บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 และ 2) เปรียบเทียบการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ และขนาดโรงเรียน ตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารและครู ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 346 คน ประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 30 คน และครู จำนวน 316 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐาน ได้แก่ ทดสอบค่าที (t-test) สถิติทดสอบค่าเอฟ (F-test)
ผลการวิจัย พบว่า
1. การบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการประเมินผล รองลงมา คือ ด้านการเตรียมและวางแผนการดำเนินงาน ด้านการดำเนินงานตามแผน ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการนิเทศ กำกับ ติดตาม
2. ผู้บริหารและครู ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 ที่มีตำแหน่งหน้าที่ต่างกันและโรงเรียนที่มีขนาดต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ .05
Abstract
ABSTRACT
The purpose of this research were: 1) to study the management of care and support students of school under the secondary education service area office 19, 2) to compare the administrators and teachers of school under the secondary education service area office 19. They were classified by position and school size. Samples were the administrations and teacher of school under the secondary education service area office 19 academic year 2015 of 346 people. Include 30 administrations and 316 teachers used to collect data questionnaire rating scale (Rating Scale) 5 of the faith. It's all the same questionnaire. The statistics used for data analysis were frequency, percentage, average, standard deviation. The statistics used to test hypotheses include t test (t-test), F test (F-test).
The results were as follows:
1. the administrative management system overseeing the students of the school in the Secondary Educational Service Area Office 19 overall at the highest level. The highest evaluation was action side. The subordinate evaluation followed by preparation planning and doing. The lowest average followed by checking.
2. administrators and teachers of the school in the Secondary Educational Service Area Office 19 with different positions and school sizes opinions about the management system helping students were not different at .05 significant levels.
คำสำคัญ
ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน, การบริหารจัดการKeyword
Student advising and Counselling system, Managementกำลังออนไลน์: 188
วันนี้: 1,294
เมื่อวานนี้: 1,743
จำนวนครั้งการเข้าชม: 14,880
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093