...
...
เผยแพร่: 15 ม.ค. 2558
หน้า: 124-134
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 227
Download: 175
Download PDF
การพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของบุคลากร ในโครงการสกัดกั้นการค้ามนุษย์มูลนิธิ ศุภนิมิตแขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Developing of Personnel’s Teamwork Efficiency for World Vision Foundation Savannakhet, Lao PDR
ผู้แต่ง
ทศพร บุตรสาหลิง, วัฒนา สุวรรณไตรย์, อุทัย สัตยารักษ์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพ และปัญหาในการทำงานเป็นทีมของบุคลากรในโครงการสกัดกั้นการค้ามนุษย์มูลนิธิศุภนิมิตแขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2) หาแนวทางในการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของบุคลากรในโครงการสกัดกั้นการค้ามนุษย์มูลนิธิ             ศุภนิมิตแขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และ 3)  ติดตามผลการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของบุคลากรในโครงการสกัดกั้นการค้ามนุษย์มูลนิธิศุภนิมิตแขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ  4  ขั้นตอน ประกอบด้วยการวางแผน (Planning) การปฏิบัติการ  (Action) การสังเกต (Observation) และการสะท้อนผล (Reflection) กลุ่มเป้าหมายของการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรในโครงการสกัดกั้นการค้ามนุษย์มูลนิธิศุภนิมิตแขวงสะหวันนะเขตสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็น แบบทดสอบก่อน - หลังการฝึกอบรม แบบสังเกต และแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลดำเนินการโดยการวิเคราะห์เชิงปริมาณ ใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) จัดหมวดหมู่ของเนื้อหาและนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณาวิเคราะห์

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพและปัญหาในการทำงานเป็นทีมของบุคลากรโครงการสกัดกั้นการค้ามนุษย์มูลนิธิศุภนิมิตแขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีดังนี้

1.1 ด้านสภาพในการทำงานเป็นทีมของบุคลากร พบว่า การกำหนดภารกิจและเป้าหมายของทีมงาน ด้านการมอบหมายงานตามบทบาทหน้าที่ ด้านการสื่อสารกันอย่างเปิดเผย ด้านการกระจายความเป็นผู้นำ และด้านการตัดสินใจร่วมกัน ทำให้การดำเนินงานหรือการจัดกิจกรรมร่วมกันไม่ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้

1.2  ด้านปัญหาในการทำงานเป็นทีมของบุคลากรในโครงการสกัดกั้นการค้ามนุษย์มูลนิธิศุภนิมิตแขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พบว่า บุคลากรยังขาดความรู้ ความเข้าใจในการทำงานเป็นทีม  ไม่มีการนำระบบทีมงานมาใช้ และไม่มีการฝึกอบรมเพื่อให้เกิดการพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ

2.  แนวทางพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของบุคลากรในโครงการสกัดกั้นการค้ามนุษย์สังกัดมูลนิธิศุภนิมิตแขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประกอบด้วย 1) การฝึกอบรม และ 2) การนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching)

3.  ผลการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของบุคลากรในโครงการสกัดกั้นการค้ามนุษย์มูลนิธิศุภนิมิตแขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว  ในวงรอบที่ 1 โดยการฝึกอบรม  และการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) พบว่า บุคลากรมีความรู้  ความเข้าใจการทำงานเป็นทีม ตามกรอบการทำงานเป็นทีมใน 5 ด้าน ซึ่งบุคลากรส่วนใหญ่สามารถปฏิบัติหน้าที่ในการกำหนดภารกิจและเป้าหมายของทีมงาน การมอบหมายงานตามบทบาทหน้าที่  การสื่อสารกันอย่างเปิดเผย  การกระจายความเป็นผู้นำและการตัดสินใจร่วมกัน แต่มีผู้ร่วมวิจัย  จำนวน 2 คน ที่ไม่ยอมรับที่จะปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย  ไม่กล้าแสดงออกอย่างจริงใจและเปิดเผย เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นภายในทีมงาน  และไม่ยอมรับการเป็นผู้นำตามที่ทีมงานได้มอบหมาย  ผู้วิจัยจึงได้ดำเนินการพัฒนาในวงรอบที่ 2 โดยการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching)  ผลปรากฏว่า ผู้ร่วมวิจัยทุกคนสามารถทำงานเป็นทีมและดำเนินการจัดกิจกรรมร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพจนสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้

Abstract

ABSTRACT

The purposes of this research were 1) to investigate the current state and problems in the development of effective teamwork of the staff in Anti-Human Trafficking Project Under World Vision Foundation Savannakhet, Lao PDR, 2) to find out a guideline for developing the effective teamwork of the personnel, and 3) to follow up the effects of the development of effective teamwork of the staffs. The research employed two spirals of four-stage action research process comprising planning, action, observation and reflection. The target group consisted of 9 co - researchers. The instruments used were a set of questionnaires, pretests and posttests, observation forms and interview forms. The statistics applied for data analysis were mean, percentage and standard deviation. Content analysis and content classification were employed for qualitative data analysis.

The findings of the research were as follows:

1. The conditions and problems of teamwork of the staff in the staff in Anti-Human Trafficking Project Under World Vision Foundation Savannakhet, Lao PDR that the staff lacked knowledge and understanding toward teamwork, did not apply group working method, and there were no training sessions for developing working skills efficiently. Teamwork system was not employed in particular the task designation , objectives of teamwork, job assignment, openness of communication, decentralization of leadership and cooperative decision-making leading to the failure of cooperative activity application as set. Thus, every staff member was to be trained in order to develop knowledge, ability, and group working skill for enhancing the efficiency of teamwork.

2. The method for developing the efficiency of teamwork of the staff in the staff in Anti-Human Trafficking Project Under World Vision Foundation Savannakhet, Lao PDR employed 2 spirals of development consisting of 1) training sessions 2) coaching supervision on Children’s Day activity application. For the second spiral, the coaching supervision in the project of offering knowledge to superior abbots was applied.

3.  The effects of the efficiency development in team work of the staff in the staff in Anti-Human Trafficking Project Under World Vision Foundation Savannakhet, Lao PDR in the first spiral included training sessions and coaching supervision on National Youths Day activity application. After the development operation, it was found that the staff gained more knowledge and understanding about the efficiency development in teamwork under the framework of teamwork in 5 aspects. Most staff members were able to determine tasks and targets of teamwork; to assign the task depending on the duty, to communicate overtly, to decentralize leadership, and to make collaborative decision But, there were 2 participants who did not accept the assigned tasks, did not express cordially and overtly in order to exchange ideas with group members and did not accept the role of the group leader designated. The researcher conducted the second spiral of the development applying coaching supervision in the project of offering knowledge to superior abbots. After this spiral of development, the researcher found that every staff member was able to work in group and do the collaborative activities efficiently and successfully toward the specified purposes.

คำสำคัญ

ประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของบุคลากร

Keyword

Personnel’s Teamwork Efficiency

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093