...
...
เผยแพร่: 15 เม.ย. 2560
หน้า: 176-185
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 375
Download: 191
Download PDF
ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามนโยบายการพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2
Administrative Factors Affecting the Implementation to the Student Literacy Policy in Schools under the Office of Nakhon phanom Primary Educational Service Area 2
ผู้แต่ง
ศรีแพ ผลุบญ, ศิกานต์ เพียรธัญญกรณ์, ระภีพรรณ ร้อยพิลา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ หาอำนาจพยากรณ์ และหาแนวทางพัฒนาปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามนโยบายการพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนในโรงเรียน  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 351 คน ประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 93 คน และครูผู้สอน จำนวน 258 คน จาก 93 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมี 2 ตอน คือ ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามนโยบายการพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.491 – 0.849 ค่าความเชื่อมั่น 0.962 และการดำเนินงานตามนโยบายการพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ มีค่าอยู่ระหว่าง 0.464 – 1.000 ค่าความเชื่อมั่น 0.936 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน

ผลการวิจัย พบว่า

1. ปัจจัยการบริหารและการดำเนินงานตามนโยบายการพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับมาก

2. ผู้บริหารและครูผู้สอนมีความคิดเห็นต่อปัจจัยการบริหาร โดยรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนการดำเนินงานตามนโยบายการพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ โดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. ผู้บริหารและครูผู้สอนที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน มีความคิดเห็นต่อปัจจัยการบริหารและการดำเนินงานตามนโยบายการพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ โดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 ตามลำดับ

4. ปัจจัยการบริหารกับการดำเนินงานตามนโยบายการพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนในโรงเรียน โดยรวมมีความสัมพันธ์กันทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

5. ตัวแปรปัจจัยการบริหาร จำนวน 7 ด้าน พบว่ามี จำนวน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการควบคุม ประเมินผลและการกระตุ้นส่งเสริม ด้านภาวะผู้นำ ด้านเจตคติของผู้ปฏิบัติงานตามนโยบาย และด้านการติดต่อสื่อสาร ที่สามารถพยากรณ์ การดำเนินงานตามนโยบายการพัฒนาการอ่านออกเขียนได้โดยรวม ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01      

6. ปัจจัยการบริหาร ที่ควรได้รับการส่งเสริมเพื่อหาแนวทางพัฒนา จำนวน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการควบคุม ประเมินผลและการกระตุ้นส่งเสริม ด้านภาวะผู้นำ ด้านเจตคติของผู้ปฏิบัติงานตามนโยบาย และด้านการติดต่อสื่อสาร โดยได้จากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 10 คน

Abstract

ABSTRACT

The purposes of this study were to compare, find out the relationship, predicting power and find the guidelines development of administrative factors affecting the implementation to the student literacy policy in schools.The sample group were the teachers in school under the office of Nakhonphanom Primary Educational Service Area 2 in academic year 2015, amount 351, consists 93 administrators and 258 teachers from 93 schools.The instrument used for five rating scale of questionnaire, with 2 parts were administrative factors affecting the implementation to the student literacy policy in schools. The discriminative power between 0.491 – 0.849, the reliability was at 0.962 and the implementation to the student literacy policy in schools the discriminative power between 0.464 – 1.000, the reliability was at 0.936. The statistic for analyze were percentage, mean, standard deviation, Pearson’s Product Moment Correlation, t-test (Independent Samples), One – Way ANOVA (F-test) and Stepwise Multiple Regression Analysis

The findings of this study were as follows :

1. The administrative factors and the implementation to the student literacy policy in school according to opinions of administrators and teachers, as a whole, were at a high level.

2. The administrators and teachers had opinion to the administrative factors were not different as for the implementation to the student literacy policy were different with the statistical significance .05 level.  

3. The administrators and teachers that working in different school sizes had opinion to the administrative factors and the implementation to the student literacy policy in schools were different with the statistical significance at .01 and .05 level respectively.

4. The administrative factors and the implementation to the student literacy policy in schools had positive correlation with the statistical significance at .01 level.

5. The variable of the administrative factors 7 aspects found that 4 aspects which are the controlling of evaluation and encouragement, the leadership, the employee attitude of implementation to the policy and the communications that could predict the implementation to the student literacy policy in schools with the statistical significance .01 level.

6. The administrative factors should be encourage for finding the development for 4 aspects which are the controlling of evaluation and encouragement, the employee attitude of implementation to the policy and the communications. Using by 10 expert from interview.  

คำสำคัญ

ปัจจัยการบริหาร, นโยบายการพัฒนาการอ่านออกเขียนได้

Keyword

Administrative Factors, Literacy Policy

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093