...
...
เผยแพร่: 15 เม.ย. 2559
หน้า: 177-187
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 572
Download: 198
Download PDF
ความฉลาดทางอารมณ์และพฤติกรรมการตัดสินใจของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ
Emotional Quotient and the School Administrators’ Administrative Decision Making Behaviors in Office of Buengkan Primary Educational Service Area
ผู้แต่ง
จินตนา เบญจมาศ, ละม้าย กิตติพร, บุญมี ก่อบุญ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษา เปรียบเทียบ และหาความสัมพันธ์ของความฉลาดทางอารมณ์และพฤติกรรมการตัดสินใจของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ และหาแนวทางการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์และพฤติกรรมการตัดสินใจของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ปีการศึกษา 2557 จำนวน 332 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ t – test, F – test (One - Way ANOVA) และ Chi-square Test

ผลการวิจัย พบว่า

1. ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก

2. พฤติกรรมการตัดสินใจของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมมีรูปแบบพฤติกรรมการตัดสินใจของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมมีรูปแบบพฤติกรรมการตัดสินใจ อยู่ในกลุ่มที่ 3 คือ สมาชิกในหมู่คณะดำเนินกระบวนการตัดสินใจร่วมกัน

3. ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียนหรือผู้รักษาการในตำแหน่ง และครูผู้สอน โดยจำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งที่ต่างกัน โดยรวมและรายด้านมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน

4. พฤติกรรมการตัดสินใจของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียนหรือผู้รักษาการในตำแหน่ง และครูผู้สอน โดยจำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งที่ต่างกันและรูปแบบพฤติกรรมการตัดสินใจ โดยรวมพบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

5. ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียนหรือผู้รักษาการในตำแหน่ง และครูผู้สอน โดยจำแนกตามประสบการณ์ในการทำงานที่แตกต่างกัน โดยรวมพบว่ามีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

6. พฤติกรรมการตัดสินใจของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียนหรือผู้รักษาการในตำแหน่ง และครูผู้สอน โดยจำแนกตามประสบการณ์ในการทำงานที่แตกต่างกันและรูปแบบพฤติกรรมการตัดสินใจ  โดยรวมพบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กัน

7. ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียนหรือผู้รักษาการในตำแหน่ง และครูผู้สอน โดยจำแนกตามขนาดของโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน โดยรวมมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน

8. พฤติกรรมการตัดสินใจของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียนหรือผู้รักษาการในตำแหน่ง และครูผู้สอน โดยจำแนกตามขนาดของโรงเรียนที่มีขนาดต่างกันและรูปแบบพฤติกรรมการตัดสินใจ โดยรวมพบว่า มีความสัมพันธ์กัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

9. การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้นำเสนอแนวทางการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์และพฤติกรรมการตัดสินใจของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬใน 5 ด้าน คือ ด้านดี : การควบคุมตนเอง ด้านดี : ความรับผิดชอบ ด้านเก่ง : การมีแรงจูงใจ ด้านสุข : ความภูมิใจในตนเอง และด้านสุข : ความพอใจในชีวิต

Abstract

ABSTRACT

This study aimed to investigate, compare and find out the relationship between emotional quotient and the school administrators’ administrative decision making behaviors in schools under the Office of Bueng Kan Primary Educational Service Area and find out guidelines for development of the emotional quotient and the schooladministrators’ administrative decision making behaviors in schools in the academic year 2014. The samples consisted of 332 school administrators, deputy administrators or acting in the position of the director and teachers in schools under the Office of Bueng Kan Primary Educational Service Area. The tool used to collect data was a rating scale questionnaire. Statistics employed included percentage, mean, standard deviation, t-test, F-test (One-Way ANOVA) and Chi-square Test.

The findings were as follows:

1. The emotional quotient of the school administrators in the schools was at the high level as a whole.

2. The behavioral decision making of the school administrators in the schools and the behavioral decision making model were   most categorized into the third group. The members in the group collaboratively made decision together.

3. The emotional quotient of the school administrators in the schools in the opinions of the school administrators, deputy administrators or acting in the position and teachers in the schools classified by position attained showed no significant differences in general and in particular.

4. The behavioral decision making of the school administrators in the schools in the perception of the school administrators, deputy administrators or acting in the position and teachers classified by position attained  and the behavioral decision making model was significantly different at the .05 level.

5. The emotional quotient of the school administrators in the schools as perceived by the school administrators, deputy administrators or acting in the position and teachers in schools of different working experience was significantly different at the .01 level.

6. The behavioral decision making of the school administrators in the schools in the perception of the school administrators, deputy administrators or acting in the position and teachers classified by different working experience and the behavioral decision making model showed no significant differences in general.

7. The emotional quotient of the school administrators in the schools in the opinions of the school administrators, deputy administrators or acting in the position and teachers classified by school size  showed no significant differences  in general.

8. The behavioral decision making of the school administrators in the schools in the perception of the school administrators, deputy administrators or acting in the position and teachers classified by school size and the behavioral decision making model was significantly different at the .01 level.

9. The researcher proposed the guidelines in the development of studying the relationship between emotional quotient and the school  administrators’ administrative decision making behaviors in the schools under the Office of Bueng Kan Primary Educational Service Area comprising : On goodness : self-control, and responsibility; On cleverness : reinforcement ; On happiness : self-esteem.

คำสำคัญ

ความฉลาดทางอารมณ์, พฤติกรรมการตัดสินใจ

Keyword

Emotional Quotient, Decision Making Behaviors

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093