บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชา คณิตศาสตร์ เรื่องการคูณ โดยการจัดการเรียนรู้ร่วมมือแบบ TGT (Teams-Games-Tournaments : TGT) ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนชุมชนเทศบาล ๓ (พินิจพิทยานุสรณ์) สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองนครพนม อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม จำนวน 24 คน โดยการสุ่มแบบกลุ่ม(Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือแบบ TGT แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t – test (Dependent Samples)
ผลการวิจัย พบว่า
1. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์เรื่อง การคูณ โดยการจัดการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือแบบ TGT สำหรับนักเรียนระดับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่สร้างขึ้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.42/81.81 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้
2. นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องการคูณ โดยการจัดการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือแบบ TGT มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีค่า t = 15.46 อย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องการคูณ โดยการจัดการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือแบบ TGT มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก
Abstract
ABSTRACT
The purposes of this independent study were 1) to develop the mathematics learning activity in the topic of multiple by using TGT (Teams-Games-Tournaments : TGT) learning based on the efficiency 75/75 criteria. 2) to compare a mathematics learning achievement before and after using TGT learning 3) to study satisfaction of students toward using TGT learning. The subjects consisted of 24 Mattayomsuksa 3 students. Who studying in Mattayomsuksa 3/1 Choomchon Tassaban 3 (Pinitpittayanusorn) School, Amphur Muang, Nakhon Phanom, 2nd semester in 2015 acadamic year, and selected by using Cluster random sampling method. The research instruments were TGT learning activity, a mathematics ability test used as a pretest and a posttest, lesson plans and a questionnaire used for asking students' satisfaction. The statistics that used in data analysis were the frequency value, the percentage average, the mean and standard deviation of scores and the hypothesis test by using t – test (Dependent Samples)
The results of the study found that : (1) the efficiency of the mathematics learning activity by using TGT learning was 81.42/81.81 which statistically higher than that before studying which expected based on the efficiency 75/75 criteria. (2) The students achievement which studied by using TGT learning was higher at t = 15.46 and significantly higher at the .01 level. (3) The students ' satisfaction toward the TGT learning which meaned the students' satisfaction was highly positive.
คำสำคัญ
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์, การคูณ, การจัดการเรียนรู้แบบ TGTKeyword
The Development of achievement, Multiple, TGT learningกำลังออนไลน์: 59
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 3,622
จำนวนครั้งการเข้าชม: 58,821
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093