บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการวงโยธวาทิต โรงเรียนธาตุนารายณ์วิทยา กำหนดแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการวงโยธวาทิตไว้ 3 แนวทางคือ การศึกษาดูงาน การอบรมเชิงปฏิบัติการ และการนิเทศภายในสถานศึกษา กลุ่มร่วมวิจัย 41 คน ประกอบด้วยผู้วิจัยและนักเรียน 40 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล 40 คน รวมทั้งสิ้น 81 คน โดยใช้การวิจัยปฏิบัติการ 4 ขั้นตอนได้แก่ การวางแผน การปฏิบัติ การสังเกต และการสะท้อนกลับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงข้อมูลที่ค้นพบและสถิติที่ใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูล นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปตารางและพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพ และความต้องการ ในการพัฒนาการบริหารจัดการวงโยธวาทิต พบว่า ผู้ร่วมวิจัยมีประสบการณ์ในเล่นดนตรีและการร่วมกิจกรรมการพัฒนาการบริหารจัดการวงโยธวาทิตน้อย อุปกรณ์ดนตรี และเอกสารทางวิชาการดนตรีต่างๆ มีน้อย วงโยธวาทิตยังขาดระบบการบริหารจัดการที่ดี ผู้บริหารและบุคลากรในโรงเรียนให้การสนับสนุนในกิจกรรมต่างๆ ของวงโยธวาทิตดี ผู้ร่วมวิจัยมีความต้องการในร่วมกิจกรรมการพัฒนาการบริหารจัดการของวงโยธวาทิต
2. แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการวงโยธวาทิต มี 3 แนวทาง ประกอบด้วย 1) การศึกษาดูงานหน่วยงานที่มีการบริหารจัดการวงโยธวาทิตที่เป็นเลิศ 2) การอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการวงโยธวาทิต 3) การนิเทศภายในสถานศึกษา
3. ผลการพัฒนาการบริหารจัดการวงโยธวาทิต พบว่า นักเรียนวงโยธวาทิตมีความรู้ความเข้าใจ และมีการพัฒนาการบริหารจัดการวงโยธวาทิต ประสพความสำเร็จครบสมบูรณ์ทั้ง 5 ด้าน โดยมีผลการประเมินผลการพัฒนาการบริหารจัดการโดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับดังนี้คือ ด้านเทคนิคการบรรเลง และการปฏิบัติเครื่องดนตรี ด้านการบริหารจัดการวิชาการ (ทฤษฎีดนตรี) ด้านการบริหารจัดการงบประมาณ ด้านการบริหารจัดการเวลา และด้านการบริหารจัดการบุคคลตามลำดับ
Abstract
ABSTRACT
The purposes of this research were : Development of The Marching Band Management in Thatnaraiwittaya School, to set the guideline for development management of marching band. The strategy used in the development were a study tour, workshop and a regular internal supervision . The consortium consists of 41 researchers and 40 students, and were 40 of respondent, a total of 81. The study was a participatory action research consisting of four steps: planning, action, observation and reflection. Statistics use for data analysis were percentage, mean and standard deviation. A computer program was used in data analysis. The result of the analysis were presented in forms of tables and analysis description.
The results of the research were as follows:
1. Results of Study State and needs Management development Marching Band has found The participants were experienced in playing music and marching band activity management development less, Musical instruments and music in a few academic papers. Marching to lack of good management. Administrators and school personnel to support the activities of the band, The participants in the event there is a need to improve the management of the band.
2. Guidelines for Management Development, 3 band approach include: 1) an educational agency with excellent managerial Band 2) a workshop to develop management marching band. 3) The supervision of schools.
3. The management development Marching Band showed their understanding. The development and management of a marching band. Successfully completed the top 5. The evaluation of management development was at a high level, Sequence is as follows: Technical instrumental Instruments and practices Management Study (music theory) of budget management. Time management Management and HR, respectively.
คำสำคัญ
การพัฒนาการบริหารจัดการวงโยธวาทิตKeyword
Development of The Marching Band Managementกำลังออนไลน์: 94
วันนี้: 2,117
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 57,316
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093