...
...
เผยแพร่: 15 ม.ค. 2558
หน้า: 63-72
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 240
Download: 227
Download PDF
การพัฒนาศักยภาพครูในการผลิตสื่อมัลติมีเดีย โรงเรียนลำปลาหางวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23
Development of Teacher’s Potential In Producing Multimedia Learning Materials of Lumplahangwittaya School under the Office Of Secondary Educational Service Area Office 23
ผู้แต่ง
ไชยกิตติพงศ์ ไชยเชษฐ์, กาญจนา วงษ์สวัสดิ์, อนุรักษ์ อุปพงษ์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหา หาแนวทางการพัฒนาและติดตามผลการพัฒนาศักยภาพครู ในการพัฒนาสื่อมัลติมีเดียของโรงเรียนลำปลาหางวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ซึ่งมีขั้นตอนในการดำเนินงาน 4  ขั้นตอน คือ การวางแผน การปฏิบัติการ การสังเกตการณ์ และการสะท้อนผล โดยดำเนินการ 2 วงรอบ มีกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ร่วมวิจัย จำนวน 8 คน และผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยจำนวน  84 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย  แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์  แบบทดสอบ แบบประเมิน และแบบสังเกต สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าดัชนีประสิทธิผล

ผลการวิจัย พบว่า

1) สภาพและปัญหาการผลิตสื่อมัลติมีเดียของครู โรงเรียนลำปลาหางวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 พบว่า ด้านสภาพ ครูผู้สอนมีการผลิตสื่อมัลติมีเดีย อยู่ในระดับน้อย  ขาดทักษะ ประสบการณ์ ความรู้ความเข้าใจในหลักการผลิตสื่อมัลติมีเดียและไม่สามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้ นอกจากนี้ยังพบว่า พื้นฐานความรู้ความเข้าใจและความสามารถใช้โปรแกรม Adobe  Captivate  สร้างสื่อมัลติมีเดียอยู่ในระดับน้อย ส่งผลให้ไม่สามารถการนำผลงานในการผลิตสื่อมัลติมีเดียไปเป็นผลงานทางวิชาการเพื่อขอกำหนดให้ตำแหน่งสูงขึ้นได้ รวมถึงครูส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ความเข้าใจในความหมายและประโยชน์ของสื่อมัลติมีเดีย ด้านปัญหา พบว่า ครูผู้สอนมีปัญหาในการผลิตสื่อมัลติมีเดีย อยู่ในระดับมาก เนื่องจาก ขาดทักษะ ประสบการณ์ ความรู้ความเข้าใจและความสามารถในการใช้โปรแกรม Adobe  Captivate  จึงไม่สามารถผลิตสื่อมัลติมีเดียมาใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนได้

2) แนวทางการพัฒนาศักยภาพครู ในการผลิตสื่อมัลติมีเดียของโรงเรียนลำปลาหางวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ประกอบด้วย การอบรมเชิงปฏิบัติการ  การฝึกปฏิบัติการผลิตและใช้สื่อมัลติมีเดีย และการนิเทศภายใน

3) ผลการพัฒนาศักยภาพครู ในการพัฒนาสื่อมัลติมีเดียของโรงเรียนลำปลาหางวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ทั้ง  2  วงรอบ  พบว่า การอบรมเชิงปฏิบัติการ  การฝึกปฏิบัติการผลิตและใช้สื่อมัลติมีเดียและการนิเทศภายใน สามารถส่งเสริมให้ครูผู้สอนผลิตสื่อ มัลติมีเดียที่มีคุณภาพและสามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนใน 8 กลุ่มสาระได้ จนส่งผลให้เด็กมีความพึงพอใจในการเรียนโดยใช้สื่อมัลติมีเดียเป็นอย่างยิ่ง

Abstract

ABSTRACT          

The purposes of this research were to: Study of the conditions and problems. Find the guideline in development and monitoring the result of teacher development for develops multimedia learning materials of Lumplahangwittaya School under the Office Of Secondary Educational Service Area Office 23. Using an action research form which has four steps in the implementation process. There are planning, operations, observations and reflection. By performing two cycles. The target groups who are co-researchers have 8 people and the people who give data in the study have 84 people. Tools used in the research include the questionnaire, interview, test, evaluation and observation. The statistics used in data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, and the effectiveness index.

The results of this research were as follows:       

1) The conditions and problems for producting multimedia learning materials by the teachers of Lumplahangwittaya School under the Office Of Secondary Educational Service Area Office 23. Found that the side of teacher's condition. Producing in multimedia learning materials were in the low level. Lack of skills, experience, knowledge and understanding of the principles of media production and can’t be used in the teaching and learning activities. They also found that Basic understanding and ability to use Adobe  Captivate. Create media at a low level. Resulting can’t take the work in producing multimedia learning materials in academic performance for a given position higher. Most teachers have a deep understanding in the meaning and usefulness of multimedia materials. In the side of problems found that teachers have problems in producing multimedia materials is in the high level. Due to lack of skills, experience, knowledge, understanding and ability to use  Adobe Captivate. So They can't be producing the multimedia materials and used in teaching activities.

2) The guideline in development for teachers's potential in producing multimedia learning materials of Lumplahangwittaya School under the Office Of Secondary Educational Service Area Office 23, consists of the workshop, practice, producing and use multimedia materials and supervision.

3) The result of developing teacher's potential in development multimedia materials of Lumplahangwittaya School under the Office Of Secondary Educational Service Area Office 23 both two cycles found that the workshop, practice, producing and use  multimedia materials and supervision. Which can encourage teachers for produce the quality multimedia materials. And can be used in teaching activities in 8 groups learning. As a result, children have the satisfaction of learning by using multimedia materials as well.

คำสำคัญ

การพัฒนาศักยภาพครู, การผลิตสื่อมัลติมีเดีย

Keyword

Development of teacher’s potential, Producing multimedia learning materials

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093