บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงทดลองในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์สามข้อ คือ 1) เพื่อสร้างสื่อมัลติมีเดียสำหรับการพัฒนาความสามารถในการอ่านออกเสียงพยัญชนะควบกล้ำภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อศึกษาความสามารถในการอ่านออกเสียงของนักเรียนหลังการสอนผ่านสื่อมัลติมีเดีย และ 3) เพื่อสำรวจความคิดเห็นของนักเรียนมีต่อการสอนพยัญชนะควบกล้ำผ่านสื่อมัลติมีเดียหลังการเรียนด้วยสื่อมัลติมีเดียที่สร้างขึ้นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสุขานารี จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 30 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม ระยะเวลาในการทดลองจำนวน 10 สัปดาห์ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองประกอบด้วย แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านออกเสียงพยัญชนะควบกล้ำภาษาอังกฤษก่อนและหลังเรียน และแบบสำรวจความคิดเห็นหลังการเรียนด้วยสื่อมัลติมีเดียที่สร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ คะแนนเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการศึกษาพบว่า 1) ค่าประสิทธิภาพของสื่อมัลติมีเดียการออกเสียงพยัญชนะควบกล้ำสูงกว่าค่าของเกณฑ์ประสิทธิภาพที่กำหนด 2) ความสามารถในการอ่านออกเสียงพยัญชนะควบกล้ำภาษาอังกฤษผ่านสื่อมัลติมีเดียหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนมีความคิดเห็นเชิงบวกต่อการเรียนการออกเสียงพยัญชนะควบกล้ำผ่านสื่อมัลติมีเดียที่สร้างขึ้น ผลการศึกษาดังกล่าว ชี้ให้เห็นว่า ความสามารถในการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ดีขึ้นหลังการเรียนอ่านออกเสียงผ่านสื่อมัลติมีเดีย
Abstract
ABSTRACT
The objectives of this experimental research were to (1) construct multimedia which was a tool to improve grade 5 students’ English consonant clusters pronunciation ability, (2) to examine the pronunciation ability of grade 5 students after teaching English consonant clusters through multimedia, and (3) to explore grade 5 students’ opinion towards learning English consonant clusters through the constructed multimedia. The sample group consisted of 30 students of Sukhanaree School, Nakhon Ratchasima province who were obtained by cluster random sampling. The instruments used in data collection were pretest and posttest of English
consonant clusters pronunciation ability, and a questionnaire. The data of this study were statistically analyzed using mean scores, standard deviation, and t-test. After ten weeks of the experiment in the second semester of academic year 2015, it was shown that (1) the values of efficiency of the constructed multimedia on English consonant clusters pronunciation were higher than the values of the set criterion, (2) the post-test mean score of English consonant clusters pronunciation ability was significantly higher than the pre-test mean score at the 0.05 level, and (3) after the experiment, the students had positive opinions towards learning English consonant clusters pronunciation through multimedia. The study indicated that the students’ English consonant clusters pronunciation ability has been improved after learning through the constructed multimedia.
คำสำคัญ
มัลติมีเดีย, พยัญชนะควบกล้ำภาษาอังกฤษ, การสอนอ่านออกเสียงพยัญชนะควบกล้ำภาษาอังกฤษKeyword
Multimedia, English Consonant Clusters, English consonant clusters teachingกำลังออนไลน์: 103
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 3,429
จำนวนครั้งการเข้าชม: 58,628
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093