บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ ศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียน ตามทัศนะของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 เปรียบเทียบ คุณลักษณะ ที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียน ตามทัศนะของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดโรงเรียน และหาแนวทางยกระดับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียน ตามทัศนะของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 330 คน โดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) และใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพทั่วไปของครูและแบบสอบถาม เกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียน การวิเคราะห์ เปรียบเทียบความคิดเห็นของครู เกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียน ตามทัศนะของครู ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 22 ตัวแปร เพศ วุฒิการศึกษา ใช้การทดสอบค่าที (t-test) ส่วนตัวแปรประสบการณ์ในการทำงาน ขนาดโรงเรียนใช้แบบทดสอบ (F-test) ใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวน แบบทางเดียว (One – way ANOVA) เมื่อพบความแตกต่างทดสอบ รายคู่ โดยวิธีการของเซฟเฟ่ (Scheffe’s Method) แล้วนำเสนอในรูปตารางประกอบความเรียง
ผลการวิจัยพบว่า
1. คุณลักษณะของผู้บริหารโรงเรียน ตามทัศนะของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 ด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากทุกข้อ ส่วนคุณลักษณะด้านวิชาชีพ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากทุกข้อ
2. การเปรียบเทียบลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียน ตามทัศนะ ของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 พบว่า จำแนกตามเพศ คุณลักษณะส่วนบุคคล โดยภาพรวมแตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ด้านมนุษยสัมพันธ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามวุฒิการศึกษา พบว่า โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน พบว่า โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ด้านบุคลิกภาพ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และจำแนกตามขนาดโรงเรียน พบว่าโดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ด้านคุณธรรม จริยธรรม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้านความเป็นผู้นำ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และคุณลักษณะด้านวิชาชีพ พบว่า โดยภาพรวมและรายข้อ ไม่แตกต่างกัน
3. แนวทางในการยกระดับที่เหมาะสมในการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียน ตามทัศนะของเชี่ยวชาญ คือ คุณลักษณะส่วนบุคคล ด้านมนุษยสัมพันธ์ และด้านความเป็นผู้นำคุณลักษณะด้านวิชาชีพ ด้านความรู้เกี่ยวกับงาน และด้านทักษะความสามารถ
Abstract
ABSTRACT
This study aimed to investigate desirable characteristics of school administrators as perceived by teachers in schools, compare desirable characteristics of school administrators in the opinions of teachers in schools classified by gender, educational qualifications, working experience and school size, and uplift desirable characteristics of school administrators in the perception of teachers in schools under the Office of the Secondary Educational Service Area 22. Samples consisted of 330 teachers in schools under the Office of the Secondary Educational Service Area 22 in the academic year 2014 using Krejcie and Morgan’s tables and multistage random sampling. Tools used to collect data were a questionnaire on general status of school administrators as well as a questionnaire on desirable characteristics of school administrators. A comparative analysis was employed on teachers’ opinions concerning desirable characteristics of school administrators as perceived by teachers in schools under the Office of the Secondary Educational Service Area 22. Variables on gender, educational qualification were analyzed by t-test. Variables on working experience and school size were analyzed through F-test (One-Way ANOVA). Pairwise was analyzed by Scheffe’s Method. Tables were presented in forms of a descriptive analysis.
The findings were as follows:
1. The school administrators’ characteristics in the opinions of the teachers in the schools under the Office of the Secondary Educational Service Area 22 on individual characteristics, in eneral, were at the high level. When separately considered, it was found that every item was at the high level. In case of occupational characteristics, it was determined that they were at the high level as a whole. When each aspect was considered, it was found that every item was at the high level.
2. The comparison of the desirable characteristics of the school administrators in the Perception of the teachers in the schools under the Office of the Secondary Educational Service Area 22 revealed that the individual characteristics classified by gender were significantly different in general. When each aspect was considered, it was found that there was a difference on human relations at the .05 level of significance. When classified by educational qualification, it was determined that there were no significant differences. When classified by working experience, it was found that there were no differences. When separately considered, there was a difference on personality at the .01 level of significance. When classified by school size, it was determined that there were no significant differences as a whole. When ach aspect was considered, it was found that morality and ethics indicated a significant difference at the .05 level. In case of leadership, there was a difference at the .01 level of significance. On occupational characteristics, there were no significant differences both in general and in particular.
3. The guidelines on the appropriate uplift in developing the desirable characteristics of the school administrators as perceived by the experts included individual characteristics concerning human relations and leadership. The occupational characteristics comprised knowledge on jobs and skills and abilities as well.
คำสำคัญ
คุณลักษณะที่พึงประสงค์, ผู้บริหารโรงเรียนKeyword
the characteristics, the school administratorsกำลังออนไลน์: 57
วันนี้: 2,337
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 57,536
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093