บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อประเมินสัมฤทธิผลการดำเนินงาน เปรียบเทียบ ความคิดเห็นของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และหาแนวทางพัฒนาที่เหมาะสมใน การดำเนินงานตามมาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหาร ส่วนตำบล ในจังหวัดสกลนคร โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้บริหาร ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครองเด็ก นักวิชาการศึกษา และคณะกรรมการศูนย์พัฒนา เด็กเล็ก จำนวน 490 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และค่าสถิติ F – test
ผลการวิจัย พบว่า
1. สัมฤทธิผลการดำเนินงานตามมาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดสกลนคร ด้านสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับ มาก เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า อยู่ในระดับมากทุกข้อ ยกเว้นด้านกระบวนการ อยู่ในระดับ ปานกลาง โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือ ด้านผลผลิต ด้านสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า และด้านกระบวนการ ตามลำดับ
2. ความคิดเห็นของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องมีความคิดเห็นต่อสัมฤทธิผลการดำเนินงานตามมาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดสกลนคร จำแนกตามสถานภาพ พบว่า ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ที่มีสถานภาพต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสัมฤทธิผลการดำเนินงานตามมาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดสกลนคร โดยรวม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 สำหรับ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ที่มีอายุต่างกัน และระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสัมฤทธิ
3. แนวทางพัฒนาที่เหมาะสมในการดำเนินงานตามมาตรฐานการดำเนิน งานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดสกลนคร จากผลการวิจัยพบว่า ควรมีการพัฒนาในด้านกระบวนการ
Abstract
ABSTRACT
This study aimed to evaluate the operational performance achievement, to compare stakeholders’ opinions, and to establish appropriate guidelines for developing operational performance achievements based on the standards of Child Development Centers under the Subdistrict Administration Organization in Sakon Nakhon. A mixed methods research design was employed. The samples comprised administrators, teachers, parents/guardians, educators, and members of Child Development Center committees for a total of 490 participants. The research sample was a set of questionnaires. The statistical analysis used were frequency, mean, standard deviation, percentage, and F-test.
The findings were as follows:
1. The operational performance achievements based on the standards of Child Development Centers under the Subdistrict Administration Organization in Sakon Nakhon in terms of environmental conditions, input factors, process and output indicated that all aspects, as a whole, were at the high level. When each aspect was considered, it was found that all aspects were at the high level, except the aspect on process, which was at the moderate level ranging from high to low levels as follows: output, environmental conditions, input factors, and process respectively.
2. The stakeholders’ opinions towards operational performance achievements base the standards of Child Development Centers under the Subdistrict Administration Organization in Sakon Nakhon, classified by different background status, as a whole, were different at the statistical difference at 0.01 level. The stakeholders’ opinions with difference ages, educational qualification, and educational level, as a whole, were not different.
3. The guidelines for developing appropriate operational performance achievements based on the standards of Child Development Centers under the Subdistrict Administration Organization in Sakon Nakhon revealed that the process aspect was needed to be developed.
คำสำคัญ
สัมฤทธิผล, มาตรฐานการดำเนินงาน, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กKeyword
Performance Achievement, Operational Standardกำลังออนไลน์: 81
วันนี้: 2,158
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 57,357
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093