บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสภาพและปัญหาการใช้แหล่งเรียนรู้จำแนกตามสถานภาพ เพศและห้องการสาย และหาแนวทางพัฒนาการจัดการใช้แหล่งเรียนรู้ของวิทยาลัยครู สะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร อาจารย์และนักศึกษา จำนวน 460 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า และแบบสอบถามแนวทางการพัฒนาการใช้แหล่งเรียนรู้ ของวิทยาลัยครูสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมติฐานด้วยวิธีการทางสถิติโดยใช้ F-test (One Way ANOVA)
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพการใช้แหล่งเรียนรู้ของวิทยาลัยครูสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร อาจารย์และนักศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านแหล่งเรียนรู้ภายในและด้านแหล่งเรียนรู้ภายนอก
2. ปัญหาการใช้แหล่งเรียนรู้ของวิทยาลัยครูสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวตามความคิดเห็นของผู้บริหาร อาจารย์และนักศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านแหล่งเรียนรู้ภายในและด้านแหล่งเรียนรู้ภายนอก
3. สภาพการใช้แหล่งเรียนรู้ ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร อาจารย์และนักศึกษาของวิทยาลัยครูสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีความคิดเห็นโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนปัญหาการใช้แหล่งเรียนรู้ โดยรวมไม่แตกต่างกัน
4. สภาพการใช้แหล่งเรียนรู้ ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร อาจารย์และนักศึกษาที่มีเพศต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการใช้แหล่งเรียนรู้โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนปัญหาการใช้แหล่งเรียนรู้ โดยรวมไม่แตกต่างกัน
5. สภาพและปัญหาการใช้แหล่งเรียนรู้ ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร อาจารย์และนักศึกษาที่สังกัดห้องการสายต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการใช้แหล่งเรียนรู้ โดยรวมไม่แตกต่างกัน
6. การวิจัยครั้งนี้ได้นำเสนอแนวทางการพัฒนาการใช้แหล่งเรียนรู้ในวิทยาลัยครูสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ด้านที่ควรได้รับการพัฒนา ทั้ง 2 ด้าน ได้แก่ แหล่งเรียนรู้ภายในและแหล่งเรียนรู้ภายนอก
Abstract
ABSTRACT
This purposes of this research was to study and comparison state and problems of learning resource management ,under Savannakhet Teacher Training College in Lao People's Democratic Republic by status, sex and faculty and to find out ways to develop the learning resource management ,under Savannakhet Teacher Training College in Lao People's Democratic Republic.The sample group in This research is 460 pe rsons of administrators teachers and students in Savannakhet Teacher Training College in Lao People's Democratic Republic. Instruments used comprised a set of rating – scale questionnaires and questionnaires on the conduction of learning resource management, under Savannakhet Teacher Training College in Lao People's Democratic Republic. Statistics employed were percentage, mean, standard deviation and F-test (One-Way ANOVA)
The findings were as follow :
1. The state of learning resource management, under Savannakhet Teacher Training College in Lao People's Democratic Republic as a whole were at a moderate level, beginning with the higher aspect to lower ones: inside resources and external resources.
2. The problem of learning resource management, under Savannakhet Teacher Training College in Lao People's Democratic Republicas a whole were at a moderate level, beginning with the higher aspect to lower ones: inside resources and external resources.
3. The state of learning resource management, under Savannakhet Teacher Training College in Lao People's Democratic Republic in different status were significantly different at .01 level. The problem of learning resource management, under Savannakhet Teacher Training College in Lao People's Democratic Republicas in different status were not different.
4. The state of learning resource management, under Savannakhet Teacher Training College in Lao People's Democratic Republic in different sex were significantly different at .05 level. The problem of learning resource management, under Savannakhet Teacher Training College in Lao People's Democratic Republicas in different status were not different.
5. The state and problem of learning resource management, under Savannakhet Teacher Training College in Lao People's Democratic Republic in different faculty were not different.
6. This study proposed means to develop the implementation of the learning resource management, under Savannakhet Teacher Training College in Lao People's Democratic Republic that should have been developed and included comprised 2 respect was inside resources and external resources.
คำสำคัญ
สภาพและปัญหา, การใช้แหล่งเรียนรู้Keyword
state and problems, learning resource managementกำลังออนไลน์: 222
วันนี้: 1,331
เมื่อวานนี้: 1,743
จำนวนครั้งการเข้าชม: 14,917
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093