...
...
เผยแพร่: 15 เม.ย. 2559
หน้า: 167-176
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 384
Download: 183
Download PDF
การพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนโพธิ์ชัยทองพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23
Development of the Students’ Care System Application at Pho Chai Thong Phitthayakhom School under the Office of the Secondary Educational Service Area 23
ผู้แต่ง
ศราวุฒิ แก้วอาจ, วัฒนา สุวรรณไตรย์, ธวัชชัย ไพใหล

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนโพธิ์ชัยทองพิทยาคม2) หาแนวทางพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและ 3) ติดตามผลการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนโพธิ์ชัยทองพิทยาคมโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) ดำเนินการ 2 วงรอบ แต่ละวงรอบประกอบด้วย 4ขั้นตอน คือ  ขั้นการวางแผน  ขั้นการปฏิบัติการ  ขั้นการสังเกตการณ์และขั้นการสะท้อนกลับ กลุ่มเป้าหมายของการวิจัยครั้งนี้คือ กลุ่มผู้ร่วมวิจัย 20 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล 44 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถาม แบบทดสอบ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต แบบบันทึกการประชุม แบบประเมินผลการนิเทศ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าร้อยละความก้าวหน้าข้อมูลเชิงคุณภาพผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์เนื้อหา จัดหมวดหมู่ของเนื้อหาและนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์

ผลการวิจัย พบว่า

1.   สภาพและปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนโพธิ์ชัยทองพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 23

1.1 สภาพการดำเนินงาน พบว่า ครูทุกคนเห็นความสำคัญและประโยชน์ของการพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน แต่การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนยังไม่มีประสิทธิภาพ และมีความต้องการที่จะพัฒนาตนเองให้มีความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

1.2 ปัญหาการดำเนินงาน พบว่าครูขาดความรู้ความเข้าใจและทักษะในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและขาดความมั่นใจในการปฏิบัติการดำเนินระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ไม่สามารถนำความรู้ ความเข้าใจไปสู่การปฏิบัติได้ตามกระบวนการ

2. แนวทางพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่โรงเรียนวงรอบที่ 1 ใช้แนวทางการพัฒนา 2 แนวทาง ประกอบด้วย 1) การประชุมเชิงปฏิบัติการ และ 2) การนิเทศภายใน วงรอบที่ 2 ใช้แนวทางพัฒนาโดยการนิเทศแบบให้คำชี้แนะ (Coaching)

3. ผลการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่โรงเรียนพบว่า

3.1 ครูมีความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพิ่มขึ้น

3.2 ครูมีทักษะในการปฏิบัติงานดำเนินระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนทั้ง 5 ขั้นตอน เพิ่มมากขึ้น คือ ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ด้านการคัดกรองนักเรียน ด้านการส่งเสริมนักเรียน การป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียนและด้านการส่งต่อนักเรียน

Abstract

ABSTRACT

This study aimed to 1) investigate the states and problems of the students’ care system application at Pho Chai Thong Phitthakhom School, 2) find out guidelines of the students’ care system implementation, 3) monitor effects of development of the students’ care system implementation at the School. A 2-spiral participatory action research with 4 stages including: planning, action, observation and reflectionwas employed. The population consisted of the researcher and 19 co-researchers along with 44 respondents. Tools used comprised a questionnaire, a test, a form of interview, a form of observation, a form of meeting minutes, and a form of meeting minutes. Quantitative data were analyzed by mean, percentage, standard deviation and Percentage of Progress. Content analysis in forms of content classification and descriptive presentation were applied for qualitative data.

The findings were as follows:

1. The states and problems on the students’ care system application in Pho Chai Thong Phitthayakhom School could be concluded that:

1.1 The states of the application on the care system among the students at the school revealed that all teachers paid attention to the significance   of the development of the care system for the students but the implementation was inefficient and it needed to be developed in order to develop themselves to gain knowledge, understanding  on the process of the students’ care system implementation.

1.2 The problems indicated that the teachers lacked knowledge, understanding and skills in applying thye students’ care system and they also faced a lack of self-confidence in using the implementation of the students’ care system and they also could not bring and put knowledge, understanding into practice.

2. The guidelines in the application of the students care procedure at the School, in the first spiral, included 2 means : 1) a workshop, 2) internal supervision. In the second spiral, coaching spiral was applied.

3. The effects of development on the students’care system at the School indicated that:

3.1 The teachers gained better knowledge and understanding on the implementation of the students’ care system.

3.2 The teachers gained skills in the application on the students’ care procedure in the following 5 stages at the better degree: knowing individual students, screening the students, promotion of the students, problem solving for the students as well as transfer of the students.

คำสำคัญ

การพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

Keyword

Development of the Students’ Care System Application

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093