บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาแผนการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง หน่วยของชีวิต และชีวิตพืช โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ TGT ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนอุเทนพัฒนา 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง หน่วยของชีวิตและชีวิตพืช โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ TGT ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง หน่วยของชีวิตและชีวิตพืช โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ TGT. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนอุเทนพัฒนา จำนวน 45 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling). เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบ TGT เรื่อง หน่วยของชีวิตและชีวิตพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 16 แผน ใช้เวลา 16 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าความยากรายข้อตั้งแต่ 0.22 - 0.77 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.21 - 0.82 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .76 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ 20 ข้อ
ผลการวิจัย พบว่า
1. แผนการจัดการเรียนรู้แบบ TGT เรื่อง หน่วยของชีวิตและชีวิตพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มีประสิทธิภาพ (E1/ E2) เท่ากับ 84.39/83.28 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ TGT มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง หน่วยของชีวิตและชีวิตพืช หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ TGT เรื่อง เรื่อง หน่วยของชีวิตและชีวิตพืช โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.48, S.D. = 0.55) โดยมีความพึงพอใจเป็นรายข้ออยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด
Abstract
ABSTRACT
The objective of this study were 1) to develop the lesson plans of science in the unit of creatures and plants life using TGT technique matthayomsueksa 1 students at Uthenpattana school, 2) to compare the outcome of learning in the unit of creatures and plants life using TGT technique for matthayomsueksa 1 students by using the pre-test and post-test 3) to study the learning satisfaction for matthayomsueksa 1 students in TGT technique of science outcome in the unit of creatures and plants life. The sample used in this study was 45 students at Uthenpattana school, obtained using the cluster random sampling technique. The instruments used in the study were : 1) lesson plans of TGT technique in the unit of creatures and plants life of science learning department for matthayomsueksa 1 students, 16 lesson plans in total and 16 teaching hours. taught for 16 hours ; 2) The outcome test with difficulties ranging 0.22-0.77, discriminating powers ranging 0.21-0.82 and a reliability of .76. The statistics used for analyzing the collected data were percentage, mean 3) The satisfaction of the students to the using TGT technique 20 questions.
The results of the study were as follows:
1. The lesson plans of TGT technique had efficiencies of 84.39/83.28 which was higher than the standard criterion 80/80.
2. The students who were learned by using TGT technique were found that the scores of post-test was higher than pre-test at the significance level .01
3. The satisfaction of the students who were taught by TGT technique in the unit of creatures and plants life were at high level (X = 4.48, S.D. = 0.55) in total and at the highest level in each items.
คำสำคัญ
การพัฒนาผลการเรียนรู้, การจัดการเรียนรู้แบบ TGTKeyword
development of learning outcome, TGT techniqueกำลังออนไลน์: 36
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 3,342
จำนวนครั้งการเข้าชม: 58,541
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093