...
...
เผยแพร่: 15 เม.ย. 2559
หน้า: 66-76
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 424
Download: 165
Download PDF
การบริหารระบบการแนะแนวในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1
Guidance System Management in School Under Loei Primary Educational Service Area Office 1
ผู้แต่ง
พิสิษฐ์ จริยเอกวิทย์, สมศักดิ์ สีดากุลฤทธิ์, จำนงค์ ศรีมังกร

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสภาพและปัญหาการบริหารระบบการแนะแนวในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1กลุ่มตัวอย่างคือข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 รวมจำนวนทั้งสิ้น 319 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ

ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบค่าเอฟ  (F-test)

ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพการบริหารระบบการแนะแนว โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน  ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ  ด้านการกำหนดเป้าหมาย  กลยุทธ์และแผนพัฒนาคุณภาพงานแนะแนว  รองลงมาได้แก่  ด้านการจัดระบบบริหารและระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการแนะแนว และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ  ด้านการรายงานผลการดำเนินงานของระบบการแนะแนว

2. การเปรียบเทียบสภาพการบริหารระบบการแนะแนว โดยภาพรวมและรายด้าน  เมื่อจำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ไม่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญ .05

3. การเปรียบเทียบสภาพการบริหารระบบการแนะแนว จำแนกตามประสบการณ์ทำงานโดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญ .05 

4. การเปรียบเทียบสภาพการบริหารระบบการแนะแนว จำแนกตามขนาดโรงเรียนโดยภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามในโรงเรียนขนาดใหญ่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพสูงกว่าโรงเรียนขนาดเล็กและขนาดกลาง

5. ปัญหาการบริหารระบบการแนะแนว  โดยภาพรวม อยู่ในระดับน้อย  ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ  ด้านการรายงานผลการดำเนินงานของระบบการแนะแนว  รองลงมาได้แก่  ด้านการดำเนินงานแนะแนวและแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมแนะแนว  และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ  ด้านการกำหนดเป้าหมาย  กลยุทธ์  และแผนพัฒนาคุณภาพงานแนะแนว

6. การเปรียบเทียบปัญหาการบริหารระบบการแนะแนว โดยภาพรวมและรายด้านเมื่อจำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ไม่แตกต่างกัน  ที่ระดับนัยสำคัญ .05

7. การเปรียบเทียบปัญหาการบริหารระบบการแนะแนวในโรงเรียน จำแนกตามประสบการณ์ทำงาน โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน   ที่ระดับนัยสำคัญ .05

8. การเปรียบเทียบปัญหาการบริหารระบบการแนะแนวในโรงเรียน จำแนกตามขนาดโรงเรียน

โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญ .05

Abstract

ABSTRACT

The purposes of this research were to investigate and compare the state and problems of the guidance system in schools under Loei Primary Educational Service Area Office 1.  The 319 research sample are teachers and educational personnel drawn from the schools under Loei Primary Educational Service  Area Office 1. A questionnaire was applied for data collection which the statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test and F-test.

The research findings were found as follows :

1. The overall aspect as well as by aspect of the state of the guidance system management was evidently found at a high level.  The highest mean was the goal setting, strategic and quality improvement plan of the guidance.  It was followed by the management and information system of the guidance then the report of the guidance system operation was obviously found at the lowest mean.

2. The comparison between the state of the guidance system management classifying by the respondents’ standing positions was indifferent in overall and by aspect.  at .05  level.

3. The comparison between the state of the guidance system management classifying by their work experience, it was indifferent in overall and by aspect at. .05 level.

4. The state of guidance system management which classified by the respondents’ school sizes, it was obviously found the difference with the statistical significance at .05 level.  The result showed that the respondents from large schools had the opinion about the state of the guidance system management higher than the respondents from small and medium-sized schools.

5. The overall aspect of the guidance system’s problem was found at a low level. The highest mean was the operation report of the guidance system then followed by the operation, planning, project and activities of guidance whist the goal setting, strategic and quality improvement plan of the guidance was clearly found at the lowest mean.

6. The comparison between the problems of guidance system classifying by the respondents’ standing positions, it showed that the problems were indifferent in overall aspect as well as by aspect at  05  level.

7. The problem comparison between the problem of the guidance classifying by the respondents’ work experience, the result was revealed that the respondents’ opinions were indifferent in overall and by aspect at .05 level.  

8. If comparing the problems of the guidance system in the schools which classified by the respondents’ school sizes, it was showed that the problems were indifferent in overall aspect as well as by aspect at .05 level.

คำสำคัญ

ระบบการแนะแนวในโรงเรียน

Keyword

guidance system management in school.

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093