บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหา และประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโรงเรียน 2) เปรียบเทียบการรับรู้เกี่ยวกับสภาพปัญหา และประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโรงเรียน จำแนกตามตัวแปรกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและขนาดโรงเรียน และ 3) จัดทำข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ประจำปีการศึกษา 2556 จำนวน 123 โรงเรียน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น อย่างเป็นสัดส่วน ตามขนาดของโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียน โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง
2. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโรงเรียน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก
3. ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษา ต่างกลุ่มกัน รับรู้สภาพปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียน โดยภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาที่อยู่ในโรงเรียนขนาดต่างกัน รับรู้สภาพปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียน โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน
5. ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษา ต่างกลุ่มกัน รับรู้ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโรงเรียน โดยภาพรวม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
6. ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาที่อยู่ในโรงเรียนขนาดต่างกัน รับรู้ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโรงเรียน โดยภาพรวม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Abstract
ABSTRACT
This research aimed to: 1) investigate the problem states and effectiveness of academic affairs management in schools, 2) compare perception towards the problems, states and effectiveness of academic affairs management in schools classified by variables on stakeholders and school size, and 3) establish the guidelines for developing school academic affairs management. The samples of this research were 123 schools under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 1 in the academic year 2013, obtained through stratified random sampling on school size differences. The instrument used in this study was a questionnaire. Data were analyzed by a statistical software.
The findings were as follows:
1. The problem states of school academic affairs management, as a whole, were at a moderate level.
2. The effectiveness of school academic affairs management was at a high level in general.
3. The perception of school academic affairs management among the school administrators, teachers and chairs of school boards from different school groups toward the problem states of school academic affairs management was, as a whole, significantly different at the .01 level.
4. The problem states of school academic affairs management as perceived by the school administrators, teachers and chairs of school boards from the different school size showed no significant differences as a whole.
5. The perception of the school administrators, teachers and chairs of school boards from different school groups toward the effectiveness of school academic affairs management was, in general, different at the .01 level of significance.
6. The perception of the school administrators, teachers and chairs of school boards from the different school size toward the effectiveness of school academic affairs management significantly differed at the .01 level in general.
7. The guidelines of the development on the school academic affairs management included six aspects as follows: 1) school instructional management, 2) school curriculum development, 3) learning procedure development, 4) development and promotion of learning resources, 5) regulations on school academic affairs management, and 6) selection of textbooks used in schools.
คำสำคัญ
การบริหารงานวิชาการKeyword
Academic Affairs Managementกำลังออนไลน์: 369
วันนี้: 1,584
เมื่อวานนี้: 1,743
จำนวนครั้งการเข้าชม: 15,170
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093