บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ และหาอำนาจพยากรณ์ของความพึงพอใจ ในการปฏิบัติงานของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 และหาแนวทางการยกระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 กลุ่มตัวอย่างในครั้งนี้ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน ครูและประธานกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 452 คน ปีการศึกษา 2556 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า ซึ่งมี 2 ชุด คือ ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของผู้บริหารโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.34 – 0.84 มีค่าความเชื่อมั่น 0.97 และประสิทธิผลในการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.30 – 0.85 มีค่าความเชื่อมั่น 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ t – test, F – test (One - Way ANOVA) ใช้ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation) การวิเคราะห์การถดถอย พหุคูณทีละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของผู้บริหารโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. ประสิทธิผลในการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก
3.-4. ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของผู้บริหารโรงเรียน และประสิทธิผลในการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน และประธานกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน โดยรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน
5. ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของผู้บริหารโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนครูผู้สอน และประธานกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกันโดยรวม ไม่แตกต่างกัน
6. ประสิทธิผลในการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนครูผู้สอน และประธานกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน โดยรวม มีความ
คิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
7. ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของผู้บริหารโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน และประธานกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงเรียนที่มีลักษณะการเปิดสอนต่างกัน โดยรวม มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน
8. ประสิทธิผลในการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน และประธานกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงเรียนที่มีลักษณะการเปิดสอนต่างกัน โดยรวม มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน
9. ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของผู้บริหารโรงเรียนมีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิผลในการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
10. ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของผู้บริหารโรงเรียน ด้านการนิเทศงาน ด้านนโยบายและการบริหารงาน ด้านสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน และด้านความสำเร็จของงานที่ปฏิบัติ มีอำนาจพยากรณ์
ประสิทธิผลในการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียน โดยรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
11. แนวทางการยกระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของผู้บริหารโรงเรียน ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ใน 4 ด้าน คือ ด้านการนิเทศงาน ด้านนโยบายและการบริหารงาน ด้านสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน และด้านความสำเร็จของงานที่ปฏิบัติ
Abstract
ABSTRACT
This study aimed to investigate, to compare, to find out a predictive power of performance satisfaction affecting administrative effectiveness of school administrators, and to establish guidelines for upgrading performance satisfaction affecting administrative effectiveness of school administrators under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 2. The samples consisted of 452 school administrators, teachers, and chairs of basic education school committee in the academic year 2013at schools under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 2. The research tools for data collection were two sets of rating scale questionnaires comprising a questionnaire of a performance satisfaction of school administrators which had a discrimination power value ranged from .34 to .84 and a reliability coefficient of .97, and a questionnaire of administrative effectiveness of school administrators with a discrimination power value ranged from .30 to .85 and a reliability coefficient of .95.Statistics employed were percentage, mean, standard deviation, t-test, F-test (One-Way ANOVA), Pearson’s Product Moment Correlation, and Stepwise Multiple Regression Analysis.
The findings were as follows:
1. The performance satisfaction of school administrators, as a whole was at a high level.
2. The administrative effectiveness of school administrators, as a whole was at a high level.
3.-4. The performance satisfaction and the administrative effectiveness of school Administrators as perceived by school administrators, teachers and chairs of basic education school
Committee, as a whole and each aspect, showed no significant differences.
5. The performance satisfaction of school administrators as perceived by school Administrators, teachers and chairs of basic education school committee with different school size, as a whole was not significantly different.
6. The administrative effectiveness of school administrators as perceived by school Administrators, teachers and chairs of basic education school committee with different school size, as a whole was at the .05 level of significance.
7.-8. The performance satisfaction of school administrators and the administrative Effectiveness of school administrators as perceived by school administrators, teachers and chairs of basic education school committee with different educational provision, as a whole showed no significant differences.
9. The performance satisfaction of school administrators showed positive relationship with The administrative effectiveness of school administrators atthe.01 level of significance.
10. The performance satisfaction of school administrators in terms of supervision, policy and administration, work environment, and performance achievements had a predicting power toward administrative effectiveness for school administrators, as a whole, at the .01 level of significance.
11. The researcher proposed the guidelines in upgrading performance satisfaction affecting The administrative effectiveness of school administrators under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 2 comprising four categories: supervision, policy and administration, work environment, and performance achievements.
คำสำคัญ
ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน, ประสิทธิผลในการบริหารงานKeyword
Performance Satisfaction of School Administrators, Effectiveness of Job Management of Schoolกำลังออนไลน์: 8
วันนี้: 7
เมื่อวานนี้: 1,728
จำนวนครั้งการเข้าชม: 63,012
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093