...
...
เผยแพร่: 15 เม.ย. 2559
หน้า: 188-197
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 520
Download: 179
Download PDF
การพัฒนามารยาทของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Participatory Action Research for Development Social Etiquette of the Students, Savannakhet Univercity, Lao People's Democratic Republic
ผู้แต่ง
คำเผย อักคะวง, ไชยา ภาวะบุตร, สุลิยง ไซโกสี

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาเกี่ยวกับมารยาทของนักศึกษา 2) หาแนวทาง และดำเนินการพัฒนามารยาทสุจของนักศึกษา และ 3) ติดตาม และประเมินผลการพัฒนามารยาทของนักศึกษา ในนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 4 ขั้นตอน คือ ขั้นการวางแผน ขั้นการปฏิบัติ  ขั้นการสังเกตการณ์ และขั้นสะท้อนกลับ กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย กลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 11 คน ประกอบด้วย  คณบดีคณะศึกษาศาสตร์  จำนวน  1 คน อาจารย์ที่ปรึกษา จำนวน 5 คน ตัวแทนคณะกรรมการนักศึกษา จำนวน  5 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล  จำนวน 23 คน ประกอบด้วย  หัวหน้าวิชาการคณะศึกษาศาสตร์  จำนวน  3  คน อาจารย์ประจำคณะศึกษาศาสตร์ จำนวน 15 คน ตัวแทนคณะกรรมการนักศึกษาได้มาโดยเลือกแบบเจาะจง  จำนวน  5  คน วิทยากรที่มาอบรมและให้ความรู้แก่นักศึกษา 2 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสังเกต แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินและแบบบันทึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพและปัญหาเกี่ยวกับมารยาทของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสะหวันนะเขต พบว่า

1.1 สภาพนักศึกษาส่วนหนึ่งที่มีมารยาทที่จะต้องพัฒนา ได้แก่ การพูดสนทนาระหว่างเพื่อน อาจารย์ ได้แก่ พูดไม่สุภาพ ไม่มีหางเสียง ขาดการแสดงความเคารพกับเพื่อน ผู้อาวุโส ครูอาจารย์ การเดินสวนทางกับผู้อาวุโส อาจารย์ส่วนมากนักศึกษาไม่มีการน้อมศีรษะ การนั่งในที่ประชุมส่วนมากไม่อยู่ในอาการสำรวม มีการพูดคุยในขณะประชุม การยืนคุยกับผู้อาวุโส อาจารย์ยังขาดความอ่อนน้อม ถ่อมตน การรับประทานอาหารส่วนมากยังมีการพูดคุย เคี้ยวอาหารมีเสียงดัง และการต้อนรับแขกนักศึกษายังขาดประสบการณ์

1.2 ปัญหาและสาเหตุมาจากนักศึกษาไม่เชื่อฟังคำสอนของผู้ปกครอง ครูอาจารย์ เนื่องจากสภาพแวดล้อม ชุมชน สังคม ที่อยู่อาศัย และวัฒนธรรมที่หลากหลายแตกต่างกัน ตลอดทั้งอาจารย์ในมหาวิทยาลัยขาดการดูแลเอาใจใส่นักศึกษาอย่างจริงจัง

2. แนวทางการพัฒนามารยาทของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสะหวันนเขต ตามแนวทางการพัฒนา 6 กิจกรรม ได้แก่ 1) การประชุมระดมสมอง 2) การอบรม 3) การประชุมปฏิบัติการ 4) การสอนสอดแทรกในวิชาที่เรียน 5) การใช้เทคนิคการเสริมแรง และ 6) การนิเทศติดตามและประเมินผล เพื่อพัฒนาให้นักศึกษามีมารยาทในการพูด มารยาทในการฟัง มารยาทในการทำความเคารพ มารยาทในการเดิน มารยาทในการยืน มารยาทในการนั่ง มารยาทในการรับประทานอาหาร และมารยาทในการต้อนรับแขก

