...
...
เผยแพร่: 15 ก.ค. 2559
หน้า: 209-219
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 252
Download: 170
Download PDF
สภาพ ปัญหา และผลสำเร็จการดำเนินการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร
State, Problems and Achievements of The Application of Internal Educational Quality Assurance in Schools Under The Office of Mukdahan Primary Educational Service Area
ผู้แต่ง
นวลลออ มีวิชา, เพลินพิศ ธรรมรัตน์, วรกัญญาพิไล แกระหัน

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา และผลสำเร็จการดำเนินการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหารกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร ปีการศึกษา 2557 โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยการเปิดตารางเคร็ซซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 332 คน แยกเป็นผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 83 คน ครูผู้รับผิดชอบจำนวน 83 คน ครูผู้สอนจำนวน 83 คน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 83 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพ ปัญหา และผลสำเร็จการดำเนินการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียน ที่มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .37-.82 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product-Moment Correlation) ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coeffcient) ค่าเอฟ (F-test) ชนิด One-Way ANOVA ค่าเชฟเฟ่ (Scheffe’) หรือแอลเอสดี (LSD)

ผลการวิจัย พบว่า

1. ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้รับผิดชอบ ครูผู้สอน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นต่อสภาพการดำเนินการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ปัญหาการดำเนินการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางและมีความคิดเห็นต่อผลสำเร็จการดำเนินการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียน โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

2. ผู้บริหาร ครูผู้รับผิดชอบ ครูผู้สอน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการดำเนินการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียน โดยรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน ส่วนปัญหาโดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความคิดเห็นต่อปัญหาการดำเนินการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียน ด้านการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ด้านการจัดให้มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา ด้านการจัดให้มีการประเมินคุณภาพภายใน ตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาและด้านการจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายในแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้านการจัดระบบบริหารและสารสนเทศ ด้านการจัดให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลสำเร็จโดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

3. ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้รับผิดชอบ ครูผู้สอน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่อยู่ในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสภาพการดำเนินการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียน โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ส่วนปัญหาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ด้านการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ด้านการจัดระบบบริหารและสารสนเทศแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้านการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลสำเร็จโดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

4. ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้รับผิดชอบ ครูผู้สอน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่อยู่ในอำเภอต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสภาพการดำเนินการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียน โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการกำหนดมาตรฐานการศึกษา ด้านการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษา ด้านการจัดระบบบริหารและสารสนเทศ ด้านการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษา ด้านการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา ด้านการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษา ด้านการจัดทำรายงานประจำปี และด้านการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่องแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนปัญหาโดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่ผลสำเร็จโดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

Abstract

ABSTRACT

This study aimed at investigating states, problems and achievements of the application on the internal assurance application in schools under the Office of Mukdahan Primary Educational Service Area. The population included school administrators, teachers in charge, teachers and chairs of school boards using multi-stage random sampling through Krejcie and Morgan’s table. The samples consisted of 83 schools administrators, 83 teachers in charge, 83 teachers and 83 chairs of school boards.A tool used was a rating scale questionnaire concerning states, problems and achievements of the school internal assurance implementation with a discrimination of .37-.82 and reliability of .97. To analyze data, percentage, mean, standard deviation, reliability, Pearson’s Product Moment Correlation, Cronbach’s Alpha Coefficient, F-test (One-Way ANOVA), and Scheffe’smethod or LSD were employed.

The findings were as follows:

1. The perception of the school administrators, teachers in charge, teachers and chairs of school boards toward the states of the school internal assurance application in the schools, as a whole, was at the moderate level. The overall problems on the school internal assurance were at the moderate level in general. The opinions of them toward the achievements of the school internal assurance application were at the high level.

2. The opinions of the school administrators, teachers in charge, teachers and chairs of school committees toward the school internal assurance implementation, as a whole, showed no significant differences. When each aspect was considered, it was found that the perception toward the states of the school internal assurance application based on plans of school educational development, monitoring and testing of educational quality, evaluation of educational internal assurance applicationbased on school standards, annual report application as the internal quality assurance were significantly different at the .01 level. The system management of administration and information, and the application on continuous educational development were different at the .05 level of significance. There were no significant differences toward the achievements of the school internal assurance implementation in general and in particular.

3. The perception of the school administrators, teachers in charge, teachers and chairs of school boards toward the school internal assurance application, as a whole and in each aspect, showed no significant differences. When separately considered, it was determined that the aspects on the designation  of the school educational standards , application on the making plans of the school toward quality based on school standards were significantly different at the .01 level. The achievements of the school internal assurance implementation, in general and in particular, showed no significant differences.

4. There was a significant difference on the perception toward the school internal assurance application among the school administrators, teachers in charge, teachers and chairs of school boards at the .01 level. When separately considered, it was determined that designation of educational standards ,making plans on educational management, administration and management and information, application based on educational development plan, monitoring and testing of educational standards, evaluation of internal assurance based on educational standards, annual reports as well as continuous educational quality development were significantly different at the .01 level. The problems, in general and in particular, differed significantly at the .01 level. There were no significant differences on the achievements as a whole and in each aspect.

คำสำคัญ

การประกันคุณภาพภายใน

Keyword

Internal Educational Quality Assurance

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093