...
...
เผยแพร่: 15 เม.ย. 2559
หน้า: 198-206
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 257
Download: 167
Download PDF
การพัฒนาศักยภาพครูในการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนโพธิแสนวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23
Action Research for Developing the Teachers’ Potential in Conducting Classroom Research at Phothisaen wittaya school under the office of the Secondary Educational Service Area 23
ผู้แต่ง
สุจินต์ จันดากุล, วีระวัฒน์ ดวงใจ, วชิราวุธ ปานพรม

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหาในการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู 2) หาแนวทางในการพัฒนาศักยภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู 3) ติดตามผลการพัฒนาศักยภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู โรงเรียนโพธิแสนวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ดำเนินการ 2 วงรอบ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ 1) การวางแผน (Planing) 2) การปฏิบัติการ (Action) 3) การสังเกตการณ์ (Observation) และ 4) การสะท้อนกลับ (Reflection) กลุ่มเป้าหมายของการวิจัยครั้งนี้ คือ กลุ่มผู้ร่วมวิจัยประกอบด้วยผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัย 15 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบทดสอบ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมิน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอเชิงพรรณนาวิเคราะห์

ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพ และปัญหาการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนโพธิแสนวิทยาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 พบว่า 1) สภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูนำกระบวนการวิจัยในชั้นเรียนมาใช้ในการแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนการสอนในกระบวนการเรียนการสอนน้อย มีภาระงานมาก มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำวิจัยในชั้นเรียนไม่เพียงพอ 2) ปัญหาการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียน พบว่า ครูขาดทักษะในการสร้างเครื่องมือหรือพัฒนานวัตกรรม ขาดงบประมาณในการสนับสนุนและขาดการนิเทศอย่างต่อเนื่อง ประสบการณ์ด้านการทำวิจัยน้อย

2. แนวทางการพัฒนาศักยภาพครูในการทำวิจัยในชั้นเรียน พบว่า ในวงรอบที่ 1 ใช้แนวทางการประชุมเชิงปฏิบัติการ และการนิเทศภายใน ส่วนในวงรอบที่ 2 ใช้การนิเทศภายใน เพื่อติดตามผลการพัฒนา การให้คำปรึกษา แนะนำ โดยกลุ่มผู้นิเทศ

3. ผลการพัฒนาทางการพัฒนาศักยภาพครูในการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนโพธิแสนวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 พบว่า 1) กลุ่มผู้ร่วมวิจัย มีศักยภาพในการทำวิจัยในชั้นเรียน เพิ่มมากขึ้น พิจารณา จากผลการประเมินก่อนการประชุมเชิงปฏิบัติการ  มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 20.44คะแนน คิดเป็นร้อยละ 68.13 และผลการประเมินหลังการประชุมเชิงปฏิบัติการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 26.00 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 86.67 จึงมีค่าร้อยละความก้าวหน้าเฉลี่ยเท่ากับ18.54 2) กลุ่มผู้ร่วมวิจัยสามารถทำวิจัยในชั้นเรียนได้ทุกคนๆ ละ 1 เรื่อง รวม 16 เรื่อง ผู้ร่วมวิจัยมีศักยภาพเกี่ยวกับการทำวิจัยในชั้นเรียนเพิ่มมากขึ้น

Abstract

ABSTRACT

The purposes of this study were to 1) investigate states and problems in conducting classroom action research. 2) to seek for guidelines for developing the teachers’ potentiality in conducting classroom action research, and 3) to follow up the development of the teachers’ potentiality in doing classroom action research at Phothisaen Withaya School under the Office of the Secondary Educational Service Area 23 by using the classroom action research process. This study employed two spirals of a four- stage action research comprising planning, action, observation and reflection. The target group consisted of the researcher and 15 co-researchers. The instruments used in the study were a test, a form of observation, a form of interview and a form of assessment. The statistics applied for analyzing quantitative data were mean, percentage and standard deviation. Content analysis was employed in forms of content classification and descriptive presentation.

The findings of this study were as follows :

1. The states and the problems of the teachers’ competency in conducting the classroom action research at Phothisaen Witthaya School could be concluded that:

1.1 The states revealed that the teachers were less in conducting the classroom action research for solving and developing their teaching and learning process. There were lots of responsibilities and unclear on doing the classroom action research.

1.2 The problems indicated that the teachers. is without expertise in building tool or, develop the innovation. They also lacked budgets in supporting, the continuity of supervision and experiences in doing the research.

2. The guidelines for developing the teachers' potentiality in doing classroom action research revealed that in the first spiral, included a workshop and an internal supervision. In the second spiral, the internal supervision was used to monitor the development results through suggestions and consultations of the supervisors.

3. The effects of the monitoring on the teachers’ compentence development in doing the classroom action research at Phothisaen Witthaya School under the Office of the Secondary Educational Service Area 23 revealed that:

3.1 The co-researchers gained an increase in knowledge on doing the classroom action research. The statistics data after taking the workshop were higher than before (mean=20.44, percentage=68.13 up to mean=26.00, percentage=86.67 respectively) The was 18.54.

3.2 The co-researchers were able to do classroom action research at least 1 topic of each one and 16 of all. The co-researchers’ competency of doing the classroom action research was at a higher level.

คำสำคัญ

การพัฒนาศักยภาพครู

Keyword

Teachers’ Potential Development

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093