บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาการนิเทศแบบมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้ทักษะการคิดตามกระบวนการแก้ปัญหาอนาคตของโรงเรียนเชียงเพ็งวิทยา 2) พัฒนาการดำเนินงานการนิเทศแบบมีส่วนร่วมและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ทักษะการคิดตามกระบวนการแก้ปัญหาอนาคต ของโรงเรียนเชียงเพ็งวิทยา และ 3) ศึกษาผลการดำเนินงานการนิเทศแบบมีส่วนร่วม และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ทักษะการคิด ตามกระบวนการแก้ปัญหาอนาคต ของโรงเรียนเชียงเพ็งวิทยาดำเนินการโดยใช้วงจรคุณภาพ (Deming Circle) หรือวงจรคุณภาพ PDCA เพื่อใช้เป็นยุทธวิธีในการพัฒนากระบวนการปฏิบัติงานของครู สู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนประกอบด้วย 4 ขั้นตอนได้แก่ ขั้นวางระบบ ขั้นทำตามระบบ ขั้นตรวจสอบประเมิน และขั้นแก้ไขพัฒนากลุ่มประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยปีที่ 1 จำนวนครู 32 คน นักเรียน 450 คน และในปีที่ 2 จำนวนครู 47 คน นักเรียน 511 คนของโรงเรียนเชียงเพ็งวิทยา โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Selection) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสำรวจ แบบประเมินแบบทดสอบ และแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูล เชิงปริมาณใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่า IOC ค่าค่าความเชื่อมั่น ค่าอำนาจจำแนกค่าความยากง่ายของแบบทดสอบ และ ค่า t – test ทดสอบสมมติฐาน ตรวจสอบข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา จัดหมวดหมู่และนำเสนิข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการพัฒนาการดำเนินงานนิเทศแบบมีส่วนร่วม และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ทักษะการคิดตามกระบวนการแก้ปัญหาอนาคต ของโรงเรียนเชียงเพ็งวิทยาพบว่า
1.1 ผลการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจของครู ในการดำเนินงานการนิเทศแบบมีส่วนร่วมและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วงจรคุณภาพ (Deming Circle) หรือวงจรคุณภาพ PDCA โรงเรียนมีการกำหนดปฏิทินการปฏิบัติงาน ระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาวชัดเจนเพิ่มมากขึ้น มีการจัดทำคู่มือครูเพื่อใช้ประกอบการจัดการเรียนการสอนครูได้รับการอบรมสร้างความรู้ ความเข้าใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับทักษะการคิดและได้รับการพัฒนาการปฏิบัติการการนิเทศให้ครูมีส่วนร่วมโรงเรียนกำหนดปฏิทินประชุมปฏิบัติการ (work shop) หลังการนิเทศแบบมีส่วนร่วมและนำแนวทางแก้ไขไปปรับปรุงการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1.2 ผลการพัฒนาครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ในการใช้ทักษะการคิด ตามกระบวนการแก้ปัญหาอนาคต พบว่า ผลการทดสอบหลังการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญ และครูร่วมการนิเทศช่วยเหลือกันให้สามารถพัฒนาการจัดกิจกรรมการสอนทักษะการคิดได้ โดยมีการประชุมปฏิบัติการ (Work shop) ภายหลังการร่วมการนิเทศ และร่วมเผยแพร่ผลงานทางวิชาการที่ประสบผลสำเร็จของโรงเรียนที่กรุงเทพมหานคร
2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางกรเรียนที่สูงขึ้น นักเรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และได้รับการส่งเสริมให้นักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันทักษะการคิดทั้งในระดับประเทศ และระดับนานาชาติที่ประเทศสิงคโปร์
Abstract
ABSTRACT
The purposes of this research were 1) study the participation and supervision in education by thinking skills according future problem solving . 2) Development operations with participation and supervision in education by thinking skills according future problem solving. 3) Study the participation and supervision in education by thinking skills according future problem solving of Chiangpengwittaya School. This action in 4 steps by the Deming Circle : PDCA the sample used in this study were 32 teachers, 450 students in 1th year and were 47 teachers, 511 students in 2th year by purposive selection. Tool used in the research by step including in Survey, Ability test, Knowledge test of teachers and students assessment and interview. The data were analyzed using Percentage, Mean, Standard Deviation the confidence value, IOC, Discrimination, Reliability, Difficulty and the t- test. Results of data analysis showed that teacher have a desire to improve the Quality of learning by using learning activities .Using thinking skills byfutureproblems solving to exercise Current supervisory teachers no supervision after the workshop to exchange experiences and irresponsible practice. Test result showed that teachers and students after the test development activities, higher learning before development significantly. The assessment found that the development activities by giving students the opportunity to compete at any level thinking skills and teachers to participate in supervision activities help them develop thinking skills and co – published the work of the public schools and that students have the Creative Thinking.
คำสำคัญ
ทักษะการคิด, กระบวนการแก้ปัญหาอนาคตKeyword
Thinking, future problem solvingกำลังออนไลน์: 307
วันนี้: 1,470
เมื่อวานนี้: 1,743
จำนวนครั้งการเข้าชม: 15,056
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093