...
...
เผยแพร่: 15 เม.ย. 2560
หน้า: 186-195
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 309
Download: 181
Download PDF
ปัจจัยการบริหารงานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22
Factors of Administration affecting the effectiveness of Academic Administration in Schools under the office of Secondary Educational Service Area 22
ผู้แต่ง
สอนนารินทร์ ปัททุม, ศิกานต์ เพียรธัญญกรณ์, วรกัญญาพิไล แกระหัน

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์และอำนาจพยากรณ์ ระหว่างปัจจัยการบริหารงานกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้างานวิชาการ ครูผู้สอน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และหาแนวทางพัฒนาปัจจัยการบริหารงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้างานวิชาการ ครูผู้สอน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2259 จำนวน 359 คน โดยใช้การคำนวณจากตารางของเครจซี่ และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้เป็นมาตราส่วนประมาณค่าประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วย แบบสอบถามปัจจัยการบริหารงาน มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.47 - 0.89 มีค่าความเชื่อมั่น 0.97 และแบบสอบถามประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.33 - 0.90 มีค่าความเชื่อมั่น 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (%) ค่าคะแนนเฉลี่ย (\bar{x}) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) การวิเคราะห์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson's Product Moment Correlation) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Stepwise Multiple Regression Analysis)

ผลการวิจัย พบว่า

1. ปัจจัยการบริหารงาน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้างานวิชาการ ครูผู้สอน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก

2. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้างานวิชาการ ครูผู้สอน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก

3. ปัจจัยการบริหารงาน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้างานวิชาการ ครูผู้สอน ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดของโรงเรียน และจังหวัดที่ตั้งของโรงเรียน พบว่า

4. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้างานวิชาการ ครูผู้สอน ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดของโรงเรียน และจังหวัดที่ตั้งของโรงเรียน พบว่า

5. ปัจจัยการบริหารงานกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน มีความสัมพันธ์เชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

6. ปัจจัยการบริหารงาน ด้านสภาพแวดล้อมของโรงเรียน ด้านผู้บริหารโรงเรียน ด้านครูผู้สอน ด้านผู้ปกครองและชุมชน ด้านงบประมาณ มีอำนาจพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 - .01

Abstract

ABSTRACT

The purposes of this research were to examine, compare, find out the relationship and the predictive power between administrative factors and the effectiveness of academic administration in schools under the Office of the Secondary Educational Service Area 22, and establish the guidelines for developing administrative factors. The samples, determined using the Krejcie and Morgan’s table, were 359 people comprising school administrators, heads of academic administration, teachers and chairmen of basic education school committee. The instrument used for collecting data was a set of 5 - level rating scale questionnaires. Statistics employed to analyze data were percentage, mean, standard deviation, One - Way ANOVA, Pearson's Product Moment Correlation, and Stepwise Multiple Regression Analysis.

The findings were as follows:

1. The administration factors as perceived by school administrators, heads of academic administration, teachers and chairmen of basic education school committee, as a whole were at a high level.

2. The effectiveness of academic administration as perceived by the participants, as a whole was at a high level.

3. The administration factors as perceived by the participants, classified by job position, school size and province of school location revealed that: 

4. The effectiveness of academic administration as perceived by the participants classified by jobposition, school size, and province of school location revealed that

5. The administrative factors and the effectiveness of school academic administration had positive relationship at the .01 level of significance.

6. The administrative factors in terms of school environment, school administrators, teachers, parents and communities, and budgets had a predictive power on the effectiveness of school academic administration at a .05 -.01 level of significance.

คำสำคัญ

ปัจจัยการบริหารงาน, ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน

Keyword

Factors of Administration, the effectiveness of Academic Administration in Schools

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093