บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารจัดการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ไทยเพื่อการท่องเที่ยว สำหรับนักศึกษาวิชาเอกอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 2) เพื่อหาแนวทางพัฒนาการบริหารจัดการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ไทยเพื่อการท่องเที่ยวสำหรับนักศึกษาวิชาเอกอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 3) เพื่อติดตามผลการพัฒนาการบริหารจัดการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ไทยเพื่อการท่องเที่ยวสำหรับนักศึกษาวิชาเอกอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 4 ขั้นตอนหลัก คือ ขั้นการวางแผน ขั้นการปฏิบัติการ ขั้นการสังเกตการณ์ ขั้นการสะท้อนกลับ ซึ่งผู้มีส่วนร่วมในการวิจัย ประกอบด้วย ผู้วิจัย และ นักศึกษาวิชาเอกอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ปีการศึกษา 2557 จำนวน 40 คน
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพและปัญหาการบริหารจัดการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ไทยเพื่อการท่องเที่ยว พบว่า
1.1 สภาพการบริหารจัดการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ไทยเพื่อการท่องเที่ยว พบว่า ในการจัดการเรียนการสอน อาจารย์ประจำวิชาจะใช้วิธีการบรรยายทำให้นักศึกษาบางส่วนไม่สนใจในเนื้อหา และไม่เข้าใจในเนื้อหาบทเรียน ใช้สื่อและนวัตกรรมการเรียนรู้น้อย นักศึกษาไม่มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการเรียนรู้ และอาจารย์ผู้สอนใช้วิธีการมอบหมายงาน ให้นักศึกษาไปดำเนินการจัดทำเป็นรายบุคคลและเป็นรายกลุ่ม โดยกำหนดเวลาให้นักศึกษาส่งผลงานตามกำหนดเวลา
1.2 ปัญหาการบริหารจัดการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ไทยเพื่อการท่องเที่ยว พบว่านักศึกษาขาดความรู้ ความเข้าใจ ในเนื้อหาประวัติศาสตร์ไทยในยุคสมัยต่างๆ รวมทั้งประวัติศาสตร์ท้องถิ่น อาจารย์ผู้สอนใช้วิธีการบริหารจัดการเรียนรู้ไม่หลากหลาย และไม่ใช้สื่อและนวัตกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายครอบคลุมเนื้อหาไม่เปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการเรียนรู้ และนักศึกษามีความต้องการจะเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการเรียนรู้
2. แนวทางพัฒนาการบริหารจัดการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ไทยเพื่อการท่องเที่ยวสำหรับนักศึกษาวิชาเอกอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ประกอบด้วย 2.1) ศึกษาดูงานดูงานนอกสถานที่แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ 2.2) การอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ และการจัดการท่องเที่ยว 2.3) การนิเทศการเรียนรู้ 2.4) การระดมพลังสมองของนักศึกษา
3. ผลการพัฒนาการบริหารจัดการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ไทยเพื่อการท่องเที่ยวสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว พบว่า
3.1 การศึกษาดูงานนอกสถานที่และการนิเทศการเรียนรู้ พบว่า ทำให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจในความหมาย และความสำคัญของการจัดการท่องเที่ยว ประวัติศาสตร์ไทยเพื่อการท่องเที่ยวและเกิด
ทักษะในการพัฒนาการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ไทยเพื่อการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น โดยรวมอยู่ในระดับมาก (=4.38) และมีความคิดสร้างสรรค์ มีผลงานที่มีคุณภาพและมีความหลากหลายมากขึ้น ส่งผลให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการระดมพลังสมองร่วมกำหนดแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ไทยเพื่อการท่องเที่ยวที่มีประสิทธิภาพ และพบว่าผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยวและประวัติศาสตร์ มีความพึงพอใจในผลงานการพัฒนาการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ไทยเพื่อการท่องเที่ยวของนักศึกษาเป็นอย่างมาก และนักศึกษาทุกคนเกิดความพึงพอใจต่อกิจกรรมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการบริหารจัดการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ไทยเพื่อการท่องเที่ยว
3.2 การอบรมเชิงปฏิบัติการ พบว่า นักศึกษาทุกคนมีความรู้ความเข้าใจประวัติศาสตร์ไทยเพื่อการท่องเที่ยวมากขึ้น และนักศึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์และการท่องเที่ยว มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันรู้ข้อมูล จุดเด่น จุดด้อย และศักยภาพ ทักษะ ของนักศึกษาแต่ละคน
3.3 การระดมพลังสมองในการการพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ไทยเพื่อการท่องเที่ยว พบว่า นักศึกษาทุกคนมีส่วนร่วมในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ไทยเพื่อการท่องเที่ยว ร่วมวางแผน ร่วมวิพากษ์ วิจารณ์ชิ้นงานการศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์ไทยเพื่อการท่องเที่ยวซึ่งกันและกัน ทั้งนักศึกษาด้วยกันและอาจารย์ผู้สอน ส่งผลให้นักศึกษาเกิดความกระตือรือร้น มีความตั้งใจสูง และเอาใจใส่ต่อการสร้างสรรค์ผลงานหรือชิ้นงานการศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์ไทยเพื่อการท่องเที่ยวการของตนเองเป็นอย่างมาก
