...
...
เผยแพร่: 15 ม.ค. 2558
หน้า: 145-153
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 407
Download: 187
Download PDF
การพัฒนาการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน โรงเรียนเซกา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21
The development of School Activities to Promote Students’ Reading Habits at Seka School under the Office of Secondary Educational Service Area 21
ผู้แต่ง
ศันษนีย์ แสงพรมชารี, ธวัชชัย ไพใหล, ประภัสร สุภาสอน

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาเกี่ยวกับ นิสัย รักการอ่านของนักเรียน 2) หาแนวทางในการพัฒนาการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน และ 3) ติดตามผลการใช้แนวทางในการพัฒนาการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน กลุ่มเป้าหมายของการวิจัยครั้งนี้ คือ กลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 43 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 172 คนและกลุ่มผู้นิเทศ จำนวน 4 คน ใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การวางแผน 2) การปฏิบัติการ 3) การสังเกตการณ์ 4) การสะท้อนกลับ ดำเนินการ  2 วงรอบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกตและแบบประเมิน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้ค่าสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละความก้าวหน้า การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพและปัญหาเกี่ยวกับนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนเซกา ดังนี้

1.1 สภาพการดำเนินกิจกรรมการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน พบว่าโรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้ที่มีความพร้อมต่อการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน แต่นักเรียนส่วนมาก ใช้เวลาว่างในการเล่นมากกว่าการอ่านหนังสือที่น่าสนใจ หรือการเข้าใช้บริการห้องสมุด นักเรียนยังขาดการกระตุ้นให้มีความสนใจในการอ่าน การเห็นความสำคัญของการอ่านและการพัฒนาการอ่านของตนเองและนักเรียนส่วนใหญ่ไม่มีนิสัย รักการอ่าน ไม่ชอบเข้าห้องสมุดเพื่อศึกษาค้นคว้า และใช้เวลาว่างไม่เกิดประโยชน์ ส่งผลให้นักเรียนขาดความรู้ความสามารถและขาดทักษะในด้านการอ่าน

1.2 ปัญหาในการดำเนินกิจกรรมการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนจัดขึ้นโดยโรงเรียน ครูประจำชั้นหรือครูผู้สอน และผู้ปกครอง พบว่า นักเรียนยังไม่ให้ความเอาใจใส่ในการร่วมกิจกรรมเท่าที่ควร และผู้ปกครองส่วนใหญ่ยังขาดความกระตือรือร้นและให้ความร่วมมือในการดูแลเอาใจใส่การอ่านหนังสือของบุตรหลานอย่างจริงจัง

2. แนวทางการพัฒนาการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนเซกา ได้แก่ 2.1) การประชุมเชิงปฏิบัติการ 2.2) การจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน 2.3) การนิเทศภายใน 

3. ผลการติดตามการใช้แนวทางในการพัฒนาการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนเซกา 

3.1 การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน พบว่า กลุ่มผู้ร่วมวิจัยมีความพึงพอใจต่อการประชุมเชิงปฏิบัติการในการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

3.2 การจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนซึ่งประเมินโดยนักเรียนซึ่งเป็นกลุ่มผู้ให้ข้อมูล พบว่า ในวงรอบที่ 1 มีค่าระดับปานกลาง  ในวงรอบที่ 2 มีค่าระดับมาก  โดยมีค่าเฉลี่ยร้อยละความก้าวหน้าเท่ากับ 67.10 และประเมินโดยกลุ่มผู้ร่วมวิจัย ในวงรอบที่ 1 มีค่าระดับปานกลาง  ในวงรอบที่ 2 มีค่าระดับมาก  โดยมีค่าเฉลี่ยร้อยละความก้าวหน้าเท่ากับ 61.54

3.3 การนิเทศภายในเพื่อติดตามผลการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการ อ่านของนักเรียนโดยรวมพบว่าในวงรอบที่ 1 มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง   ในวงรอบที่ 2   มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด  โดยมีค่าเฉลี่ยร้อยละความก้าวหน้า เท่ากับ 86.34

Abstract

ABSTRACT

The purposes of this research were to: 1) examine conditions and problems of student’s reading habits, 2) establish the guidelines for developing the school activities to promote the students’ reading habits, and 3) follow-up the effects after the implementation. The target group consisted of 43 co-researchers, 172 informants, and four supervisors. This participatory action research employed the two spirals of four stages: planning, action, observation, and reflection. The research instruments comprised interview forms, observation forms, assessment forms. The qualitative data were analyzed through percentage, mean, standard deviation, percentage progress. In case of quantitative data, percentage, mean and standard deviation were applied. Content analysis was employed to analyze qualitative data.

The findings were as follows:

1. The conditions and problems of the students’ reading habits at Seka School revealed that:     

1.1 In terms of conditions, the school provided learning resources to promote the students’ reading habits, for example, school library which held a wide range of books, and computer facilities for services. However, the school activities in promoting the student’ reading habits were limited in the classroom settings which were uninteresting to the students. Therefore, the students did not seem to be motivated to read, to participate in the provided activities, to gain awareness of the importance of reading, to improve self-reading ability, and to love reading. Most students spent their times unproductively instead of reading or library use. They also tended not to go to the library for studying. As previously mentioned, those issues would affect the students’ knowledge, competence in reading ability, and skills.

1.2 The problems of the activities in prompting students’ reading habits being held by school, classroom teachers or teachers, and parents revealed that: Some students lacked enthusiasm to participate in the activities. The parents also lacked interest, and cooperation with school to increase own children’s reading habits.                                                                    

2. The guidelines for developing the school activities to promote student’ Reading habits involved: 2.1) a training workshop, 2.2) the implementation of students’ Reading habit promotion activities, and 2.3) an internal supervision.

3. The effects after the implementation of the school activities in promoting the Student’ reading habits revealed that:

3.1 After the training workshop, the co-researchers reported on their Satisfaction towards the project, as a whole, at a high level

3.2 The school activities to promote students’ reading habits were Implemented, and then assessed by the student informants, in the first spiral, was at a moderate level , and met a high satisfactory level with the percentage progress of 67.10 in the second spiral. The activities were also rated by the co-researchers, in the first spiral, with a moderate level , and at a high level  With a percentage progress of 61.54, in the second spiral.

3.3 The result from an internal supervision after the implementation, the School activities, in the first spiral, were rated at a moderate level . In the second spiral, the value level was at the highest level  with the percentage progress at 86.34.

คำสำคัญ

การส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน

Keyword

Promoting Reading Habit

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093