate instructional media in to learning activities were consequently supported healthy physical, emotional, social, and intellectual development of the children. As a result, parents and Board of Child Development Centers satisfied with the created instructional media and teachers’ performance.

คำสำคัญ

การพัฒนาศักยภาพครู, การผลิตสื่อสำหรับเด็กเล็ก, การใช้สื่อเพื่อการสร้างเสริมประสบการณ์เด็กเล็ก

Keyword

Teacher’s competence, Instructional Media for Young Cchildren

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093