...
...
เผยแพร่: 15 ม.ค. 2558
หน้า: 173-181
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 429
Download: 180
Download PDF
การพัฒนาศักยภาพครูผู้ดูแลเด็ก ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ศูนย์พัฒนาเด็กวัยเตาะแตะ สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลนาเพียง อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร
The Development of Teacher’ Competence on Learning Experience Management for the Self-Help Child Care Centers under the Napiang Subdistrict Administrative Organization, Kusuman District, Sakon Nakhon Province
ผู้แต่ง
กนิษฐา เหมือยพรม, ศิกานต์ เพียรธัญญากรณ์, รัชฎาพร พิมพิชัย

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาของศักยภาพครูผู้ดูแลเด็กในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ในศูนย์พัฒนาเด็กวัยเตาะแตะ สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลนาเพียง อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร  2) หาแนวทาง และ  3) ติดตามผลการพัฒนาศักยภาพครูผู้ดูแลเด็กในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ในศูนย์พัฒนาเด็กวัยเตาะแตะ สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลนาเพียง อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร และกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูผู้ดูแลเด็ก จำนวน 12 คน โดยใช้การวิจัยปฏิบัติการ 2 วงรอบ แต่ละวงรอบประกอบด้วย 4 ขั้นตอนหลัก คือ 1) ขั้นการวางแผน (Planning) 2) ขั้นการปฏิบัติการ (Action) 3) ขั้นการสังเกตการณ์ (Observation) และ 4) ขั้นการสะท้อนกลับ (Reflection) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบทดสอบ แบบประเมินแผนการจัดประสบการณ์ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ และแบบนิเทศการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าร้อยละความก้าวหน้า

ผลการวิจัยพบว่า

1.  ผลการศึกษาสภาพและปัญหาในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กวัยเตาะแตะ สังกัดสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลนาเพียง อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร มีดังนี้

1.1 สภาพในการจัดประสบการณ์ พบว่า ครูผู้ดูแลเด็กจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามความเข้าใจในรูปแบบเดิม คือจัดกิจกรรมแบบไม่ค่อยมีจุดหมาย ไม่มีการบันทึกหลังการจัดประสบการณ์ทำให้ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่ 2 ที่ว่าครูผู้ดูแลเด็กมีความสามารถในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

1.2 ปัญหาในการจัดประสบการณ์ พบว่า ครูผู้ดูแลเด็กส่วนใหญ่ขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้และขาดหลักวิธีการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ การดำเนินการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ขาดการบันทึกผลหลัง การจัดประสบการณ์และขาดการประเมินพัฒนาการเด็กในแต่ละกิจกรรมที่เป็นปัจจุบัน ส่งผลให้การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร

2. แนวทางการพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ในศูนย์พัฒนาเด็กวัยเตาะแตะ สังกัดสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลนาเพียง อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร ในวงรอบที่ 1 ประกอบด้วย 1) การศึกษาดูงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กชุมชนนาอ้อย-คำสะอาด 2) การประชุมเชิงปฏิบัติการ 3) การนิเทศติดตามในวงรอบที่ 2 ใช้การฝึกเขียนแผนประสบการณ์การเรียนรู้แบบเข้มข้นและการนิเทศแบบให้คำชี้แนะ3. ผลการพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ในศูนย์พัฒนาเด็กวัยเตาะแตะ สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลนาเพียง อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร ในด้านความเข้าใจ จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน  พบว่า ครูผู้ดูแลเด็ก มีความเข้าใจในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เท่ากับ 17.67 คิดเป็นร้อยละ 88.33  ด้านการเขียนแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ พบว่า  มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (\bar{x}=4.42 )  ผลการนิเทศติดตามการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูผู้ดูแลเด็กโดยรวมและรายด้าน  อยู่ในระดับมากที่สุด (\bar{x}=4.58)

Abstract

ABSTRACT

The purposes of this research were 1) to examine the conditions and problems of teachers’ competence on learning experience management for the Self-Help Child Care Centers under the Napiang Subdistrict Administrative Organization, Kusuman District, Sakon Nakhon province, 2) to establish guidelines for developing teachers’ competence on learning experience management, and 3) to follow up the development of teachers’ competence on learning experience management. The target group consisted of 12 participation teachers. This action research employed two spirals of four stages: planning, action, observation and reflection. The research instruments used were a test, a lesson plan assessment form, observation forms, interview forms, and a supervision form on learning experience management. The statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, and a percentage progress.

The findings were as follow:

1. The conditions and problems of teachers in managing learning experience for the Self-Help Child Care Centers under the Napiang Subdistrict Administrative Organization, Kusuman District, Sakon Nakhon province revealed that:

1.1 In terms of the conditions, teachers employed traditional learning experience management based on their previous understanding. For example, the learning activities did not relate to the objectives. In addition, the teachers did not write a post lesson report. Consequently, the teachers’ performance did not meet the requirement of the professional criteria standard ll for teachers’ competency on effective learning experience management and student-centered learning approaches.

1.2 In terms of problems, it was found that teachers lacked knowledge and understandings on learning experience management, written lesson planning principles, and lesson plan implementation It was also found that the teachers tended not to write a post lesson report, and child development assessment in each activity. This would affect ineffective learning experience management.

2. The suitable guidelines for developing teachers on learning experience management in the first spiral involved: 1) a technical visit to the Child Development Center of Na Ooy-Khamsaard Community, 2) a training workshop, and 3) a follow-up supervision. In the second spiral, the intensive written lesson plan and coaching supervision were employed.

3. The effects from the teachers’ professional development on learning experience management revealed that: the teachers’ understandings on learning experience increased to 17.67 out of 20, with the percentage of 88.33. In addition, the result of this study showed a high level mean score of 4.42 of effective written lesson plans. The result from a follow-up supervision also reported the teachers were able to employ learning experience management, as a whole and each aspect, at a high level with a mean score of 4.58.

คำสำคัญ

การจัดประสบการณ์การเรียนรู้

Keyword

Learning Experience Management

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093