...
...
เผยแพร่: 15 ต.ค. 2558
หน้า: 220-231
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 368
Download: 199
Download PDF
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมโรงเรียนอนุบาลมนเทียร สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2
Participatory action research to develop the physical plants and environ ment at anuban Monthianschool under the office of sakon nakhon primary educational service area 2
ผู้แต่ง
มนเทียร อุปชา, ไชยา ภาวะบุตร, ธวัชชัย ไพใหล

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมโรงเรียนอนุบาลมนเทียร 2) หาแนวทางการพัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมโดยใช้กิจกรรม 5 ส โรงเรียนอนุบาลมนเทียร และ 3) ติดตามและประเมินผลการพัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมโดยใช้กิจกรรม 5 ส โรงเรียนอนุบาลมนเทียร สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ จานวน 47 คน ประกอบด้วย กลุ่มผู้ร่วมวิจัย จานวน 7 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล จานวน 40 คน โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 4 ขั้นตอน ดังนี้ คือ ขั้นการวางแผน ขั้นการปฏิบัติการ ขั้นการสังเกตการณ์ และขั้นการสะท้อนกลับ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต แบบบันทึก และแบบประเมินความพึงพอใจ โดยใช้กิจกรรม 5 ส การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมารฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพผู้วิจัยได้ทาการวิเคราะห์เนื้อหา จัดหมวดหมู่และนาเสนอข้อมูลเชิงพรรณาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพและปัญหาการพัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม โดยใช้กิจกรรม 5 ส โรงเรียนอนุบาลมนเทียร สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2
1.1 ด้านสภาพ พบว่า โรงเรียนยังไม่ได้วางแผน ดาเนินการงานด้านอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมที่ชัดเจน ขาดความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ครูมีภาระงานมากส่งผลให้ไม่มีเวลาในการพัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมเท่าที่ควร
1.2 ด้านปัญหา พบว่า บรรยากาศในการจัดการเรียนการสอนไม่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้และบุคากรไม่เอาใจใส่ขาดความกระตือรือร้นในการพัฒนาด้านอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม
2. แนวทางในการพัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม โดยใช้กิจกรรม 5 ส ประกอบด้วย 1) การศึกษาดูงานโรงเรียนต้นแบบ 2) การอบรมเชิงปฏิบัติการ 3) การจัดกิจกรรมพัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม 3.1 ปฏิบัติตามกิจกรรม 5ส 3.2 จัดประกวดเขตพื้นที่ดีเด่น และ 4) การกากับ ติดตาม และประเมินผลการดาเนินงานอย่างต่อเนื่องและสม่าเสมอ

3. การติดตามและประเมินผลการพัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม โดยใช้กิจกรรม 5 ส พบว่า ภายหลังการดาเนินงานกิจกรรม 5 ส ส่งผลให้ 1) บุคลากรเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผน เสนอความคิดเห็น ร่วมพัฒนางานอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม 2) มีการปรับปรุงบริเวณรอบๆ อาคารเรียน สวนหย่อม จัดตกแต่งปลูกไม้ดอกไม้ประดับ ทาให้เกิดความร่มรื่นสวยงาม 3) มีการประกาศให้รางวัลเขตบริการดีเด่นทุกเช้าวันศุกร์ และ 4) สภาพแวดล้อมเอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ ส่งผลให้เป็นที่พึงพอใจของผู้ร่วมวิจัย นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองที่เข้ามาเยี่ยมชมเป็นอย่างยิ่ง

Abstract

ABSTRACT
The purposes of this participatory action research were to 1) examine the current conditions and problems of the development of the physical plants and environment at Anuban Monthian School, 2) find out guidelines for developing the physical plants and environment through 5S activities at Anuban Monthian School, 3) monitor and evaluate the development of the physical plants and environment through 5S activities at Anuban Monthian School under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 2. The target groups consisted of 7 research participants and 40 informants-a total of 47 participants. PAR of 4 stages including:planning, action,observation and reflection was employed. The research instruments used were a form of interview, a form of observation, a form of records and a form of satisfaction evaluation based on the use of 5S activities. Quantitative data were analyzed using mean, percentage and standard deviation. To analyze qualitative data, Content Analysis was used in forms of content classification and descriptive presentation.
The effects of this study were as follows:
1. The current conditions and problems of the development of the physical plants and environment through 5S activities at Anuban Monthian School revealed that: 1.1 In case of the conditions, it was determined that the school had no significant and vital plans in developing the physical plants and environment. There was less cooperation of relevant stakeholders in such activities. The teachers with heavy teaching loads could rarely spare their time in helping develop the school physical plants and environment. 1.2 In terms of problems, it was found that the atmosphere of managing learning was not conducive to learning implementation. The educational personnel lacked close attention and enthusiasm toward the development of the school physical plants and environment.
2. The guidelines for the development of the physical plants and environment though 5S activities at Anuban Monthian School fell into six categories: 1) a study tour at a best practice school for 5S activities, 2) a workshop, 3) an implementation of the school physical plants and environment activities. 3.1) application of 5S activities, 3.2) competition of outstanding areas, and 4) continuous monitoring, overseeing and evaluation of job performances.
3. The effects of the monitoring and evaluation of the activities of the school physical plants and environment development through the use of 5S activities,after the intervention, revealed that the activity application affected the following aspects: 1) The school personnel participated in planning, sharing ideas,and cooperating in developing the physical plants and environment, 2) The school areas,ornamental gardens were beautifully decorated and renovated consequently making the school environment aesthetically pleasing and safe for the students, 3) Awards for outstanding service areas were presented every Friday morning at the students’ assembly in front of the flag pole , 4) The school atmosphere conducive to learning management made the co-researchers, students, members of the school committee and parents/guardians satisfied and repeatedly paid a visit to the school

คำสำคัญ

พัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมโรงเรียน

Keyword

Physical Plants and Environ Ment.

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093