...
...
เผยแพร่: 15 ต.ค. 2559
หน้า: 191-199
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 263
Download: 176
Download PDF
รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการพัฒนาตนของผู้บริหารสถานศึกษา ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
A Linear Structural Relationship Model of Factors Influencing Self - Development Behavior of Principal in School Under the Secondary Educational Service Area Office in the Northeastern Region
ผู้แต่ง
จีรศักดิ์ ยายืน, สมศักดิ์ สีดากุลฤทธิ์, ประยุทธ ชูสอน

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและทดสอบรูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการพัฒนาตนของผู้บริหารสถานศึกษาและ 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อมและอิทธิพลรวมของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการพัฒนาตนของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีการศึกษา 2557 จำนวน 900 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์ โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้ ค่าความโด่ง ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและการวิเคราะห์รูปแบบสมการโครงสร้าง 

ผลการวิจัย พบว่า

1. รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการพัฒนาตนของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยรูปแบบสุดท้ายมีค่าสถิติ c2 = 13.28, df =38, p-value = 0.00, RMSEA = 0.00, SRMR = 0.01, GFI=1.00, AGFI = 0.99, CN= 4,164.99 smallest standardized residual = -1.55 และ largest standardized residual=1.52. ซึ่งปัจจัยที่เป็นตัวพยากรณ์ในรูปแบบที่พัฒนาขึ้นอธิบายความแปรปรวนพฤติกรรมการพัฒนาตนได้ร้อยละ 52,

2. ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อมและอิทธิพลรวมต่อพฤติกรรมการพัฒนาตนของผู้บริหารสถานศึกษา ดังนี้ คือ

2.1 ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมการพัฒนาตนของผู้บริหารสถานศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 คือการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การและเจตคติต่อพฤติกรรมการพัฒนาตนซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลมาตรฐานเท่ากับ 0.36 และ 0.32 ตามลำดับ

2.2 ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อพฤติกรรมการพัฒนาตนของผู้บริหารสถานศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 คือ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลมาตรฐานเท่ากับ 0.21 2.3 ปัจจัยที่มีอิทธิพลรวมต่อพฤติกรรมการพัฒนาตนของผู้บริหารสถานศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 คือ การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ เจตคติต่อพฤติกรรมการพัฒนาตน การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงและการรับรู้ความสามารถทางการบริหารสถานศึกษา มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลมาตรฐานเท่ากับ 0.36, 0.32, 0.21 และ 0.18 ตามลำดับ

Abstract

ABSTRACT

This research was designed 1) to develop and test a linear structural relationship model of the factors influencing self-development behavior of principal in schools, and 2) to examine the direct, indirect and total effects on self-development behavior of the principals.  The stratified random sampling was applied for 900 principals in the schools under the Secondary Educational Service Area Offices in the Northeastern region. A 5-point rating scale questionnaire was used for data collection which earned data were analyzed to obtain  frequency, percent, mean score, standard deviation, skewness and kurtosis, Pearson’s product moment correlation coefficient, confirmatory factor analysis and structural model analysis.

The findings of this study were as follows :

1. A linear structural relationship model of factors influencing the self-development behavior was fit to the empirical data. The final model showed the statistics as follows : c 2 = 13.28, df = 0.38, p-value = 0.99, RMSEA = 0.00, SRMR = 0.01, GFI = 1.00, AGFI = 0.99, CN = 4164.99 smallest standardized residual = 1.55 and the largest standardized residual = 1.5. Fifty-two percent of the variance of self-development behavior was explained by the predictor factors in this model.

2. The direct, indirect and total effects on self-development behavior were :

2.1 The direct effects on self-development behavior with the statistically significance at level .01 were perceived organizational support (β = 0.36) and attitude towards self-development behavior (β = 0.32) respectively.

 2.2 The indirect effect on self-development behavior with statistically significance at .01 level was the subjective norm (β = 0.21) with the statistical significance at .01 level.

2.3 Total effects on self-development behavior with statistically significance at .01 level were perceived organizational support (β = 0.36), attitude toward self-development behavior (β = 0.32) subjective norm (β = 0.21) and principal efficacy (β = 0.18) respectively.

คำสำคัญ

รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น, พฤติกรรมการพัฒนาตน

Keyword

a linear structural relationship model, self-development behavior

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093