...
...
เผยแพร่: 15 ต.ค. 2558
หน้า: 142-150
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 393
Download: 193
Download PDF
การพัฒนาศักยภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนบ้านนาคอย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2
Development of Teachers’ Potential in Conducing Classroom At Bannakoi School Under the Office of Nakhon Phanom Primary Educational Service Area 2
ผู้แต่ง
พินยา ปรานี, ธวัชชัย ไพใหล, รัชฏาพร พิมพิชัย

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหาของการทำวิจัยในชั้นเรียนและความต้องการ พัฒนาศักยภาพครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนบ้านนาคอย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 22) เพื่อหาแนวทางพัฒนาศักยภาพครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนบ้านนาคอย 3) เพื่อติดตามผลการพัฒนาศักยภาพครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู โรงเรียนบ้านนาคอย โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ดำเนินการ 2 วงรอบ แต่ละวงรอบประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การวางแผน (Planning) 2) การปฏิบัติการ (Action) 3) การสังเกตการณ์ (Observation) และ 4) การสะท้อนกลับ (Reflection) กลุ่มเป้าหมายของการวิจัยครั้งนี้ คือ กลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 13 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถามแบบทดสอบ แบบสัมภาษณ์แบบประเมินการเขียนเค้าโครงการทำวิจัยในชั้นเรียนและแบบประเมินการเขียนรายงานการวิจัย ในชั้นเรียน แบบบันทึกการนิเทศ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย  ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละความก้าวหน้าการตรวจสอบข้อมูลเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์เนื้อหาจัดหมวดหมู่ของเนื้อหาและนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์

ผลการวิจัยพบว่า

1. ผลการศึกษาสภาพ ปัญหาของการทำวิจัยในชั้นเรียน และความต้องการพัฒนาศักยภาพครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนบ้านนาคอย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2

1.1 สภาพการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียน พบว่า ครูขาดความรู้ความเข้าใจในการทำวิจัยในชั้นเรียน ครูทำการวิจัยในชั้นเรียนแต่ไม่มีการเขียนรายงานที่เป็นรูปแบบ ส่วนใหญ่รายงานการวิจัยในชั้นเรียนเป็นรายงานการวิจัยแบบไม่เป็นทางการ                               

1.2 ปัญหาการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียน พบว่าครูขาดความรู้ความเข้าใจด้านการวิจัยในชั้นเรียน ขาดทักษะในการสร้างเครื่องมือหรือพัฒนานวัตกรรมครูขาดทักษะและประสบการณ์ในการทำวิจัยใน ชั้นเรียน เวลาที่ใช้ ในการทำวิจัยในชั้นเรียนมีน้อยครูมีภาระงานมากและงบประมาณในการสนับสนุนการวิจัยมีไม่เพียงพอความต้องการพัฒนาศักยภาพในการทำวิจัยในชั้นเรียนคือ ครูมีความต้องการให้มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการทำวิจัยในชั้นเรียน การเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียน 5 บท มีการกระตุ้นให้ครูทุกคนปรับปรุงการเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยในชั้นเรียน ตลอดจนการกำหนดนโยบายเพื่อสนับสนุนให้ครูมีการทำวิจัยในชั้นเรียนทุกคนปรับปรุงการเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยในชั้นเรียน ตลอดจนการกำหนดนโยบายเพื่อสนับสนุนให้ครูมีการทำวิจัยในชั้นเรียนอย่างชัดเจนและมีการนิเทศ กำกับ ติดตาม และให้ความช่วยเหลือครูในการทำวิจัยในชั้นเรียน

2. แนวทางการพัฒนาศักยภาพครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนบ้านนาคอย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 ประกอบด้วยการประชุมเชิงปฏิบัติการ การมอบหมายงาน
และการนิเทศภายใน
3. ผลการพัฒนาศักยภาพครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนบ้านาคอยสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2พบว่า

3.1 ผู้วิจัยและกลุ่มผู้ร่วมวิจัยที่เข้ารับการประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาศักยภาพครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิจัย ในชั้นเรียนเพิ่มมากขึ้น จากร้อยละ 50.51 เพิ่มเป็นร้อยละ 94.86 มีความก้าวหน้าเฉลี่ยร้อยละ 50.51

3.2 ผู้วิจัยและกลุ่มผู้ร่วมวิจัยปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน โดยกำหนดหัวข้อ การวิจัย การเขียนเค้าโครงการวิจัย พร้อมลงมือปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน ได้คนละ 1 เรื่อง รวม 13 เรื่องคุณภาพงานวิจัยอยู่ในระดับมากที่สุด

Abstract

ABSTRACT

This study aimed to 1) investigate states, problems of doing classroom research and needs of doing classroom research at Ban Na Khoi School under the Office of Nakhon Phanom Primary Educational Service Area 2, 2) find out guidelines of developing the teachers’ potentiality in doing classroom research in Ban Na Khoi School, and 3) monitor effects of the teachers’ competence in doing classroom research at Ban Na Khoi School. The 2-spiral action research with 4 stages: planning, action, observation and reflection was applied. The target group consisted of the researcher and 12 co-researchers along with 17 informants. Tools used to collect data were composed of a questionnaire, a test, a form of interview, a form of evaluation of draft writing on classroom research, a form of writing evaluation on classroom research as well as a form of supervision record. Statistics employed to analyze quantitative data were mean, percentage, standard deviation and Percentage of Progress. To analyze qualitative data, content analysis in forms of content classification as well as descriptive analysis were used.

Findings were as follows:

1. The effects of the investigation on the states and problems of doing classroom research along with the needs of the teachers’ potential development on doing classroom research at Ban Na Khoi School could be summarized:

1.1 The states of doing classroom research revealed that the teachers at the School faced a lack of knowledge and understanding of doing classroom research. The teachers did classroom research but they did not write the formal reports. Most of the teachers wrote the informal reports on classroom research.

1.2 The problems of doing classroom research indicated that the teachers had extra working loads other than teaching loads. They obtained few experiences and little time spending for the doing of classroom research. They also encountered a lack of knowledge and understanding in doing classroom research along with the building of materials/equipment or innovation development to solve the problems or to develop the learners. In addition, there were not enough data as well as inadequate budget to support the doing of classroom research.

1.3 The needs in developing the doing of classroom research were that the teachers needed a workshop on the classroom research application. Regarding the 5-chapter report writing, all of the teachers at the School were encouraged to improve their instruction through classroom research. Moreover, the policy on the support of the teachers to do classroom research was clear enough together with supervision, coaching, monitoring and offering assistance to the teachers in doing classroom research.

2. The guidelines of the teachers’ competence development in doing classroom research in Ban Na Khoi School included a workshop, job assignment as well as supervision.

3. The effects of the teachers’ competency development in doing classroom research at Ban Na Khoi School found that:

3.1 The researcher and co-researchers who attended the workshop of developing the teachers’ potential in doing classroom research gained better knowledge and understanding concerning classroom research from 50.51 up to 94.85 with Percentage of Progress of 50.51.

3.2 The researcher as well as co-researchers did the classroom research through the designation of research title, writing of draft along with doing the actual classroom research at least 1 research/teacher- a total of 13 titles. The research quality was at the highest level.

คำสำคัญ

การพัฒนาศักยภาพครู, การวิจัยในชั้นเรียน

Keyword

การพัฒนาศักยภาพครู, การวิจัยในชั้นเรียน

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093