บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลการดำเนินงาน เปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการดำเนินงาน ศึกษาความพึงพอใจ เปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และเพื่อหาแนวทางพัฒนาการจัดการศึกษาปฐมวัย ตามมาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดสกลนคร โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 38 คน ครูผู้ดูแลเด็ก จำนวน 76 คน ผู้ปกครองเด็ก จำนวน 114 คน นักวิชาการศึกษา จำนวน 38 คน และคณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 114 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามและแบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละและค่าสถิติ F – test
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการดำเนินงานการจัดการศึกษาปฐมวัย ตามมาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดสกลนคร โดยรวม อยู่ในระดับ ปานกลาง เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ด้านการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และด้านอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย มีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก ขณะที่ด้านอื่นๆ อยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือ ด้านบุคลากร ด้านวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตร ด้านการมีส่วนร่วมและการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน และด้านส่งเสริมเครือข่ายการพัฒนาเด็กปฐมวัย
2. ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาปฐมวัยที่มีสถานภาพ อายุ อาชีพ และการศึกษาแตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการดำเนินงานในการจัดการศึกษาปฐมวัย ตามมาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดสกลนครโดยรวม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนผู้ที่มีรายได้ ต่างกัน มีความคิดเห็น โดยรวม ไม่แตกต่างกัน
3. ความพึงพอใจในการจัดการศึกษาปฐมวัยตามมาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดสกลนคร โดยรวม อยู่ในระดับ มาก เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า อยู่ในระดับปานกลาง มีเพียง 1 ข้อ คือ ด้านส่งเสริมเครือข่ายการพัฒนาเด็กปฐมวัย ส่วนด้านอื่นๆ อยู่ในระดับ มาก
โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือ ด้านบุคลากร ด้านการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ด้านอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย ด้านการมีส่วนร่วมและการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน และด้านวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตร ตามลำดับ
4. ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดสกลนคร ที่มีอาชีพ ต่างกัน มีความพึงพอใจในการจัดการศึกษาปฐมวัยตามมาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดสกลนคร โดยรวม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนผู้ที่มีสถานภาพ อายุ รายได้ และการศึกษา ต่างกันมีความคิดเห็น โดยรวม ไม่แตกต่างกัน
5. แนวทางพัฒนาการจัดการศึกษาปฐมวัย ตามมาตรฐานการดำเนินงาน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดสกลนคร จากผลการวิจัยพบว่า ควรมีการพัฒนาใน 3 ด้าน คือ มาตรฐานที่ 4 ด้านวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตร มาตรฐานที่ 5 ด้านการมีส่วนร่วมและการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน และมาตรฐานที่ 6 ด้านส่งเสริมเครือข่ายการพัฒนาเด็กปฐมวัย
Abstract
ABSTRACT
This study aimed to investigate the result of operations, compare the opinion about operations, examine and compare about the satisfaction of those concerned and find out guidelines for developing educational management on early childhood according to the standards of operation on the child development centers through the survey research. Samples consisted of 38 center administrators, 76 child care teachers, 114 parents/guardians, 38 educators as well as 114 members of the boards of the centers. Tools used were composed of a questionnaire and an assessment. Statistics employed comprised frequency, mean, standard deviation, percentage and F-test. The findings of the study were as follows:
1. The result of educational operation in early childhood based on the standards of child development centers under the Sub-district Administration Organizations in Sakon Nakhon were at the moderate level as a whole. When each aspect was considered, it was found that the aspects on child development center management and physical plants, environment and safety were at the high level. The rest were at the moderate level ranging from those aspects with high mean to low mean respectively: personnel, academic affairs, and curricular activities, participation and support from every sector as well as network enhancement in developing early childhood education.
2. The participants classified the status, age, occupation and education reported different opinions on the effects of operations of educational management on early childhood based on the standards of operation in the child development centers under the Sub-district Administration Organizations in Sakon Nakhon. The opinions were as a whole statistically significant at the 0.01 level. In terms of the participants’ income, the overall opinions were not different.
3. Satisfaction on education management in early childhood accordance with the standards of operation in the child development centers under the Sub-district Administration Organizations in Sakon Nakhon, as a whole was at a high level. Considering in each aspect, the promotion of early childhood development network was at a moderate level. The other aspects could be illustrated. (by degree) By sort from the most mean to as follows; 1) Personnel 2) Management of Child Development Centers. 3) Buildings, environment and safety, 4) Participation and support from every sector, 5) Academic affairs, and curricular activities.
4. Those concerned in educational management of the child development centers with different occupation, reported their satisfaction in managing early childhood education based on the standards of child development centers under the Sub-district Administration Organizations in Sakon Nakhon at a statistically significant difference of the 0.01 level. The researcher also found that as a whole the level of opinions, among participants with different demographic profiles (status, age, income and education), was not different.
5. The guidelines of developing early childhood education management based on the standards of the child development center application under the Sub-district Administration Organizations in Sakon Nakhon found that the following aspects should be developed: Standard 4- academic affairs and curricular activities; Standard 5 - participation and support from every sector; Standard 6- promotion of early childhood development network.
คำสำคัญ
มาตรฐานการดำเนินงาน, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กKeyword
Early Childhood Education Management, Child Development Center (s)กำลังออนไลน์: 26
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 1,621
จำนวนครั้งการเข้าชม: 62,898
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093