...
...
เผยแพร่: 15 ต.ค. 2558
หน้า: 211-219
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 400
Download: 180
Download PDF
สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3
School Administrator’s Competency in the Perception of Teachers in Schools Under the Office of Sakol Nakhon Primary Educational Service Area 3
ผู้แต่ง
ณีรนุช แก้วบัวสา, สวัสดิ์ โพธิวัฒน์, สมเกียรติ พละจิตต์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครู 2) เปรียบเทียบสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามเพศ, วุฒิการศึกษา, ขนาดโรงเรียน, ระดับชั้นเรียนที่สอน, ประสบการณ์การทำงาน, อำเภอ และตำแหน่งหน้าที่ และ 3) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาเกี่ยวกับสมรรถนะทางการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในครั้งนี้ คือ ครูจำนวน 340 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และหาแนวทางพัฒนาการดำเนินงานโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าคะแนนเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ t-test และ F-test (One-Way ANOVA)

ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้

1. ผู้บริหารสถานศึกษา มีสมรรถนะหลักตามการรับรู้ของครูโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานมาก และสมรรถนะประจำสายงานอยู่ในระดับปานกลาง

2. ครูที่มีเพศต่างกัน วุฒิทางการศึกษาต่างกัน ขนาดโรงเรียนต่างกันระดับชั้นเรียนที่สอนต่างกัน ประสบการณ์การทำงานต่างกัน ตำแหน่งหน้าที่ต่างกัน มีการรับรู้เกี่ยวกับการใช้สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาโดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนครูที่สอนในโรงเรียนต่างอำเภอกัน มีการรับรู้เกี่ยวกับการใช้สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. แนวทางพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา ตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญในด้านที่เป็นจุดด้อย 2 ด้าน ได้แก่ สมรรถนะวิเคราะห์และสังเคราะห์ และสมรรถนะการสื่อสารและจูงใจ

Abstract

ABSTRACT

This study aimed at 1) Investigating school administrators’ competence in schools under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 3 as Perceived by Teachers, 2) Comparing school administrators’ potential in schools classified by gender, educational qualification, school size, level of Teaching, working experience, district of location, as well as status. 3) Exploring guidelines of the potentiality development of school administrators in schools. Samples consisted of those concerned with the doing of thesis including 340 teachers. A tool used was a 5-level rating scale questionnaire. Data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, t-test and F-test (One-way ANOVA).

The findings were as follows:

1. The school administrators’ core competence in the schools under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 3 was at the high level and the school administrators’ functional competence in the schools under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 3 was at the moderate level.

2. The perception of the teachers with different gender educational qualification, school size, level of teaching, working experience, district of location, as well as status toward the school administrators’ competency, as a whole, showed no significant differences. The teachers who taught at the schools located in different districts obtained the perception toward the school administrators’ potential at the .01 level of significance.

3. The guidelines of school administrators’ potentiality upon the recommendations of the experts. in case of the weak points included analytical thinking competence and communication and influencing competence.

คำสำคัญ

สมรรถนะ การรับรู้

Keyword

Competency Perception

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093