บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสภาพและความต้องการพัฒนาตนเองของครู กศน.ตำบล สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสกลนคร จำแนกตามเพศ อายุ และประสบการณ์ในการทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครู กศน.ตำบล สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสกลนคร ปีการศึกษา 2556 ซึ่งมีจำนวน 140 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าและแบบสอบถามแบบการจัดอันดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้ค่าที (t-test ชนิด Independent Samples) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) และทำการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีการของ เชฟเฟ่ (Sheffe’s Method)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ครู กศน.ตำบล มีสภาพการพัฒนาตนเอง โดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. ครู กศน.ตำบล มีความต้องการพัฒนาตนเอง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
3. สภาพการพัฒนาตนเองของครู กศน.ตำบล จำแนกตามสถานภาพ ดังนี้ ครู กศน.ตำบล ที่มีเพศต่างกัน มีสภาพการพัฒนาตนเองโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน
3.1 ครู กศน.ตำบล ที่มีอายุต่างกัน มีสภาพการพัฒนาตนเองโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า การพัฒนาความรู้ และการพัฒนาทักษะ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนการพัฒนาเจตคติ ไม่แตกต่างกัน
3.2 ครู กศน.ตำบล ที่มีเประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน มีสภาพการพัฒนาตนเองโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน
4. ความต้องการพัฒนาตนเองของครู กศน.ตำบล จำแนกตามสถานภาพ ดังนี้
4.1 ครู กศน.ตำบล ที่มีเพศต่างกัน มีความต้องการพัฒนาตนเองโดยรวมและรายด้านไม่
แตกต่างกัน
4.2 ครู กศน.ตำบล ที่มีอายุต่างกัน มีความต้องการพัฒนาตนเองโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน
4.3 ครู กศน.ตำบล ที่มีประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน มีความต้องการพัฒนาตนเองโดยรวม ไม่แตกต่างกัน
5. ครู กศน.ตำบล มีความต้องการอันดับวิธีการพัฒนาตนเองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 กิจกรรมที่ต้องการพัฒนาเรียงจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก คือ การสำรวจและประเมินตนเอง การเข้ารับการฝึกอบรม การศึกษาต่อ และอันดับสุดท้าย คือ การเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์กรวิชาชีพ
6. แนวทางสนับสนุนและส่งเสริมวิธีการพัฒนาตนเองของครู กศน.ตำบล สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสกลนคร ซึ่งได้แก่ การสำรวจและประเมินตนเอง การเข้ารับการฝึกอบรม การศึกษาต่อ การศึกษาเอกสารและคู่มือการปฏิบัติงาน การศึกษาดูงาน
Abstract
ABSTRACT
The purpose of this research was to investigate and compare self-development of the teachers at Centers of Sub-district Non-Formal and Informal Education (NFE) under the Office of Sakon Nakghon Provincial Non-Formal and Informal Education. Classified by their sex, age and work experience. The samples of this study consisted of 140 NFE teachers at Centers of Sub-district Non-Formal and Informal Education under the Office of Sakon Nakhon Provincial Non-Formal and Informal Education in the academic year 2013 using the multi-stage random sampling technique. The research tools for collecting data were a rating scale questionnaire and a ranking questionnaire. The statistics employed were percentage. mean, standard deviation, t-test (Independent Samples), One-way ANOVA and Scheffe’s Method.
The findings of this study were as follows:
1. The states of self – development, in general, among the sub-district NFE teachers were at the high level.
2. The needs of self – development, as a whole, among the sub-district NFE teachers were at the highest level.
3. The states of self – development among the sub-district NFE teachers classified by status revealed that:
3.1 In general and in particular, there were no differences on the states of self–development among the sub-district NFE teachers with different sexes.
3.2 There was a difference, as a whole, on the states of self- development of the sub-district NFE teachers with different ages at the .01 level of significance. When each aspect was considered, it was found that there were significant differences in knowledge development and skill development at the .01 level. In case of attitude development, there were no differences.
3.3 In general, there were no differences on the states of self– development among the sub-district NFE teachers with different work experience as a whole and in each aspect.
4. The needs of self – development of the sub-district NFE tteachers classified by status indicated that:
4.1 There were no differences on the needs of self-development among the sub-district NFE teachers with different genders.
4.2 The needs of self–development of the sub-district NFE teachers showed no differences in general.
4.3 There were no differences on the needs of self-development, as a whole, among the sub-district NFE teachers with different work experience.
5. The needs on the priority of self–development among the sub- district NFE teachers differed significantly at the .01 level.
6. The researcher also proposed appropriate guidelines to support and promote the means of self – development among the sub-district NFE teachers under the Office of Sakon Nakhon Provincial Non-Formal and Informal Education including self-assessment and evaluation, attendance on training sessions, further study, review of literature and manuals, as well as study tours.
คำสำคัญ
การพัฒนาตนเอง, ความต้องการพัฒนาตนเองKeyword
Self-Development, Needs for Self-Developmentกำลังออนไลน์: 88
วันนี้: 1,887
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 57,086
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093