บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานของผู้บริหารตาม ความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 2) เปรียบเทียบการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงาน ของผู้บริหารโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอนในโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพ 3) เปรียบเทียบการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน ในโรงเรียน จำแนกตามประสบการณ์การในการดำรงตำแหน่งทำงาน 4) เปรียบเทียบการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงาน ของผู้บริหารโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน ในโรงเรียนจำแนกตามขนาดโรงเรียน 5) หาแนวทางการพัฒนาการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานของผู้บริหารในโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 372 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย () ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ทดสอบสมมติฐานด้วยวิธีการทางสถิติโดยใช้ t-test (Independent Sampls), f-test (One-Way ANOVA) และสถิติค่าเชฟเฟ่ (Sheffe)
ผลการวิจัย พบว่า
1. การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยเรียงจากมากไปหาน้อย คือ ด้านหลักนิติธรรม ด้านหลักความรับผิดชอบ ด้านหลักความโปร่งใส ด้านหลักการมีส่วนร่วม ด้านหลักคุณธรรม และด้านหลักความคุ้มค่า ตามลำดับ
2. การเปรียบเทียบการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนมเขต 2 สถานภาพต่างกัน พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน มีความคิดเห็นต่อการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. การเปรียบเทียบการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนมเขต 2 ประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน มีความคิดเห็นต่อการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียน โดยรวมไม่แตกต่างกัน
4. การเปรียบเทียบการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนมเขต 2 ขนาดโรงเรียนต่างกัน พบว่าผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 1 ด้าน คือด้านหลักความคุ้มค่า นอกนั้นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำนวน 5 ด้าน และเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ได้ทำการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ (Sheffe’) พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่.01
5. การวิจัยครั้งนี้ได้นำเสนอแนวทางพัฒนาการใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 2 ด้าน ได้แก่ หลักคุณธรรมและหลักความคุ้มค่า
Abstract
ABSTRACT
The purposes of this research were 1) to investigate the administrators’ and teachers’ perspectives toward the practice of good governance for school management of administrators under the Office of Nakhon Phanom Primary Educational Service Area 2, 2) compare the practice of good governance for school management of administrators as perceived by the administrators and teachers with different status, 3) compare the practice of good governance for school management of administrators as perceived by the administrators and teachers with different working experiences, 4) compare the practice of good governance for school management of administrators as perceived by the administrators and teachers with different school size, 5) establish the guidelines for developing the good governance practice for school management of administrators. The samples, obtained through a multi-stage sampling technique, comprised 372 primary school administrators and teachers in the 2013 academic year under the Office of Nakhon Phanom Primary Educational Service Area 2. The instrument used for collecting data was a set of questionnaires. Statistics employed to analyze data were percentage, mean, standard deviation, t-test (Independent Samples), F-test (One-Way ANOVA), and Sheffe.
The findings were as follows:
1. The practice of good governance for school management of administrators under the Office of Nakhon Phanom Primary Educational Service Area 2as perceived by administrators and teachers was, as a whole, at a high level with the aspect ratings of importance at levels from high to low as: rule of law, accountability, transparency, participation, morality, and value for money.
2. The comparison on the practice of good governance for school management of administrators under the Office of Nakhon Phanom Primary Educational Service Area 2 as perceived by administrators and teachers with different status, as a whole, showed a different significance level of .05.
3. The comparison on the practice of good governance for school management of administrators under the Office of Nakhon Phanom Primary Educational Service Area 2 as perceived by administrators and teachers with different work experiences, as a whole, showed no difference.
4. The comparison on the practice of good governance for school management of administrators under the Office of Nakhon Phanom Primary Educational Service Area 2 as perceived by administrators and teachers with different school size was, as a whole, different at the .05 level of significance. When considering in each aspect, the value of money aspect was significantly difference at .05 level. The other five aspects were different at the .05 level of significance. When testing the paired difference through Sheffe’s method, they showed a difference at the .01 level of significance.
5. The proposed guidelines for developing the practice of good governance for school management of administrators under the Office of Nakhon Phanom Primary Educational Service Area 2 involved two aspects: morality and value for money.
คำสำคัญ
การใช้หลักธรรมาภิบาล, หลักธรรมาภิบาลKeyword
Good Governance Practice, Good Governance Principlesกำลังออนไลน์: 339
วันนี้: 1,554
เมื่อวานนี้: 1,743
จำนวนครั้งการเข้าชม: 15,140
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093