บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของผู้ปกครองนักเรียน 2) หาแนวทางในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของผู้ปกครองนักเรียน และ 3) ติดตามผลการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนบ้านโพนก่อ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 โดยใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม(Participatory Action Research : PAR) ดำเนินการ 2 วงรอบ แต่ละวงรอบประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การปฏิบัติการ การสังเกตการณ์ และการสะท้อนกลับ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยจำนวน 48 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบสังเกตและแบบนิเทศติดตามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าร้อยละความก้าวหน้า
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพและปัญหาเกี่ยวกับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของผู้ปกครองนักเรียน
1.1 สภาพของการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของผู้ปกครองนักเรียนพบว่า สภาพปัจจุบันผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านโพนก่อยังมองเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาน้อยผู้ปกครองคิดว่าหน้าที่สอนเป็นหน้าที่ของครูฝ่ายเดียว
1.2 ปัญหาเกี่ยวกับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของผู้ปกครองนักเรียนพบว่า โรงเรียนขาดการประชาสัมพันธ์ การประสานงานเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของผู้ปกครองนักเรียน
2. แนวทางการการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนบ้านโพนก่อ พบว่า ใช้แนวทางการพัฒนา 3 แนวทาง คือ 1) การศึกษาดูงาน 2) การอบรมเชิงปฏิบัติการ และ 3) การนิเทศติดตาม
3. ผลการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของผู้ปกครองนักเรียนด้านการอบรมเลี้ยงดูเด็ก ในวงรอบที่ 1 พบว่า อยู่ในระดับน้อย (= 2.44) เพราะว่าผู้ปกครองยังไม่เข้าใจวิธีการอบรมเลี้ยงดูเด็กที่ถูกต้องและไม่เข้าใจระดับพัฒนาการของเด็กในระดับชั้น ป.4 – 6 หลังจากได้รับการพัฒนาผู้ปกครองในวงรอบที่ 2 ด้านการอบรมเลี้ยงดูเด็ก อยู่ในระดับดีมาก (= 4.25) ผู้ปกครองมีความรู้มากขึ้นหลังการนิเทศติดตามคิดเป็นร้อยละความก้าวหน้าเท่ากับ 70.70 ด้านการมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างประสบการณ์เด็กที่บ้าน ในวงรอบที่ 1 พบว่า มีผลการประเมินอยู่ในระดับปานกลาง (= 2.51) ผู้ปกครองยังขาดการเอาใจใส่เด็กเมื่ออยู่ที่บ้าน หลังจากได้รับการพัฒนาผู้ปกครองในวงรอบที่ 2 พบว่า ผู้ปกครองมีผลการประเมิน อยู่ในระดับมาก (= 4.20) ผู้ปกครองได้ให้ความสนใจกับเด็กมากขึ้น คิดเป็นร้อยละความก้าวหน้า 67.87 ด้านผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างประสบการณ์แก่เด็กที่โรงเรียน ในวงรอบที่ 1 มีคุณภาพอยู่ในระดับน้อย (= 2.45) เนื่องจากผู้ปกครองไม่ค่อยมีเวลาไปทำงาน ไม่ค่อยได้มาร่วมจัดการเรียนการสอนร่วมกับโรงเรียนหลังจากได้รับการพัฒนาผู้ปกครองในวงรอบที่ 2 พบว่า ผู้ปกครองมีผลการประเมิน อยู่ในระดับมาก (= 4.33) ผู้ปกครองได้เข้ามาเป็นวิทยากรในการสอนเกี่ยวกับอาชีพ ได้ร่วมจัดทำสื่อกับครูที่โรงเรียนคิดเป็นร้อยละความก้าวหน้าเท่ากับ 73.33 และด้านผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการสนับสนุนโรงเรียน พบว่า มีผลการประเมินอยู่ในระดับน้อย (= 2.41) ผู้ปกครองต้องหารายได้ทุกวัน ไม่เห็นความสำคัญในกิจกรรมของเด็กที่ทางโรงเรียนจัดขึ้น หลังจากได้รับการพัฒนาผู้ปกครองในวงรอบที่ 2 พบว่า ผู้ปกครองมีผลการประเมิน อยู่ในระดับมาก (= 4.31)ผู้ปกครองได้เข้ามาร่วมกิจกรรมที่ทางโรงเรียนจัดขึ้นมากขึ้นคิดเป็นร้อยละความก้าวหน้าเท่ากับ 73.36
Abstract
ABSTRACT
The purposes of this study were to 1) investigate the states and problems of the educational management participation of the parents/guardians, 2) find out guidelines in promoting the parents’/guardians’ educational management, and 3) monitor effects of promotion of educational management among the parents/guardians at Ban Phonko School. The research employed two spirals of participatory action research (PAR). Each spiral contained four stages : planning, action, observation and reflection. The target group consisted of the researcherand48 co-researchers. The instruments used were a form of interview, a questionnaire developed by the researcher, a form of observationand a form of internal supervision. Percentage, mean standard deviation and percentage of progress were employed to analysis data.
Findings were as follows:
1. The effects of investigation of the states and problems on the promotion of educational management among the parents/guardians were found that:
1.1 The states of promoting the parents’/guardians’ participation in educational management revealed that in the current states the parents/guardians did not pay attention to the educational management participation. They usually thought that teaching was the duty of the teachers solely.
1.2 The problems concerning the educational management participation of the parents/guardians indicated that the school encountereda lack of public relation together with coordination of the educational management participation among the parents/guardians.
2. The guidelines of promotion on the educational management participation of the parents/guardians at Ban Phonko School showed that 3 means were applied including: 1) a study tour, 2) a workshop, and 3) coaching supervision.
3. According to the effects of promotion of the educational management participation among the parents/guardians in the aspect of activity participation to offer knowledge for the parents/guardians in the first spiral, it was at the low level (= 2.44) because the parents/guardians did not understand the methods of raising children as well as they did not understand the levels of child development in PrathomSuksa 4-6. After being developed, in the second spiral, the child raisingwas at the high level (= 4.25). The parents/guardians gained a better understanding after the coachingsupervision with Percentage of Progress of 70.70. On the aspect of enhancing experience for the students at home, it was at the moderate level in the first spiral (= 2.51). The parents/guardians faced a lack of paying attention to the children at home. After the development, it wasfound that the evaluation of the parents/guardians was at the high level (= 4.20). The parents /guardians paid better attention to the children with Percentage of Progress of 67.87. Regarding the parents’/guardians’ participation in supporting the school, it was determined that it was at the low level (= 2.45). Because most of the parents/guardians had to go working, they had little time to participate in the instructional activities with the school. After being developed in the second spiral, theparents’/guardians’participation evaluation was at the high level (= 4.33). Some of the parents/guardians came tojoin the school as resource persons in thecareer subject. Moreover, they participated in making instructional media with the school or Percentage of Progress of 73.33. In case of the parents’/guardians’ participation in supporting the school, it was at the moderate level (= 2.41). After the development, the evaluation of the parents/guardians was at the high level (= 4.31). The parents/ guardians participated in the school activities more than before with Percentage of Progress of 73.36.
คำสำคัญ
การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา, ผู้ปกครองนักเรียนKeyword
Participation in Educational Management, Parent/Guardianกำลังออนไลน์: 56
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 2,470
จำนวนครั้งการเข้าชม: 57,669
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093