บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ใช้กระบวนการวิชัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) เพื่อพัฒนาศักยภาพครู ในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนอุดมพัฒนศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 โดยมีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 2) หาแนวทางพัฒนาศักยภาพครูในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และ 3) ติดตามและประเมินผลการพัฒนาศักยภาพครู ในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนอุดมพัฒนศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22
กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วยผู้วิจัยและครูโรงเรียนอุดมพัฒนศึกษา จำนวน 16 คน โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมโดยดำเนินการ 2 วงรอบแต่ละวงรอบ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นการวางแผน ขั้นการปฏิบัติการ ขั้นการสังเกตการณ์ และขั้นการสะท้อนกลับ เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต แบบสอบถามแบบการนิเทศ และแบบบันทึกรายงานการประชุม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพและปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
1.1 สภาพ พบว่า การดำเนินงานดูแลช่วยเหลือนักเรียน ครูยังไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเต็มที่ นักเรียนยังมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ และไม่ได้รับการดูแลช่วยเหลืออย่างทั่วถึง
1.2 ปัญหาพบว่า ครูขาดความ รู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน นักเรียนไม่ได้รับการช่วยเหลือที่ถูกต้องและเป็นระบบอย่างต่อเนื่อง
2. แนวทางพัฒนาศักยภาพครู ในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนอุดมพัฒนศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 ในวงรอบที่ 1 ใช้แนวทางการพัฒนา 3 แนวทาง ประกอบด้วย 1) การศึกษาดูงาน 2) การประชุมเชิงปฏิบัติการ และ 3) การนิเทศภายใน
3. ผลการพัฒนาศักยภาพครู ในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนอุดมพัฒนศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 ในวงรอบที่ 1 พบว่า ก่อนการพัฒนากลุ่ม ผู้ร่วมวิจัย
มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนค่อนข้างน้อยและหลังจากได้รับการพัฒนากลุ่มผู้ร่วมวิจัย มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพิ่มมากขึ้น และด้านความสามารถ พบว่า กลุ่มผู้ร่วมวิจัยสามารถดำเนินการตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนทั้ง 5 ด้าน ประกอบด้วย 1) การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล) การคัดกรองนักเรียน 3) การส่งเสริมและพัฒนานักเรียน 4) การป้องกันช่วยเหลือและแก้ไขปัญหา และ 5) การส่งต่อนักเรียน พบว่า มีผลการประเมิน ด้านการรู้จักนักเรียนรายบุคคล การพัฒนาและส่งเสริมนักเรียนอยู่ในระดับดีมาก แต่การคัดกรองนักเรียน การป้องกัน ช่วยเหลือและแก้ไขปัญหา และการส่งต่อนักเรียน พบว่า มีผลการประเมินอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งยังไม่เป็นผลที่น่าพอใจของกลุ่มผู้ร่วมวิจัย จึงนำไปพัฒนาเพิ่มเติมในวงรอบที่ 2 ซึ่งหลังจากการพัฒนาในวงรอบที่ 2 พบว่า ด้านการคัดกรองนักเรียน อยู่ในระดับมาก ด้านการป้องกัน ช่วยเหลือและแก้ไขปัญหา อยู่ในระดับมากที่สุด และการส่งต่อนักเรียน อยู่ในระดับมาก ผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมาก สรุปได้ว่า การพัฒนาศักยภาพครู ในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนอุดมพัฒนศึกษา โดยการใช้แนวทางการพัฒนา 3 แนวทาง คือ การศึกษาดูงาน การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการนิเทศภายใน สามารถพัฒนากลุ่มผู้ร่วมวิจัยทั้ง 16 คน ให้มีความรู้ ความเข้าใจ ในแนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ส่งผลให้การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ดำเนินไปอย่างมีระบบ และมีประสิทธิภาพ นักเรียนได้รับการช่วยเหลือแก้ไขปัญหา ได้ตรงตามความต้องการ
Abstract
ABSTRACT
The purposes of this research were 1) to investigate the current states, problems in the system of care and support of the students, 2) to find out guidelines for developing the teachers’ potential in the student care and support system, and 3) to follow up the system of student care and support at Udomphathanasuksa School under the Office of the Secondary Educational Service Area 22. The target group consisted of the researcher and 16 co-researchers at Udomphatthanasuksa School. The research employed two spirals of Participatory Action Research (PAR) consisting of 4 stages: planning, action, observation and reflection. The research instruments were composed of a form of interview, a form of observation, a questionnaire, a form of supervision, as well as a form of meeting minute. Data were analyzed by mean, percentage and standard deviation.
The findings were as follows:
1. The conditions and problems in the implementation of the student care and support system could be concluded:
1.1 According to the current states of the system of care and support for the students. It was found that the teachers could not implement the system at full capacity. The students still obtained undesirable characteristics and they were found not fully taken care of.
1.2 Regarding the problems on the system of care and support for the students, it was determined that the teachers encountered a lack of knowledge and understanding on the student care and support system. The students were not correctly assisted.
2. The guidelines for the development of the system of care and support for the students at Udomphatthanasuksa School were composed of: 1) a study tours, 2) a workshop, and 3) coaching supervision.
3. With regard to the follow-up evaluation of the system of care and support students at School, it was determined that all of the teachers gained better knowledge and understanding after the intervention acquiring higher After the development the researchers gained higher knowledge and understanding The teachers were able to apply the guidelines of the system of care and support students with 5steps: 1) the knowing and acquaintances of individual students, 2) the screening of those students with problems, 3) the promotion of the student growth, 4) the prevention and solution of the students’ problems, and 5) the transfer of the students to help units. It was found that the evaluation results indicated that the aspects on the knowing and acquaintances of individual students were at the high level. In case of the student screening, the protection, assistance and problem solving as well as the transfer of the students to help units were at the moderate level. The co-researchers were not satisfied with the results. These were developed again in the second spiral. The effects in the second spiral indicated that the aspect on the student screening was at the high level. The aspects on the protection assistance and the transfer of the students to help units were at the high level as a whole. This could be summarized that the teachers’ competence development at Udomphatthanasuksa School through the 3 means of development including a study tour, a workshop and coaching supervision could develop all of the co-researchers to gain knowledge and understanding in the guidelines of the application on the student care and support system. This affected the system of the student care and support to be systematic and efficient. The students got the assistance in solving problems as they actually needed.
คำสำคัญ
การพัฒนาศักยภาพ, ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนKeyword
Potential Development, Student Care and Support Systemกำลังออนไลน์: 43
วันนี้: 2,426
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 57,625
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093