...
...
เผยแพร่: 15 เม.ย. 2560
หน้า: 89-106
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 813
Download: 222
Download PDF
การเสริมสร้างพลังอำนาจการทำงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2
Teachers' Job Empowerment in Schools Under Nongbualamphu Primary Educational Service Area Office 2
ผู้แต่ง
ภูมิพัฒน์ เสริมสุข, สุชาติ บางวิเศษ, กิติศักดิ์ เสนานุช

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการเสริมสร้างพลังอำนาจของครูในโรงเรียนและ 2) เพื่อเปรียบเทียบการเสริมสร้างพลังอำนาจของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 จำแนกตาม ตำแหน่งหน้าที่ ประสบการณ์การทำงาน และขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 จำนวน 302 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่ามีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.991 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t-test) สถิติทดสอบเอฟ (F-test) และทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe)

ผลการวิจัย พบว่า

1. การเสริมสร้างพลังอำนาจการทำงานของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ความผูกพันต่อโรงเรียน รองลงมา คือ ความพึงพอใจในงาน ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ การทำงานเป็นทีม

2. การเปรียบเทียบการเสริมสร้างพลังอำนาจการทำงานของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ ประสบการณ์การทำงาน และขนาดโรงเรียน

2.1 การเสริมสร้างพลังอำนาจการทำงานของครูในโรงเรียน ที่มีตำแหน่งหน้าที่ต่างกันโดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

2.2 การเสริมสร้างพลังอำนาจการทำงานของครูในโรงเรียนที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกันโดยรวมไม่แตกต่างกัน อย่างมีระดับนัยสำคัญที่ .05 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการรับรู้ความสามารถของครู แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีประสบการณ์การทำงานมากกว่า 10 ปี มีระดับการเสริมสร้างพลังอำนาจสูงกว่าผู้ตอบแบบสอบถามที่มีประสบการณ์การทำงานระหว่าง 5 – 10 ปี ส่วนคู่อื่นไม่แตกต่างกัน

2.3 การเสริมสร้างพลังอำนาจการทำงานของครูในโรงเรียนที่มีขนาดโรงเรียนต่างกัน โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านความก้าวหน้าในวิชาชีพครู ด้านการทำงานเป็นทีม และด้านความพึงพอใจในงาน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยที่ด้านความก้าวหน้าในวิชาชีพครู ผู้ตอบแบบสอบถามในโรงเรียนขนาดกลาง มีระดับการเสริมสร้างพลังอำนาจสูงกว่าผู้ตอบแบบสอบถามที่อยู่ในโรงเรียนขนาดใหญ่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้านการทำงานเป็นทีม ผู้ตอบแบบสอบถามที่อยู่ในโรงเรียนขนาดเล็ก มีระดับการเสริมสร้างพลังอำนาจสูงกว่าผู้ตอบแบบสอบถามที่อยู่โรงเรียนขนาดใหญ่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผู้ตอบแบบสอบถามที่อยู่ในโรงเรียนขนาดกลาง มีระดับการเสริมสร้างพลังอำนาจสูงกว่าผู้ตอบแบบสอบถามที่อยู่โรงเรียนขนาดใหญ่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และด้านความพึงพอใจในงาน ผู้ตอบแบบสอบถามที่อยู่ในโรงเรียนขนาดเล็กมีระดับการเสริมสร้างพลังสูงกว่าผู้ตอบแบบสอบถามที่อยู่ในโรงเรียนขนาดใหญ่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

Abstract

ABSTRACT

The objective of this research were : 1) to study the level of teachers' job empowerment in schools, and 2) to compare teachers' job empowerment in schools. Under Nongbualamphu Primary Educational Service Area Office 2, A classified by position, work experiences and school sizes. The research sameples consisted of 302 school director and teachers in schools Under Nongbualamphu Primary Educational Service Area Office 2. The data were collected using a questionnaire. A rating scale of reliability at 0.991. After that, researcher compute and analyzed these data by using frequency, percentage, mean, standard deviation, t - test and F - test. And Scheffe's test .

The findings rerealed as follow :

1. Reinforcing empowered teacher by teachers who work in Nongbualamphu was as a whole at a high level. In an individual aspect, it rereal that commitment to school was the most frequently. Next was job satification, where as teamwork was in the lowest frequency.

2. The comparison of reinforce empowered teachers in was identify into position work experience and school size.

2.1 The overall reinforcing empowered teachers who had different position was different at the .01 level of significance.

2.2 The overall reinforcing empowered teachers who had different work experience was not result different at the .05 level of significance. In dividable aspect, the result revealed that teacher self-efficacy was different at the .05 level of significance. How ever, the data analysis is shown that the subjects in this study who has work experience were than 10 years have higher empowered than the subjects who have work experience between 5-10 years. Other subjects was not different.

2.3 Overall school size of reinforcing empowered teacher was different at .05 level of significant. In each aspect, there are different result in career progression in teaching, teamwork and job satification at level .01 of Significant. In the career progression in teaching, the subjects who work in medium school have higher empowerment more than subjects who work in large school at .01 level of significant. In spact of teamwork, the subject who work in small schools has more higher empowerment than the subject who work inlage school at the .05 level of significant, where as, subjects in medium school have higher empowerment than subject in large school. Finally, in aspect of job satification, the subjects in small school have higher empowerment than subjects in large school at .05 level of significant.

คำสำคัญ

การเสริมสร้างพลังอำนาจ

Keyword

Empowerment

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093