บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1)เพื่อศึกษา สภาพการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาในการจัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามความคิดเห็นของ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และคณะกรรมการสถานศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และคณะกรรมการสถานศึกษา ที่มีต่อสภาพการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา 3) เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และคณะกรรมการสถานศึกษา จำแนกตามอายุ ที่มีต่อสภาพการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา 4) เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และคณะกรรมการสถานศึกษา จำแนกตามขนาดสถานศึกษาที่ปฏิบัติงาน ที่มีต่อสภาพการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาและ 5) หาแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาในการจัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 18 คน ครูและคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 234 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 252 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าทดสอบเอฟ (F-test)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครู และคณะกรรมการสถานศึกษา ที่มีต่อสภาพการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาในการจัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน
2. ความคิดเห็นของ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และคณะกรรมการสถานศึกษา ที่มีต่อสภาพการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาในการจัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน
3. ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครู และ คณะกรรมการสถานศึกษา จำแนกตามอายุ ที่มีต่อสภาพการมีส่วนร่วมของ คณะกรรมการสถานศึกษาในการจัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครู และคณะกรรมการสถานศึกษา จำแนกตามขนาดสถานศึกษาที่ปฏิบัติงาน ที่มีต่อสภาพการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาในการจัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
5. แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาในการจัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่ ด้านติดตามการดำเนินการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
Abstract
ABSTRACT
This study aimed to 1) investigate the conditions of the participation of basic education school committee in non-formal education management as perceived by school directors, teachers, andbasic educational school committee, 2) compare the opinion level of school directors, teachers, and basic education school committee toward the conditions of participation, 3)-4) compare the opinion level of school directors, teachers, and basic education school committee classified by age, and school size toward the conditions of participation, and 5) establish the guidelines for developing the participation in non-formal education management of basic education school committee. The samples, obtained through a multi-stage sampling, consisted of 18 school directors, 234 persons comprising teachers, and basic education school committee. The data collected were analyzed by using a set of 5-level scale questionnaires with reliability of .966, percentage, standard deviation, mean, and F-test
The results of this study were as follows:
1. The conditions of participation of basic education school committee innon-formal education management as perceived by school directors, teachers, and basic educational school committee was at a high level in all aspects.
2. The opinion level of school directors, teachers, and the basic education schoolcommittee toward the conditions of participation, as a whole showed no difference.
3. The opinion level of school directors, teachers, and the basic education school committee classified by age, toward the conditions of participation, as a whole was at the .01 level of significance.
4. The opinion level of school directors, teachers, and the basic education schoolcommittee classified by school size, toward the conditions of participation, as a whole was at the .05 level of significance.
5. The proposed quidelines for developing the participation of basic education school committee under Department of the Non-Formal and Informal Education, SakonNakhon province was the follow–up process of the operations in non-formal education management.
คำสำคัญ
การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาการจัดการศึกษานอกระบบKeyword
Non-Formal Education Management, Non-Formal Education Participationกำลังออนไลน์: 47
วันนี้: 2,423
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 57,622
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093