บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
ในงานวิจัยฉบับนี้เป็นการศึกษา ประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินการในวงรอบปี พ.ศ. 2553 – 2557 ของหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาการวิจัยทางศิลปกรรมศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เพื่อพัฒนาให้มีคุณภาพความทันสมัยสอดคล้องกับสภาพสังคมปัจจุบัน การดำเนินการเก็บข้อมูลโดยการกำหนดกลุ่มประชากรเป็น 4 กลุ่มคือ นิสิตปัจจุบัน ศิษย์เก่า ผู้ใช้บัณฑิต และอาจารย์ประจำหลักสูตร ประยุกต์ใช้การประเมินแบบ CIPP ในการประเมินหลักสูตร เก็บข้อมูลด้วยวิธี ออกแบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การประชุม การทำ SWOT ANALYSIS การBenchmarking แล้วจึงนำข้อมูลข้อมูลด้านต่างๆ วิเคราะห์ร่วมกัน ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ปรัชญา วัตถุประสงค์ สาระของหลักสูตรมีความสอดคล้องกับ กรอบมาตรฐานคุณวุฒิการศึกษา (TQF) และสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่11 หลักสูตรเริ่มเปิดในปี การศึกษา 2553 เป็นต้นมา อาจารย์ประจำหลักสูตรมีคุณสมบัติเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร มีนิสิตทั้งหมด 31 คน สำเร็จการศึกษา 6 คนประสิทธิภาพและประสิทธิผลการดำเนินงานของหลักสูตร นิสิตมีความพึงพอใจต่อคุณภาพหลักสูตรอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.48) ความพึงพอใจของบัณฑิตต่อคุณภาพหลักสูตรอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.45) ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตต่อคุณภาพของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรอยู่ในระดับระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.52) เมื่อนำผลการสำรวจมาวิเคราะห์ ร่วมกับการทำ SWOT ANALYSIS ร่วมกับอาจารย์ประจำหลักสูตร และการทำ Benchmarking เพื่อศึกษาเทียบเคียงสาระสำคัญของหลักสูตรการวิจัยทางศิลปกรรมศาสตร์กับหลักสูตรในสาขาวิชาเดียวกันหรือใกล้เคียงกันกับสถาบันการศึกษาอื่นๆ จึงสามารถสรุปแนวทางในการพัฒนาหลักสูตร ดังนี้ ควรมีการปรับชื่อหลักสูตรเป็นสาขาวิจัยแลสร้างสรรค์ทางศิลปกรรมศาสตร์ เพื่อให้เข้าใจผู้เรียนสามารถสำเร็จการศึกษาได้ด้วยงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ก็ได้ เพิ่มแผนการศึกษาปรับโครงสร้างหน่วยกิตให้เหมาะสม การเตรียมพร้อมในการกำหนดผู้สอน/ผู้รับผิดชอบรายวิชา มีการทบทวนคุณสมบัติของผู้ที่จะเข้าศึกษาต่อในหลักสูตร และมีกิจกรรมเตรียมความพร้อมให้กับผู้เรียนก่อนเข้าศึกษา หลักสูตรควรพัฒนาการดำเนินงานตามกระบวนการ PDCA และระบบการประกันคุณภาพ มีแผนพัฒนาอาจารย์ มีมาตรการในการกำกับดูแลให้นิสิต พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการสืบค้นระบบฐานข้อมูลหลักสูตร รวมถึงการสร้างเครือข่ายทางวิชาการกับองค์กรภายนอก
Abstract
ABSTRACT
This research was studied to evaluate the effectiveness and efficiency of operations in during the academic years of 2010 – 2014 the PhD research of Fine Arts program, Faculty of Fine and Applied Arts, Mahasarakham University, Thailand. This study aims at developing to improved quality in accordance with current social conditions. The Data collection was determined from the population into 4 groups: current students, alumni, the commander of the Graduate and the course instructors. The research tools included applied from the CIPP evaluation model to evaluate the curriculum, the data collected by questionnaires, the interviews; the meetings, the SWOT analysis, and the processing of Benchmarking were analyzed. The finding concluded that the philosophy, the objective, and the content of this course were consistence with the Education Qualifications Framework (TQF) and in accordance with the National Social and Economic Development Plan No. 11. The Courses was opened in the academic year 2010. The instructors have qualified according to the criteria. All of 31 students graduated six people. The efficiency and effectiveness of the implementation of the curriculum found that the students are satisfied with the quality of courses in high level (mean = 4.48). Graduate satisfaction on the quality of courses in high level (mean = 4.45). Satisfaction of the commander of graduates, the quality of graduates who graduated from the course at the highest level (mean = 4.52). When the survey results were analyzed with the SWOT ANALYSIS, instructors of course, and doing of the Benchmarking, to study correlate research in the field of fine arts courses with the same or similar to other institutions. Thus, it can be concluded that curriculum development should be adjusted as a Research and Creative Arts and to understand the students to graduate with a research or creative work time. Should be adding the appropriate plan study and restructuring credits, readiness to determine the instructor / course responsible, to review the qualifications of those who will enroll in the course, and has preparatory activities for the students before admission. The course should develop the operation process follow the PDCA process and Quality Assurance System. It also has Staff Development Plan and Regulatory measures for students who can develop an information system, to search course database systems, and including the creation of academic networks with another organizations.
คำสำคัญ
การประเมินหลักสูตร, การพัฒนาหลักสูตรหลัก, สูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาการวิจัยทางศิลปกรรมศาสตร์Keyword
Curriculum Evaluation, Development Course, Doctor of Philosophy Program in Research Fine and Applied Artsกำลังออนไลน์: 33
วันนี้: 2,257
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 57,456
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093