...
...
เผยแพร่: 15 เม.ย. 2559
หน้า: 158-166
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 282
Download: 166
Download PDF
การพัฒนาพนักงานครู ในการผลิตสื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดเทศบาลตำบลอากาศอำนวย อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร
A Development of Nursery Teacher Potential on Producing and Using Instructional Media in Child Development Centers under Tambon Akatumnuay Municipal District, Akatumnuay, Sakon Nakhon
ผู้แต่ง
เกตสุดา อุณาพรหม, ธวัชชัย ไพใหล, ปาริชาติ โน๊ตสุภา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมาย 1. เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการพัฒนาพนักงานครู ในการผลิตสื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลตำบลอากาศอำนวย อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร   2. เพื่อหาแนวทางการพัฒนาพนักงานครู ในการผลิตสื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลตำบลอากาศอำนวย อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร 3. เพื่อติดตามผลการพัฒนาพนักงานครู ในการผลิตสื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลตำบลอากาศอำนวย อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนครโดยใช้การประชุมเชิงปฏิบัติการ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย จำนวน 7 คน ได้แก่ พนักงานครูของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลตำบลอากาศอำนวย อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1. แบบสอบถามสภาพและปัญหา 2. แบบทดสอบความรู้ ก่อนและหลังการพัฒนา 3. แบบบันทึกการสัมภาษณ์ 4. แบบสังเกตพฤติกรรม 5. แบบบันทึกการนิเทศติดตาม 6. แบบสอบถามหลังการพัฒนา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพปัญหา และความต้องการในการผลิตสื่อการเรียนรู้ของพนักงานครู สำหรับเด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลตำบลอากาศอำนวย เมื่อแยกเป็นรายด้านสรุปได้ดังนี้สภาพ ด้านบุคลากร
ด้านการบริหาร พบว่า อยู่ในระดับ “มาก” และด้านแหล่งข้อมูลในการศึกษาค้นคว้า โดยรวมพบว่า อยู่ในระดับ “ปานกลาง” ปัญหา ด้านบุคลากร ด้านการบริหาร พบว่า อยู่ในระดับ “ปานกลาง” และด้านแหล่งข้อมูลในการศึกษาค้นคว้า โดยรวมพบว่า อยู่ในระดับ “มาก” ความต้องการ ด้านบุคลากร ด้านการบริหารและด้านแหล่งข้อมูลในการศึกษาค้นคว้า พบว่าอยู่ในระดับ “มาก”

2. แนวทางการพัฒนา มี 2 แนวทาง คือ การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการนิเทศภายใน

3. ผลการติดตามการพัฒนาพนักงานครูในการผลิตสื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย พบว่า ในการประชุมเชิงปฏิบัติการ ทำให้พนักงานครู มีความรู้ ความเข้าใจ และเกิดทักษะในการผลิตสื่อการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้นซึ่งผลการนิเทศภายใน พบว่า พนักงานครูมีการพัฒนาทักษะการผลิตสื่อการเรียนรู้อยู่ในระดับ “มาก”  เรียงตามลำดับ 3 ด้าน คือ ด้านประโยชน์ที่นักเรียนได้รับจากการใช้สื่อการเรียนรู้ ด้านนักเรียนมีส่วนร่วมในการใช้สื่อการเรียนรู้ และด้านครูเกิดทักษะด้านการผลิตสื่อการเรียนรู้

Abstract

ABSTRACT

The objective of this study were to : The objectives of this study were to 1) explore current, problems and needs on the use of instructional  media for early childhood at Child Development  Center under Tambon Akatumnuay Municipal District,Akatumnuay, Sakon Nakhon 2) find out means to develop the early childhood teachers’ competence in producing instructional media, 3) monitor and evaluate the development of early childhood teachers’ competency in producing instructional media. Thesubjects were 6 child caregivers at Child Development Center under Tambon Akatumnuay Municipal District. Tools used to collect data included 1) a set of questionnaires, 2) a test on knowledge and understanding of instructional media production, 3) a form of interview, 4) an observation form on the production of instructional media,      5) a record of supervision, 6) a questionnaire development. Statistics utilized were percentage, mean and standard deviation.

The results of this research were as fellows:

1. The state of personnel, administrative were as with the much level But in data source Research were as with the medium level. The problems of personnel, administrative were as with the medium level But in data source Research were as with the much level. The need of personnel, administrative and data source Research were as with the much level.

2. The means to develop the child caregivers in producing instructional media to be utilized at child Development Center were composed of 1) the operation of participatory action research, 2) follow-up and supervision.

3. Regarding the monitoring and assessment on the development of the child caregivers potential based on producing early childhood’s instructional media, it was found In the workshop Make teachers with the knowledge, understanding and skills in the production of learning materials is increasing. The results of supervision that teachers have the skills to produce learning in a much level sequentially three aspects of the students have been learning from the media. The students involved in the learning. The teacher and skill in producing learning materials.

คำสำคัญ

สื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก, การประชุมเชิงปฏิบัติการ

Keyword

learning Media for childhood, Child Development Center, Work Shop

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093