Abstract
ABSTRACT
This study aimed to 1) investigate states and problems of learning management of Thai History for Tourism, 2) find out guidelines of learning management of Thai History for Tourism, 3) monitor effects of learning management development of Thai History for Tourism for students majoring Tourism Industry at Sakon Nakhon Rajabhat University (SNRU). The participatory action research of 4 stages: planning, action, observation and reflection was utilized. Samples consisted of 40 students majoring Tourism Industry at SNRU in the academic year 2014.
The findings of this study were as follows:
1. The states and problems of learning management of Thai History for Tourism revealed that:
1.1 The states of learning management of Thai History for Tourism indicated that in case of learning management, the instructors employed the lecture-style method that made the students pay attention to the use of learning media and innovations at the low level. The students did not take part in learning management via job assignment by letting the students do it individually or in groups. The students had to hand in their assuignment depending on the time designated.
1.2 In case of problems, it was found that the students encountered a lack of knowledge, understanding in the contents concerning Thai History in various ages including local history. The methods of teaching used were not diverse and without the employment of learning media and innovations in order to cover the contents taught. The students were not allowed to take part in learning management. Moreover, the students needed to participate in learning management.
2. The guidelines of learning management of Thai History for Tourism for the students majoring Tourism Industry at SNRU included 2.1) study tours at the historical sites ,2.2) a workshop on knowledge of history and tourism management, 2.3) supervision, and 2.4) brainstorming for the students.
3. The effects of learning management of Thai History for Tourism for the students majoring Tourism Industry could be summarized that:
3.1 These made the students obtain knowledge, understanding, skills in learning Thai History in the meanings and significance of management of Thai History for Tourism and gained skills in developing skills in learning Thai History for Tourism at the better and the high level =4.38 with creativity and quality performance along with diversity affecting everybody to take part in brainstorming in order to designate guidelines in learning management development for Tourism with efficiency . In addition, the experts in tourism and history were satisfied with the effects of learning management of Thai History for Tourism among the students at the high level. The students were also satisfied with their participation in developing learning management of Thai History for Tourism.
3.2 The workshop conducted revealed that all students gained knowledge and understanding of Thai History for Tourism. Moreover, the students and the experts on history and tourism gained good relationship in terms of deception of data, strength, weakness along with potential and skills of every student.
3.3 In case of brainstorming on the learning management development of Thai History for Tourism revealed that all students took part in developing learning management of Thai History for Tourism by planning, criticizing the jobs explored by the students in Thai History for Tourism for one another both peers and instructors as well. This affected the students to be enthusiastic, intensive, attentive toward creativity of jobs or tasks in identifying Thai History for Tourism of themselves .
คำสำคัญ
การบริหารจัดการเรียนรู้Keyword
Learning Managementกำลังออนไลน์: 76
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 3,542
จำนวนครั้งการเข้าชม: 58,741
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093