...
...
เผยแพร่: 15 เม.ย. 2560
หน้า: 58-67
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 385
Download: 187
Download PDF
แนวทางการพัฒนาลักษณะความเป็นครูที่ดีของท้องถิ่น โดยกระบวนการ Six Sigma
Good Local Teachers' Characteristics Development Guideline with Six Sigma
ผู้แต่ง
กฤษฎิ์ ยืนสุข, ศิริ ถีอาสนา, สรายุทธ กันหลง

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาและคู่มือการพัฒนาลักษณะความเป็นครูที่ดีของท้องถิ่นโดยกระบวนการ Six Sigma ที่เหมาะสมกับบริบท มี 3 ระยะ คือ 1) ศึกษากรอบสาระของลักษณะความเป็นครูที่ดีของท้องถิ่น 2) กำหนดแนวทางและคู่มือการพัฒนาลักษณะความเป็นครูที่ดีของท้องถิ่นโดยกระบวนการ Six Sigma และ 3) ยืนยันแนวทางและประเมินคู่มือการพัฒนาลักษณะความเป็นครูที่ดีของท้องถิ่นโดยกระบวนการ Six Sigma โดยได้ข้อมูลจากผู้ผลิต ผู้ใช้ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและนักศึกษาในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ได้มาจากการสัมภาษณ์เชิงลึก 18 คน จากการสำรวจ 50 คน คณะทำงาน 5 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน

ผลการวิจัย ระยะที่ 1 ศึกษาวิเคราะห์และสังเคราะห์เอกสาร (Documentary Analysis and Synthesis) สัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interviews) และการศึกษาเชิงสำรวจ (Survey Study) ได้กรอบสาระของลักษณะความเป็นครูที่ดีของท้องถิ่น 3 ด้าน คือ 1) ด้านความรู้ 2) ด้านความสามารถ และ 3) ด้านคุณธรรมจริยธรรม ระยะที่ 2 ผู้วิจัยและกลุ่มคณะทำงาน (Workshop) ใช้กระบวนการ Six Sigma ประกอบด้วย กำหนดกรอบ ยืนยันกรอบ กำหนดประเด็นเพื่อจัดทำแนวทางการพัฒนาลักษณะความเป็นครูที่ดีของท้องถิ่น แปลงลักษณะความเป็นครูที่ดีของท้องถิ่น (ประเด็นย่อย) ให้อยู่ในรูปตัวชี้วัด (18 ตัวชี้วัด) และร่างคู่มือพัฒนาลักษณะความเป็นครูที่ดีของท้องถิ่น ระยะที่ 3 ยืนยันแนวทางและประเมินคู่มือการพัฒนาลักษณะความเป็นครูที่ดีของท้องถิ่น โดยผู้เชี่ยวชาญ ทั้ง 7 ท่าน พบว่า แนวทางการพัฒนาลักษณะความเป็นครูที่ดีของท้องถิ่นโดยกระบวนการ Six Sigma ทั้ง 18 ตัวชี้วัด มีความเหมาะสม ความถูกต้อง ความเป็นไปได้ และเป็นประโยชน์ ร้อยละ 95.24, 94.44, 96.03 และ 98.43 ตามลำดับ อีกทั้งผลการประเมินคู่มือการพัฒนาลักษณะความเป็นครูที่ดีของท้องถิ่นโดยกระบวนการ Six Sigma มีความเหมาะสม ความถูกต้อง ความเป็นไปได้ และเป็นประโยชน์ ร้อยละ 88.00, 88.14, 91.71 และ 92.86 ตามลำดับ

Abstract

ABSTRACT

The research objectives were to identify good local teachers' characteristics development guideline by six sigma suitable to the local context and to create the handbook on this guideline. The research's 3 phases were: 1) studying of framework for good local teachers' characteristics, 2) determining guideline and handbook for characteristics development with Six Sigma, and 3) verifying and evaluating development guideline and handbook with Six Sigma. The research data came from teacher producers, users, stakeholders and teacher students in the Northeastern areas - 18 for in-depth interview, 50 for survey study, 5 for working group, and 7 for experts. 

The research results are the following.

Phase 1 of documentary analysis and synthesis, in-depth interview, and survey study, the outputs are 3-dimensional local teachers' characteristics 1) knowledge, 2) capacity, and 3) morality and ethics.  Phase 2 of working group's framework determining, verifying, and defining points for the guideline, the outputs are 18 indicators and guideline draft. Phase 3 of verifying and evaluating the guideline by 7 experts, the output are the development guideline comprising 18 indicators is with propriety, accuracy, feasibility, and utility (95.24%, 94.44%, 86.03%. and 98.43%). The handbook evaluation results with propriety, accuracy, feasibility, and utility (88.00%, 88.14%, 91.71% and 92.86%).

คำสำคัญ

แนวทางการพัฒนา, กระบวนการ Six Sigma

Keyword

Development Guideline, Six Sigma

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093