บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน ปฏิบัติงานอยู่ในจังหวัดต่างกัน ขนาดของโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน 3) หาแนวทางการพัฒนาพฤติกรรมการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรม การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 ปีการศึกษา 2557 ในพื้นที่ 2 จังหวัด คือ จังหวัดนครพนม 51 โรงเรียน และจังหวัดมุกดาหาร 30 โรงเรียน รวมโรงเรียนจำนวน 81 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในวิจัย คือ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 405 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ t–test (Independent Samples) และ F–test (One–Way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า
1. พฤติกรรมการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน อยู่ในระดับมาก
2. ผลการเปรียบเทียบ ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพ โดยภาพรวมแล้วไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า หลักคุณธรรม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ หลักความรับผิดชอบ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านอื่นๆ ไม่แตกต่าง
3. ผลการเปรียบเทียบ ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำแนกตามปฏิบัติงานอยู่ในจังหวัดต่างกัน โดยภาพรวม มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า หลักคุณธรรม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้านอื่นๆ ไม่แตกต่าง
4. ผลการเปรียบเทียบ ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า หลักคุณธรรม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ หลักความรับผิดชอบ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านอื่นๆ ไม่แตกต่าง
5. ผลการเปรียบเทียบ ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า หลักคุณธรรม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 หลักความโปร่งใส และหลักความคุ้มค่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านอื่นๆ ไม่แตกต่าง
6. แนวทางการพัฒนาพฤติกรรมการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 ตามหลักธรรมาภิบาลที่ควรนำมาพัฒนา มีทั้งหมด 4 หลัก คือ หลักนิติธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม และหลักความคุ้มค่า
Abstract
ABSTRACT
This study aimed to 1) investigate administrative behaviors based on good governance of the school administrators, 2) compare administrative behaviors based on good governance as perceived by the school administrators and teachers working in the different provinces, different school size and different working experience, and 3) find out guidelines in developing administrative behaviors based on good governance among the school administrators. The population used in this study consisted of those concerned with administrative behaviors based on good governance among the school administrators in schools under the Office of the Secondary Educational Service Area 22 in the academic year 2014 in the area of 2 provinces: 51 schools in Nakhon Phanom and 30 schools in Mukdahan-a total of 81 schools altogether. Samples were 405 persons concerned with administrative behaviors. A tool used was a 5-level rating scale questionnaire. To analyze data, percentage, mean, standard deviation, t-test (Independent Samples) and F-test (One-Way ANOVA) were employed.
The findings were as follows:
1. The administrative behaviors based on good governance of the school administrators as perceived by the schools administrators and teachers were at the high level.
2. The effects of comparison in the perception of the school administrators and teachers classified by status showed no significant differences. When each aspect was considered, it was found that the principle of morality was significantly different at the .01 level. The principle of responsibility was different at the .01 level of significance. The rest showed no significant differences.
3. The effects of comparison on the perception of the school administrators and teachers classified by working experience differed significantly at the .05 level. When each aspect was considered, it was determined that the principle of morality was different at the .01 level of significance. The rest showed no significant differences.
4. The effects of comparison on the opinions of the school administrators and teachers classified by school size, in general, showed no significant differences. When separately considered, it was found that the principle on morality was significantly different at the .01 level. The principle on responsibility differed significantly at the .05 level. There were no significant differences in the rest.
5. The effects of comparison on the perception of the school administrators and teachers classified by working experience, as a whole and in each aspect, were different at the .05 level of significance. When separately considered, it was determined that the principle on morality was significantly different at the .01 level. The principle on transparency and principle on worthiness differed significantly at the .05 level. The rest showed no significant differences.
6. The guidelines on the development of administrative behaviors based on good governance of the school administrators and teachers that should be developed included the following 4 principles: principle on law, principle on transparency, principle on participation as well as principle on worthiness.
คำสำคัญ
พฤติกรรมการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลKeyword
Administrative Behaviors Based on Good Governanceกำลังออนไลน์: 19
วันนี้: 91
เมื่อวานนี้: 1,728
จำนวนครั้งการเข้าชม: 63,096
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093