...
...
เผยแพร่: 15 เม.ย. 2560
หน้า: 136-145
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 371
Download: 190
Download PDF
การพัฒนาศักยภาพครูในการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนนางัวราษฎร์รังสรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22
The Development of Teachers’ Potential in classroom research at Nanguaratrungsun school Under the office of the Secondary Educational service Area 22
ผู้แต่ง
พาที แสนสี, ธวัชชัย ไพใหล, ละม้าย กิตติพร

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาในการทำวิจัยในชั้นเรียน  2) หาแนวทางพัฒนาศักยภาพครูในการทำวิจัยในชั้นเรียน 3) ติดตามผลการพัฒนาศักยภาพครูในการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนนางัวราษฎร์รังสรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ดำเนินการ 2 วงรอบ แต่ละวงรอบประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) การวางแผน (Planning) 2) การปฏิบัติการ (Action) 3) การสังเกตการณ์ (Observation) และ 4) การสะท้อนกลับ (Reflection) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้วิจัย 1 และผู้ร่วมวิจัย 8 คน และ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเพิ่มเติม จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ แบบสังเกต และแบบประเมินที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยศึกษาแนวคิดจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละความก้าวหน้า การตรวจสอบข้อมูลเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis) นำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์

ผลการวิจัย พบว่า

1. ผลการศึกษาสภาพ และปัญหาการทำวิจัยในชั้นเรียนครูในโรงเรียนนางัวราษฎร์รังสรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 จากการศึกษาปรากฏผลดังนี้

1.1 สภาพการทำวิจัยในชั้นเรียน พบว่า ครูผ่านการประชุมเชิงปฏิบัติการและทำการวิจัยในชั้นเรียนจำนวนน้อย ไม่มีการเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียนแบบเป็นทางการ 5 บท ผู้บริหารมีการสั่งการให้มีการทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อรองรับการประเมินความดีความชอบ แต่ไม่มีการนิเทศ กำกับ ติดตามการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียน และขาดงบประมาณสนับสนุนในการทำวิจัยในชั้นเรียน เอกสารสำหรับการวิจัยในชั้นเรียนมีจำนวนน้อย ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีความเร็วในการประมวลผลช้า

1.2 ปัญหาการทำวิจัยในชั้นเรียน พบว่า ครูขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิจัยใจในชั้นเรียน ครูผู้สอนขาดทักษะในการสืบค้นผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่เกี่ยวข้องกับการทำวิจัยในชั้นเรียน นโยบายเกี่ยวกับการทำวิจัยในชั้นเรียนไม่ชัดเจน โรงเรียนมีเอกสารที่เกี่ยวข้องในการทำวิจัยในชั้นเรียนไม่เพียงพอ และขาดครูที่มีความเชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษา แนะนำ และช่วยเหลือในการทำวิจัยในชั้นเรียน

2. แนวทางการพัฒนาศักยภาพครูในการทำวิจัยในชั้นเรียนโรงเรียนนางัวราษฎร์รังสรรค์ วงรอบที่ 1 ประกอบด้วย 3 แนวทาง ได้แก่ การประชุมเชิงปฏิบัติการ การปฏิบัติการพัฒนาตนเอง และการนิเทศภายใน และวงรอบที่ 2 ประกอบด้วย 2 แนวทาง ได้แก่ การปฏิบัติการพัฒนาตนเอง การนิเทศแบบให้คำชี้แนะ

3. ผลการพัฒนาศักยภาพครูในการทำวิจัยในชั้นเรียนโรงเรียนนางัวราษฎร์รังสรรค์ ปรากฏผลดังนี้

3.1 กลุ่มผู้วิจัยมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำวิจัยในชั้นเรียนเพิ่มมากขึ้น ก่อนการประชุมเชิงปฏิบัติการอยู่ในระดับค่อนข้างดี (ร้อยละ 62.50) หลังการประชุมเชิงปฏิบัติการอยู่ในระดับดีมาก (ร้อยละ 91.25)

3.2 กลุ่มผู้วิจัยสามารถทำวิจัยในชั้นเรียนได้คนละ 1 เรื่อง รวมทั้งสิ้น 9 เรื่อง ระดับคุณภาพของงานวิจัยอยู่ในระดับดี ซึ่งแสดงถึงการมีศักยภาพในการทำวิจัยในชั้นเรียนได้ครบทั้ง 5 ขั้นตอน

Abstract

ABSTRACT

The purposes of this research were 1) to investigate the conditions and problems of teachers in conducting classroom research, 2) to establish guidelines for developing teachers’ competence in conducting classroom research, and 3) to follow up the development of teachers’ competence in conducting classroom research at Nangauratrungsun School under the Office of the Secondary Educational Service Area 22. The research employed two spirals of a four-stage action research process of planning, action, observation and reflection. The targeted participants consisted of a researcher, eight co-researchers and 35 informants. The research instruments were a set of questionnaires, a form of interview, a test, a form of observation, and a form of assessment developed by the researcher, based on existing related documents and research. The statistics applied for analyzing data were mean, percentage, standard deviation and percentage of progress. The qualitative data was analyzed through content analysis and descriptive presentation.

The findings of this research were as follows:

1. The conditions and problems in conducting classroom research at Nangauratrungsun School under the Office of the Secondary Educational Service Area 22 revealed that:

1.1 Regarding the conditions in conducting classroom research, a few teachers have been trained and conducted classroom research. Hence teachers did not write a - five chapter research. The administrators encouraged teachers to conduct classroom research as being part of promotion assessment. However, supervision, control and follow - up operations were not implemented. There were also issues with limited budget allocation, inadequate related documents on classroom research, and low internet speeds.

1.2 In terms of the problems, the teachers lacked knowledge, understanding and internet search skills concerning classroom research. The schools did not provide clearer policy, adequate resources and teacher professional expertise to provide advice and assistance in respect to classroom research

2. The proposed guidelines for developing teacher’s competence in conducting classroom research in the first spiral comprised three sessions: a workshop, self- development and coaching supervision. In the second spiral, the research repeated a self- development and coaching supervision.

3. The effects after the development of teachers’ competence on classroom research were:

3.1 After the implementation, the research group reported individual better knowledge and understanding on classroom research at a very good level (91.25 percent), compared to the pre - intervention mean scores, which were at a relatively good level (62.50 percent).

3.2 The researcher group produced one classroom research paper, making a total nine titles at a good level. This could be concluded that the teachers demonstrated their full potential in writing a classroom research covering all five steps.

คำสำคัญ

การพัฒนาครู, ศักยภาพครูในทำการวิจัยในชั้นเรียน

Keyword

Teachers’ Competence, Classroom Research

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093