3. การติดตามและประเมินผลการศึกษาการพัฒนามารยาทของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสะหวันนะเขต  พบว่า  อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ประจำวิชา นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการพัฒนาโดยรวมอยู่ในระดับมาก และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่พึงประสงค์ โดยใช้แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบประเมินความพึงพอใจมารยาททั้ง 8 ด้านกล่าวคือ 1) นักศึกษาใช้คำพูดที่สุภาพมากขึ้น 2) การพูดคุยกันในห้องเรียนหรือที่ประชุมลดน้อยลง 3) นักศึกษาเมื่อเดินกับผู้ใหญ่ก็เดินในอาการสำรวม 4) การยืนเข้าแถวเคารพธงชาติมีขั้นตอนในการปฏิบัติที่ถูกวิธี 5) การนั่งเก้าอี้ต่อหน้าผู้ใหญ่หรืออาจารย์อยู่ในอาการสำรวม 6) ขณะเดินไปและกลับจากมหาวิทยาลัย นักศึกษาสามารถแสดงออกโดยการไหว้อาจารย์ทั้งก่อนและกลับจากมหาวิทยาลัย 7) การรับประทานอาหารในมหาวิทยาลัย ในบ้าน นักศึกษามีมารยาทที่พึงประสงค์ และ 8) การต้อนรับแขกของนักศึกษาในมหาวิทยาลัย ในบ้าน นักศึกษาแสดงออกด้วยการมีไมตรี ในการต้อนรับตามขนบธรรมเนียม ประเพณีนิยม

Abstract

ABSTRACT

The purposes of this study were 1) to investigate the states and problems in Development Social Etiquette of the Students, 2) to find out and Development Social Etiquette of the Students at Savannakhet University, and 3) to follow up and evaluate the Development Social Etiquette of the Students at Savannakhet University, Lao People's Democratic Republic. This participatory action research consisted of four main stages: planning, action, observation and reflection. The target group included 35 Research for Development Social Etiquette of the Students, 5 classroom teachers, 5 representatives of the student committee and 5 classroom heads. The 20 informants comprised 2 resource persons, 15 representatives of the first year students and 6 members of the student committee selected by Purposive Sampling. The instruments used were forms of observation, sets of questionnaires, interview forms, evaluation forms and a form of note-taking. The statistics used for data analysis were composed of percentage, mean and standard deviation.

The results of this study were as follows:

1. Regarding the states and problems on the students' manners at Savannakhet University, it was found that some of the inappropriate manners of the students included impolite words spoken, undesirable manners, aggressive behaviors, paying no attention to the teachers' suggestions, no awareness on sense of honor along with no sense of modesty/humility.. In case of sense of honor, the students never paid respect to the teachers or school guests passing by. The impolite words were usually used with their peers in the meetings. When the students walked side by side with the seniors, they did not show the appropriate or gentle manners. The standing in line to pay salutation to the national flag and the National Anthem was in the wrong step and in the wrong way. When the students paid an audience with the seniors or teachers, the style of sitting on the chair was not in the modest manner. The causes of all these problems originated from the diverse environments, communities and cultures. In addition, the teachers did not really pay attention to these students; the students were not motivated to develop themselves.

2. The development of the Development Social Etiquette of the Students, Savannakhet University, employed a six – activity strategy consisting of 1) a brain-storming meeting, 2) a meeting to train the students on knowledge about good manners, 3) workshop, 4) integration of good manners with every subject taught, 5) reinforcement, and 6) coaching supervision and evaluation to develop the student's good manners of speech, courtesy of listening. rules of respect, manner of walking, rules of standing and manner of sitting.

3. The effects of monitoring and evaluation of the development of the students' manners revealed that those concerned were satisfied with the overall development at the high level. The strategies used could improve the students' manners in six aspects comprising: 1) The students used more polite words, 2) A talking on miscellaneous topics in class or in meetings was reduced, 3) When walking with the seniors or teachers, the students were more modest, 4) Being in line to pay respect to the national flag was in an appropriate manner, 5) The style of chair sitting in front of the seniors or teachers was in a more modest manner, 6) While walking back and forth the College, the students expressed themselves by paying respect to the teachers both arrivals and departures of the College with enthusiasm and willingness

คำสำคัญ

มารยาท

Keyword

Social Etiquette

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093