บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเลย 2) เพื่อเปรียบเทียบสภาพและปัญหาการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเลย จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ วุฒิการศึกษา และหน่วยงานต้นสังกัดของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในจังหวัดเลย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 351 คนจำแนกเป็น กลุ่มผู้ส่งเสริมการจัดการศึกษา 36 คน กลุ่มผู้ปฏิบัติงาน 117 คน และกลุ่มคณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 198 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบค่าเอฟ (F-test)
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเลย โดยภาพรวมและรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการบริหารงาน รองลงมา คือ ด้านการบริหารงานบุคคล ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการบริหารงบประมาณ
2. ปัญหาการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเลย โดยภาพรวมและรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการบริหารงบประมาณ รองลงมา คือ ด้านการบริหารงาน ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการบริหารงานบุคคล
3. เปรียบเทียบสภาพและปัญหาการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเลย จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ โดยภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการบริหารงาน และด้านการบริหารงานบุคคล มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านการบริหารงบประมาณไม่แตกต่างกันที่ระดับ .05
4. เปรียบเทียบสภาพและปัญหาการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเลย จำแนกตามวุฒิการศึกษา โดยภาพรวมและรายด้าน พบว่า มีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพและปัญหาต่อการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
5. เปรียบเทียบสภาพและปัญหาการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเลย จำแนกตามหน่วยงานต้นสังกัด โดยภาพรวมและรายด้าน พบว่า มีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพและปัญหาต่อการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ไม่แตกต่างกันที่ระดับ .05
Abstract
ABSTRACT
The purposes of this research were 1) to study the state and problem of the management in the Early Childhood Development Centers under the Local Administrative Organizations in Loei Province, and 2) to compare the state and problem of management in the Early Childhood Development Centers classified by standing positions, education attainment and original affiliation. The research sample consisted of 351 personnel of the Local Administrative Organizations involving in management of the Early Childhood Development Centers. The 36 research sample were whose promoting the educational management, 117 operating group and 198 the Early Childhood Development Centers committees. A rating scale questionnaire was used for data collection. The statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation t-test and F- test.
The results of the study showed that :
1. The state of the management in the Early Childhood Development Centers in overall aspect and in the part were at the moderate level. The highest aspect was work management then followed by personal management. The lowest aspect was budget management.
2. The problem of the management in the Early Childhood Development Centers in overall aspect and in the part were at the moderate level. The highest aspect was budget management then followed by work management. The lowest aspect was personal management.
3. The comparison of state and problem of the management in the Early Childhood Development Centers classified as by standing positions in overall aspect were different with the statistical significance at .05 level. In the part was work management and personal management were different with the statistical significance at .05 level, budget management were not different at .05 level.
4. The comparison of state and problem of the management in the Early Childhood Development Centers classified as by education attainment in overall aspect and in the part found that opinions about the state and problem of the management in the Early Childhood Development Centers were different with the statistical significance at .05 level.
5. The comparison of state and problem of the management in the Early Childhood Development Centers classified as by original affiliation in overall aspect and in the part found that opinions about the state and problem of the management in the Early Childhood Development Centers were not different at .05 level.
คำสำคัญ
การบริหารจัดการ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นKeyword
management, Early Childhood Development Centers, Local Administrative Organizationsกำลังออนไลน์: 55
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 3,201
จำนวนครั้งการเข้าชม: 58,400
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093