...
...
เผยแพร่: 15 ก.ค. 2559
หน้า: 220-229
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 251
Download: 185
Download PDF
สภาพการปฏิบัติ ปัญหา และแนวทางพัฒนาการบริหารจัดการ หลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอในเขตพื้นที่จังหวัดนครพนม
Conditions of Practice, Problems, and Guidelines for Administration Development on Non-Formal Education Curriculum of the Upper Secondary School Level, Center of Non-Formal and Informal Education in Districts of Nakhon Phanom Province
ผู้แต่ง
ปิ่น เสนาสี, สวัสดิ์ โพธิวัฒน์, พูนสิน ประคำมินทร์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ  

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสภาพการปฏิบัติ และปัญหาการบริหารจัดการหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาการบริหารจัดการหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอในเขตพื้นที่จังหวัดนครพนม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัครั้งนี้เป็นกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ประกอบด้วย ผู้บริหารจัดการหลักสูตร 124 คน คณะกรรมการสถานศึกษา 81 คนและนักศึกษา 157 คน รวมจำนวน 362 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพการปฏิบัติและปัญหาการบริหารจัดการหลักสูตร แบบมาตราส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป เพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้ค่าเอฟ (F – test) และทดสอบรายคู่ด้วยค่าเชฟเฟ่ (Scheffe')  

ผลการศึกษาวิจัย พบว่า

1. สภาพการปฏิบัติการบริหารจัดการหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับมัธยมศึกษาตอนปลายศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน 

2. ปัญหาการบริหารจัดการหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางและรายด้านทุกด้าน อยู่ในระดับปานกลางเช่นเดียวกัน

3. สภาพการปฏิบัติการบริหารจัดการหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย โดยภาพรวมกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีความเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และรายด้านแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ .01 ทุกด้าน ยกเว้นด้านการดำเนินการจัดทำหลักสูตรเพียงด้านเดียวที่ไม่แตกต่างกัน 

4. ปัญหาการบริหารจัดการหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย โดยภาพรวมและรายด้านกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีความเห็นต่อปัญหาการบริหารจัดการหลักสูตรไม่แตกต่างกัน   

5. แนวทางการพัฒนาในการบริหารจัดการหลักสูตร ตามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญมี 7 ด้าน ได้แก่  ด้านการเตรียมความพร้อมในการบริหารหลักสูตร ด้านการดำเนินการจัดทำหลักสูตร ด้านการวางแผนการบริหารจัดการใช้หลักสูตร ด้านการดำเนินการบริหารจัดการหลักสูตรของสถานศึกษา ด้านการนิเทศ กำกับ ติดตามผลการดำเนินการหลักสูตรด้านการสรุปผลการบริหารจัดการหลักสูตร ด้านการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการบริหารจัดการหลักสูตร

Abstract

ABSTRACT

The purposes of this research were: 1) to examine and compare the conditions of practice and problems on administration of Non-Formal Education curriculum of the upper secondary school level, Center of Non-Formal and Informal Education in districts of Nakhon Phanom province; and 2) to establish appropriate guidelines for developing curriculum administration.  The samples used in this research were 362 stakeholders comprising 124 administrators in charge of curriculum management, 81 school committee, and 157 students. The research instrument used for data collection was a rating scale questionnaire on conditions of practice and problems on curriculum management. The statistical analyses were performed using a computer software program. The data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, F – test and Scheffe' paired comparison test.

The findings were as follows:

1. The conditions of practice on administration of Non-Formal Education curriculum of the upper secondary school level, Center of Non-Formal and Informal Education, as a whole, were at a high level. When considering in overall and each aspect, the mean scores were also at a high level.

2. The problems on administration of Non-Formal Education curriculum of the upper secondary school level, as a whole, were at a moderate level. In addition, when considering in each aspect, the mean score was at a moderate level.

3. The conditions of practice on administration of Non-Formal Education curriculum of the upper secondary school level, based on stakeholders’ opinions, as a whole, were statistically significant difference at the .01 level. In addition, each aspect was different and significant at the .01 level, except an aspect in terms of curriculum operation was not different.

4. The problems of curriculum administration of Non-Formal Education curriculum of the upper secondary school level, based on stakeholders’ opinions, both in overall and each aspect had no differences.

5.  The seven aspects of the proposed guidelines based on experts’ opinions comprising Preparation on curriculum administration, Curriculum operation, Administrative planning for curriculum implementation, School curriculum administration, Supervision, controlling and monitoring for curriculum operation, Revision and development of procedures for curriculum administration.

คำสำคัญ

การบริหารจัดการหลักสูตร, หลักสูตรการศึกษานอกระบบ

Keyword

Curriculum Administration, Non-Formal Education Curriculum

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093